ตำบลนครชุม

”หลามไก่” อาหารพื้นบ้าน ชาวต.นครชุม

ชาวบ้าน ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ยังคงอนุรักษ์มีวิถีชีวิตในการทำอาหารพื้นบ้านในการทำหลามไก่ กินในช่วงออกไปหาของป่า ที่มีรสชาติที่หอมหวาน ใครไปเที่ยวชมธรรมชาติและสัมผัสกับความหนาวเย็น ที่ ต.นครชุม ก็ต้องลองชิมหลามไก่ ที่นี้

ขึ้นผาโปกโล้น ชมทะเลหมอก ร่องเขาแห่งนครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ชุนชนกลางหุบเขาสูง มีทิวทัศน์ทะเลหมอกที่สวยงามอย่างมาก ทั้งช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว อบต.นครชุม ชาวบ้าน ทำจุดชมวิวเช็กอิน เชิญชวนท่องเที่ยว ขึ้นผาโปกโล้น สัมผัสทะเลหมอก ชมความงามของธรรมชาติและศึกษาประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ของชุมชนร่องเขาแห่งนครชุม

สอนนร.บ้านนาขุมคันทำหลามปลาเมนูพื้นบ้านต.นครชุมได้คลายความหนาวเย็น

อุณหภูมิโรงเรียนบ้านนาขุมคัน ต.นครชุม อ.นครไทย วัดได้ 8 องศาเซลเซียส ครูหาวิธีหลายหนาวด้วยการสอนนักเรียนทำ “หลามปลา” อาหารพื้นบ้านที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะนอกจากเด็กจะรู้จักวิธีการประกอบอาหารแล้วยังนับได้ว่าเป็นการคลายความหนาวได้อีกอย่างหนึ่งด้วย

”หลามไก่”ชาวบ้านต.นครชุมอนุรักษ์การใช้ไม้ไผ่ทำอาหาร

ชาวบ้าน ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ยังคงอนุรักษ์การใช้ไม้ไผ่ในการดำรงชีวิตแบบท้องถิ่น โดยชาวบ้านจะไผตัดไม้ไผ่ที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่นำมาใช้เป็นอาหารคาว อาทิ หลามไก่ และอาหารหวาน นำเป็นจุดเด่นที่หาดูได้ยากและใช้ได้จริงหากไม่มีภาชนะในการปรุงอาหารกรณีเข้าไปหาป่าหลายวัน

สื่อมวลชนพิษณุโลกปันน้ำใจให้น้องนร.ต.นครชุม

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ ชมรมสื่อมวลชนพิษณุโลก จัดกิจกรรม สื่อมวลชนรุ่นใหม่ปันน้ำใจให้น้องครั้งที่ 2 มอบอุปกรณ์การเรียน – อุปกรณ์กีฬา ทุนการศึกษา ให้น้องนักเรียนใน ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก พร้อมลงเตะบอลนัดกระชับมิตรเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างทีมชมรมสื่อมวลชนพิษณุโลกกับทีมวีไอพีนครชุม

อาชีพเสริมคนนครชุม

นายชื่น แสนสุข และนางลื่น แสนสุขชาวบ้าน เลขที่23หมู่ที่1ต.นครชุม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ใช้เวลาว่างทำฝักมีด ตะแกรง และงานสานอีกหลายชนิด ฝักมีดส่งขายฝักละ50บาทโดยออกตัดไม้ไผ่บนเขาและหวาย มาทำที่บ้านพัก ถึงเวลา จะมีพ่อค้าจากอ.หล่มสักมารับซื้อเดือนละ1ครั้งประมาณวันที่5ของเดือนครั้งละ50-60ฝักและนางลืน เมียหาเก็บมะขามในหมู่บ้านขายอีกทางหนึ่ง เป็นวิถีเรียบง่ายในพื้นที่ชนบทห่างไกลความเจริญเมืองศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน บุญสง คมสัมมา/ภาพ