พิษณุโลก อบต.สมอแข จัดงานวันเกษตรตำบลสมอแข การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่ใส่ใจสุขภาพ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว
วันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน วันเกษตรตำบลสมอแข การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่ใส่ใจสุขภาพ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ร่วมกับผู้นำท้องท้องที่ ท้องถิ่น เกษตรกรทั้ง 4 หมู่บ้านของตำบลสมอแข ร่วมกันกันจัดงานในวันนี้ โดยมีประชาชนร่วมงานกว่า 250 คน
นางทองม้วน พันธุรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข กล่าวว่า อบต.สมอแข ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ในด้านเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในครัวเรือน และพัฒนาอาชีพได้อย่างเหมาะสมให้เกษตรกรในชุมชมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยจำหน่าย และส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ให้คนในชุมชนและคนภายนอกเป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ตามยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มุ่งในการแก้ไขจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคการเกษตรในระยาว บรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” ซึ่งกิจกรรมในงานมีทั้งนิทรรศการและฐานเรียนรู้ 11 ฐาน และการประกวดต่างๆ ประกอบด้วย การประกวดปั้นดินเหนียว / ประกวดการทำอาหาร จากลูกสมอ บำรุงสมอง การประกวดการละเล่น แข่งขันจับปลาช่อน และประกวดการละเล่นวิถีโบราณ การตกปลาจากเบ็ดไม้ไผ่ มีฐานการเรียนรู้ด้านข้าวกล้องข้าวหอมมะลิ ที่ผลิตเอง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการดูแลเด็กเป็นโครงการต่อยอดจากการปลูกข้าว สิ่งที่เราให้ความสำคัญในเรื่องของการเรียนรู้เนื่องจากว่าในยุคสมัยนี้รุ่นลูกหลานมักหลงลืมสิ่งที่พ่อแม่รุ่นปู่ย่าตายายบ่มเพราะไว้การฟื้นฟูและจัดงานในครั้งนี้ไว้ เพื่อเป็นการรักษาสิ่งดีๆ ในรุ่นของ ปู่ย่าตายายเอาไว้ เพื่อสืบทอดให้กับคนรุ่นหลาน โดยการจัดงานในครั้งนี้คิดว่าจะเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับตำบลให้กับชุมชน ตำบลและจังหวัด สนใจด้านการเกษตร มากขึ้น
นางทองม้วน กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นการจัดงานเกษตรของตำบลสมอแขซึ่งจัดขึ้นทุกปี เป็นหนึ่งในกิจกรรมนโยบายที่เราคิดว่าการเป็นท้องถิ่น นอกจากดูแลถนนหนทางแล้ว เราควรมีการส่งเสริมรักษาและอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ พื้นที่การเกษตรสามารถนำมาพัฒนาสู่ด้านการท่องเที่ยวได้ โดยไฮไลท์ของงานปีนี้ มีการแข่งขันจับปลาช่อน ให้ตัวแทนหมู่บ้านลงแข่งขัน มีการจัดเตรียมบ่อดิน ขนาดกว้าง 5×5 เมตร ลึก 1 เมตร ให้ผู้เข้าแข่งขันจับปลาช่อนที่ปล่อยไว้ 50 ตัว บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ท่ามกลางกองเชียร์ส่งเสียงเชียร์คนในหมู่บ้าน ขณะที่ผู้แข่งไม่ห่วงการเปื้อนโคลน ลงลุยจับปลาได้อย่างรวดเร็ว บางคนโชคร้านตะฆ้อง ตกลงไปในบ่อทำให้ปลาที่จับได้หลุดหายไปหมดอย่างน่าเสียดาย ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า มี 3 หมู่บ้านที่ ผลการแข่งขันสามารถจับปลาได้ 5 ตัวเท่ากัน คือหมู่ 1 หมู่ 2 และหมู่ 6 ต้องตัดสินด้วยการชั่งน้ำหนักผลปรากฏว่า หมู่ที่ 1 ชนะ ด้วยน้ำหนักปลา มากกว่า 2 กิโลกรัม ขณะที่อีก 2 หมู่บ้านปลากน้ำหนักเพียง 1.9 กิโลกรัมเท่านั้น ผู้ชนะ ได้เงินรางวัล 800 บาท พร้อมปลา
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่สร้างสีสันให้งานนี้ คือ การประกวดการทำอาหารจากลูกสมอ ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่น ซึ่งมีรสชาติขมฟาด มีรสเปรี้ยวและมีความมัน สรรพคุณเป็นสมุนไพร โดยผลสมอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แก้อาการท้องร่วง ท้องผูก และริดสีดวงทวาร รวมถึงช่วยให้ชุ่มคอ แก้อาการเจ็บคอ ละลายและขับเสมหะ โดยผู้แข่งขันสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลาย อาทิ ตำสมอ ยำสมอทะเล แกงคั่วสมอ สมอผัดพริกแกง น้ำพริกสมอ ไข่เจียวสมอ เป็นต้น ผลการประกวด ปรากฏว่าหมู่ 4 เมนูตำสมอ ชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท
………