พิษณุโลก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ผ่าตัดช่วยชีวิตเด็กชายถูกฉมวกแทงปลา แทงบริเวณแก้มได้สำเร็จ อาจารย์แพทย์เตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเช่นนี้เบื้องต้นต้องทำอย่างไร
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์ จ.พิษณุโลก นายแพทย์ณัฐพศ์ แสงปัดสา ประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ แพทย์เจ้าของไข้ เปิดเผยถึงกรณีรับส่งตัวผู้ป่วยชายอายุ 14 ปี จากโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ มาด้วยอุบัติเหตุถูกฉมวกแทงปลาแทงบริเวณแก้มซ้าย และทะลุไปยังกระดูกสันหลังส่วนคอซ้ายว่า “เนื่องจากฉมวกที่แทงใบหน้าเป็นโลหะ ทางโรงพยาบาลในพื้นที่วินิจฉัยแล้วว่าต้องส่งต่อเพื่อเอกซเรย์ด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ หลอดเลือดระบบดิจิตอล เพื่อวางแผนการผ่าตัด รักษาช่วยชีวิตผู้ป่วย
โดยทีมอาจารย์แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.นเรศวรทางทีมประสาทศัลยแพทย์ ทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง และสหวิชาชีพ ได้ร่วมกันทำการผ่าตัดผู้ป่วยเด็กรายนี้ โดยได้ทำการ เอ็กซเรย์หลอดเลือดด้วยเครื่องเอ็กซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอล เพื่อหาตำแหน่งว่าฉมวกที่แทงเข้าบริเวณแก้มไปถูกหลอดเลือดเส้นประสาท หรือไขสันหลังส่วนสำคัญ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตหรือไม่
ทั้งนี้จากการเอกซเรย์พบว่า ฉมวกดังกล่าว อยู่ติดกับหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงสมองและปักไปยังกระดูกสันหลังส่วนคอข้อแรกด้านซ้าย ทำให้ทีมผ่าตัดต้องระมัดระวังในการผ่าตัดอย่างมาก เนื่องจากหากผิดพลาดเพียงนิดเดียวจะจะส่งผลทำให้หลอดเลือดที่ไปลี้ยงสมอง เส้นประสาท หรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะส่งผลต่อความพิการและเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม ทางทีมผ่าตัด สามารถดำเนินการผ่าตัดเป็นไปด้วยความราบรื่น และส่งกลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลต้นสังกัด ส่วนแผนการรักษาจะต้องนัดมา เอ็กซเรย์และติดตามอาการอีก ว่ามีการติดเชื้ออื่น ๆ หรือไม่ ที่จะทำให้เกิดเป็นอันตรายหลังการผ่าตัด”
ด้านทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง นำโดย ผศ.นพ.ศรัณย์ วรศักดิ์วุฒิพงษ์ ผู้อำนวยการสถานรักษาแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า ม.นเรศวร หนึ่งในทีมผ่าตัดกล่าวว่า “ความยากของเคสนี้คือฉมวกแทงลงไปลึกมาก
เบื้องต้นพบว่าทะลุใบหน้าลึกลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอ ทางทีมศัลยแพทย์ระบบประสาทได้ฉีดสีหลอดเลือดเข้าไปดูพบว่าไม่โดนเส้นเลือดใหญ่ ทำให้เราสามารถเอาออกได้ง่ายโดยเพียงแค่ตัด/กรอ กระดูกขากรรไกรล่างเท่านั้น ไม่ต้องผ่าเปิดตามเส้นทางที่ฉมวกแทงเข้าไปเรื่อย ๆ จึงทำให้แผลกว้างใหญ่และลดความเสี่ยงการบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่นเพิ่มเพิ่มเติมได้อีก”
อาจารย์แพทย์ทั้งสองท่าน อยากจะฝากถึงประชาชนว่า หากเกิดกรณีเช่นนี้กับตนเอง หรือกับใคร อย่างแรกต้องตั้งสติก่อนอย่าดึงออกทันทีเพราะจะทำให้ไปไปโดนหลอดเลือดหรือเส้นประสาททำให้เสียชีวิตได้ ต้องพยายามทำตัวให้นิ่ง ทำให้สิ่งที่ทิมแทงอยู่นั้นอยู่กับที่ไม่ขยับมากที่สุด และพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้ ในกรณีนี้ผู้ใช้เป็นเด็กอาจยังไม่มีความรู้ความชำนาญพอ อยากให้ผู้ปกครองได้เก็บเครื่องมือนี้ในที่ ที่ปลอดภัย เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุเช่นกรณีนี้
อย่างไรก็ตามสำหรับเครื่องเอ๊กซเรย์หลอดเลือดระบบติจิตอล ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ใช้อยู่ได้เข้ามาเป็นเวลากว่า 15 ปี แล้ว มีความเสื่อมตามกาลเวลา ถึงแม้จะยังใช้ได้แต่ปัจจุบันเครื่องมือรุ่นใหม่ มีความทันสมัย สามารถถ่ายภาพหลอดเลือดได้อย่างแม่นยำชัดเจนยิ่งกว่าเดิมมาก ทำให้แพทย์รักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด และรักษาได้หลายโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด หรือแม้กระทั้งกรณีฉุกเฉินเช่นนี้ เครื่องนี้ก็สามารถช่วยแพทย์ในการนิจฉัยและวางแผนการรักษา ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
จึงอยากขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาได้ช่วยกันบริจาศเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องเอ็กซเรย์หลอดเลือดระบบติจิตอล (Biplane Digital Subtraction Angiography) ทดแทนเครื่องเดิม ผู้มีจิตศรัทธาสามารถสอบถามเพิ่ม ได้ที่ โทรศัพท์ 06 1267 1572 หรือ 09 4424 5342 งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ 0 5596 7806
/////////////////////