พิษณุโลก ผวจ.พิษณุโลกเผยทางออกวิกฤติขยะต้องเริ่มต้นจากต้นทาง ทุกครัวเรือนต้องร่วมมือคัดแยกขยะ 100 % ขยะเปียกนำไปทำปุ๋ย ขยะแห้งนำไปเป็นขยะRDF เป็นเชื้อเพลิง ขยะรีไซเคิลขายได้ เพื่อลดขยะให้มากที่สุด ขณะที่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องขนไปส่งโรงงาน ที่สระบุรี ส่วนระยะยาววงศ์พาณิชย์กำลังวางแผนลงทุน โรงงานคัดแยกขยะRDF ในเงินลงทุนเบื้องต้น 250 ล้านบาท
เย็นวันที่ 17 กันยายน 2567 ที่โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้แถลงข่าวสื่อมวลชนพิษณุโลก ครั้งสุดท้ายในปีงบประมาณ 2567 วาระสำคัญคือ ปัญหาการจัดการขยะของจังหวัดพิษณุโลก ที่กำลังประสบปัญหาไม่มีที่กำจัดขยะ เนื่องจากบอกขยะฝังกลบที่มีหนึ่งเดียวในตำบลปากโทกได้ปิดตัวลง และการนำไปทิ้งชั่วคราวที่จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นไปไม่ได้แล้ว การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องขนไป ที่โรงงานที่จังหวัดสระบุรี
นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเปิดเผยว่า สถานีบำบัดขยะที่ตำบลบึงกอกอำเภอบางระกำ ของเทศบาลนครพิษณุโลก สื่อมวลชนเองก็ติดตามข่าวว่าบึงกอกเองเขาก็ไม่ต้องการ บ่อขยะเอาไปที่ไหนที่นั่นแตกทันที ม๊อบมาทันที ไม่เอา ถ้าเป็นบ่อฝั่งกลบขยะแน่นอนว่ามันไม่ 100% มันต้องมีเรื่องของกลิ่น มันต้องมีเรื่องของคนที่ทำเรื่องขยะ ศึกษาเรื่องขยะโดยตรง ตัวบริษัทวงษ์พาณิชย์เขามีองค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะ เราสามารถนำองค์ความรู้เรื่องของการจัดการขยะให้เป็นเชื้อเพลิงพูดง่ายๆวงษ์พาณิชย์ มีออเดอร์ผลิต RDF ส่งให้กับโรงไฟฟ้าต่างๆ จำนวนมาก
แต่ RDF ในความหมายเป็น RDF ที่ผ่านการรับรองมาแล้วทางวิชาการ ว่าสามารถนำไปทำเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เอาไปทำเป็นเชื้อเพลิงทำระบบจัดการขยะได้ ซึ่งการจัดการขยะเชื้อเพลิงมันต้องผ่านการคัดกรองจากต้นทางก่อน นั่นคือการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ให้ทุกท้องถิ่นทำเรื่องของการคัดแยกขยะก่อน ระหว่างขยะอินทรีย์ กับขยะ RDF แล้วเอาขยะ RDF ส่งเข้าแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง RDF ผ่านวงษ์พาณิชย์ เสียค่าจัดการขยะเหมือนกัน แต่ต้นทุนต่ำกว่า และใช้ประโยชน์จากขยะให้คุ้มนี่คือทางออก
แต่เบื้องต้น ณ ขณะนี้การจัดการขยะแบบ RDF ยังไม่ได้ตั้ง ต้องใช้เวลาประมาณ 120 วันถึงจะตั้งได้ วงษ์พาณิชย์สามารถลงทุนได้ในโรงงานจัดการแปรรูป RDF แต่ระหว่างที่รอวงษ์พาณิชย์ ถ้ายังไม่เข้มงวดเรื่องการคัดแยกขยะ เมื่อถึงเวลานั้นจะนำขยะไปให้วงษ์พาณิชย์ก็จัดการไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางแก้ตรงนี้ก็คือ ต้องจัดการคัดแยกขยะอย่าง 100% และเอาขยะไปส่งสระบุรีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตรงนี้ หาที่ไป หลังจากวงษ์พาณิชย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่นี้มาดูกันว่าจะเอาขยะ RDF ไปที่ไหนที่ต้นทุนถูกที่สุด และเกิดประโยชน์ที่สุด
ผวจ.พิษณุโลก เผยต่อว่า ผมคิดว่าถ้าในพื้นที่มีการจัดการขยะระบบ RDF ของท้องถิ่นทั่วไปเขาจะป้อน RDF สู่พื้นที่มาก เพราะต้นทุนการขนไปทิ้งที่สระบุรีนั้นค่อนข้างสูง ในขณะที่บางพื้นที่ก็ไปยืมบ่อขยะข้างเคียง เช่นที่ พิจิตรว่ามีให้ทั้งไหมเฉพาะที่เล็กๆ ประมาณ 3-4 ตันต่อวัน แบบนี้ก็อยู่ได้ไม่นาน
ที่เมืองพิษณุโลกทำให้เป็นมิติ ต้องสอนต้นทางให้รู้จักใส่ใจการคัดแยกขยะ และคนที่เกี่ยวข้องกับมิติตรงนี้ก็คือพี่น้องประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ขณะนี้หลายๆ พื้นที่มีปัญหาเรื่อง ระเบิดขยะ พูดง่ายๆ ปริมาณขณะในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะ เขาจัดเก็บแต่ว่ารอบๆนอกไม่จัดเก็บ ใช้วิธีหิ้วมาทำงานตอนเช้าก็หิ้วมาหย่อนลง แล้วก็กลายเป็นขยะจร ซึ่งเป็นขยะที่ไม่ผ่านการคัดแยกก็เป็นภาระของท้องถิ่น เราจำเป็นต้องแก้ปัญหา
วันนี้ที่ประชุมร่วมกับอปท.คุยกันเรื่องถุงภาชนะใส่ขยะอาจจะต้องกำหนดให้ชัดเจนเลยว่า เป็นถุงพลาสติกใสเพื่อต้องการให้รู้ว่าผ่านการคัดแยก 100% และเรื่องที่สองคือมีตราสัญลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อให้รู้ว่าถุงนี้เป็นของท้องถิ่นถุงอื่นไม่ใช่ และอย่างที่สามคือจำกัดถุง พูดง่ายๆ คือถ้าท่านจะทิ้งขยะในแต่ละท้องถิ่น ทิ้งได้แค่นี้นะ วันหนึ่ง 1 ถุง ถ้าจะมากกว่า 1 ถุง ต้องมาซื้อถุงต่อ เพื่อสร้างนิสัย เรามีหลักการสำคัญ 3 ประการในการช่วยลด ในการช่วยเรื่องขยะ 3R Recycle Reduce Reuse เพราะฉะนั้นใช้หลักการตรงนี้เพื่อลดขยะให้มากที่สุด
ณ ขณะนี้เรามาถึงเมืองที่เรียกว่าพิษณุโลกเมืองใช้ประโยชน์จากขยะ เราจะทำเรื่องของการจัดการขยะ RDF ให้เป็นเชื้อเพลิง ผ่านกระบวนการแปรรูป เราจะจัดการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ย ซึ่ง ขณะนี้เทศบาลนครพิษณุโลกกำลังดูเทคโนโลยีตัวนี้ เพราะขยะอินทรีย์ของเทศบาลนครเยอะที่สุด แต่การจัดเก็บการคัดแยกต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เทศบาลนครพิษณุโลกต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเวลาจะทิ้งขยะ ต้องคัดแยกออกจากกัน 2 ส่วน คือขยะเปียกและขยะแห้ง ขยะแห้งไปสู่กระบวนการกระจายคัดแยกเป็น RDF กับ Recycle ส่วนขยะเปียกเข้าสู่เครื่องอัดทำปุ๋ย เวลาเก็บก็ต้องแยก เวลาขนก็ต้องแยก
หลายพื้นที่มีมาตรการยกตัวอย่าง เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ใช้ธงแดงกับธงเขียว บ้านที่ใช้การคัดแยกขยะ 100% ปักธงเขียว บ้านที่ไม่คัดแยกใช้ธงแดงปัก บอกให้ทุกคนในชุมชนรู้ไปเลยว่าบ้านนี้บอกให้คัดแยกขยะ แล้วไม่คัดแยก ส่วนบ้านที่เรียบร้อยแล้วปักธงเขียว บ้านที่ปักธงแดงก็ไม่ต้องเก็บ เขาไม่คัดแยกก็อยู่กับขยะไป บ้านปักธงเขียวก็เก็บซะให้เรียบร้อย แล้วให้ธงเขียวนี่มารุมธงแดงอีกที เมื่อเขาขอความร่วมมือก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วก็เอาขยะเข้าสู่วิธีการจัดการภาชนะที่ใส่ในการจัดเก็บต้องปรับให้เข้ากับระบบที่ออกแบบไว้ในการคัดแยกขยะมันถึงจะทำให้การจัดการขยะของพิษณุโลก ประสบผลสำเร็จ
วันนี้ที่คุยกันหลายคนก็อยากจะรู้ว่าในระยะเฉพาะหน้าหลัง 30 กันยายน นี้เป็นต้นไป แต่ละท้องถิ่นจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไปทิ้งที่สระบุรีเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ไปสระบุรีแบบเดิม แต่ต้องไปสระบุรีให้น้อยที่สุด คือต้องคัดแยกด้วย ทำอย่างไรคัดแยกขยะให้ได้ 100% เอาเฉพาะ RDF เท่านั้นที่ไปสระบุรีที่เหลือคือเอามาทำเป็นปุ๋ย ลดน้ำหนักที่จะไปสระบุรีซะ รอ 3 เดือน โรงงาน RDF เสร็จเมื่อไหร่ 3-4 เดือนเสร็จลองมาดูซิว่าต้นทุนอะไรถูกกว่ากันระหว่าง เข้าโรงจัดการ RDF ที่เกิดประโยชน์ เอา RDF ทั่วไป ไปแปลงเป็น RDF 3 ค่าขนกับค่ากำจัดของวงษ์พาณิชย์ต้นทุนอันไหนถูกกว่ากัน แล้วค่อยมาใช้ดุลยพินิจต่อ นี่คือแนวทางแก้ไขเพราะเชื่อว่าพิษณุโลกอีก 5 ปี ก็ไม่มีโรงไฟฟ้า อีก 5 ปี ก็ไม่มีใครยอมให้ทำบ่อขยะในพื้นที่ เพราะฉะนั้นไม่มีทางอื่น
นายสมไทย วงษ์เจริญ เจ้าของวงษ์พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่เราทราบข่าวมหันตภัยหรือภูเขาไฟที่รอการระเบิดแห่งเวลาบ่อขยะของเราที่ปากโทก หัวรอ นั่นก็คือสิ่งที่เราได้ประเมินความเสี่ยงไว้ในอดีตแล้วเราเห็นแล้วนั่นคือจุดบ่งชี้ความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่เราไม่มีการหาจุดบ่งชี้ความเสี่ยงภัยนั่นเลยเราไม่มีการบริหารความเสี่ยงภัยและปิดความเสี่ยงภัยนั้นเสียจริงๆแล้วเราจะต้องกระจายความเสี่ยงภัยเนี่ยออกไปยังหลายๆจุดนี่ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 นั่นเองเนี่ยเราจะต้องมองเห็นถึงวิธีการประหยัดงบประมาณของภาคราชการในการขนขยะเดินทางมาไกลๆซึ่งไม่สมควรเลยน้ำมันลิตรนึงเกือบ 40 บาทไม่เข้าใครออกใครเป็นเงินของรัฐ ราชการจากภาษีอากรของเราทั้งสิ้นที่เราสูญเสียไปแต่ค่าบริหารจัดการขยะอย่างนี้จริงๆเราต้องมีศูนย์หลายๆศูนย์ไอ้ส่วนเหล่านี้ในฐานะที่วงพาณิชย์เกิดขึ้นที่พิษณุโลกเป็นแห่งแรกปีนี้ครบ 50 ปีแล้ว
เรารับซื้อในส่วนของรีไซเคิลเนี่ยได้วันละ 250 ตันถึง 300 ตันต่อวันแล้วเรายังมีการผลิตเรื่องของ rdf ที่มาจากขยะแห้งขยะแห้งที่คัดแยกมามาผลิตเป็น rdf เป็นเชื้อเพลิงพลังงานสีขาวเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับโรงงานปูนขาวและโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่เขาต้องการมาก
ผู้ใช้เชื้อเพลิงเขาไม่ต้องการขยะเปียก แต่เขาต้องการขยะที่ผ่านการคัดแยกคุณภาพเป็นมาตรฐานได้ค่าความร้อนเฉลี่ยแล้ว ฮีทแวรูคือ 5,000 ที่เขาต้องการเพราะฉะนั้นเองโรงงานแยกขยะเป็น RDF จึงสำคัญต่อพี่น้องประชาชนชาวพิษณุโลกครับถ้าวันนี้ตราบใดที่เรายังไม่มีนโยบายแยกขยะอย่างแท้จริงไม่มีข้อสั่งการปฏิบัติการระเบียบการทำงานอย่างแท้จริงให้ประชาชนทุกครัวเรือนแยกขยะแห้งเปียกแล้วเทศบาลเก็บขยะแบบแห้งเปียกแล้วปลายทางนั้นนำไปสร้างประโยชน์ในทุกๆทางเราต้องทราบว่าขยะเปียกสร้างประโยชน์ได้อย่างไรขยะแห้งแต่ละส่วนสร้างประโยชน์ได้อย่างไร
ปัญหามีอยู่ว่าเทร่วมกันเรียกว่าขยะครับ แต่แยกออกจากกันเขาเรียกว่าทรัพยากรหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนสืบไปหรือตามหลักการของ segular chronomy สิ่งนี้ผมอยากให้จังหวัดพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการเรื่องนี้ครับ เรากำลังดูพื้นที่ 3-4 พื้นที่ที่จะเปิดโรงงาน rdf จะรับแต่ขยะแห้งที่แยกมาแล้วเท่านั้นที่ต้องไม่เหม็น ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่มีน้ำเสีย ไม่มีกลิ่น ไม่มีแมลงวัน นั่นคือสิ่งที่เราปรารถนาที่จะกระทำในเรื่องนี้ให้สำเร็จ
วงษ์พาณิชย์มีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนเอง 100% มูลค่าการลงทุนในเฟสแรก 250 ล้านบาทถ้าหากว่าเราได้รับเราจะส่งความรู้นั้นไปอย่างพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงความรู้นั้นต้องเป็นความรู้ที่ไม่โกหกต่อพี่น้องประชาชนเป็นความรู้ที่ต้องไม่โกหกต่อสังคมอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้อะไรเหม็นอะไรหอมต้องพูดจากันด้วยความจริงครับ
วงษ์พาณิชย์มีความพร้อมที่จะเริ่มลงทุนโรงงานแยกขยะ rdf ครับรับเฉพาะขยะแห้งเข้ามาจัดการเป็นพลังงานทดแทนส่งให้โรงงานปูนซีเมนต์และโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไปเราพร้อมที่จะลงทุนเอง แต่ถ้าหากว่าได้รับการสนับสนุนจากภาคราชการตั้งแต่ระดับกรมโรงงานอุตสาหกรรม การสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องที่มีพรบ.สาธารณสุขมีพรบ.อุตสาหกรรมแล้วก็พรบท้.องถิ่น ท้องถิ่นต้องเห็นชอบ ถ้าคนหนึ่ง คนใดเกิดความไม่เข้าใจขัดแย้งและเกิดความรู้สึกนึกคิดในสิ่งที่ผิดไม่ถูกต้องกับหลักการเหตุผลหลักทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องอย่างนี้สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะคนที่พิษณุโลกที่มีความรู้ คนทันสมัยจึงจะรู้คุณค่าของขยะวันนี้
……………