เสริมเกลือในดินโป่งให้สัตว์ป่าในอช.ทุ่งแสลงหลวง

พิษณุโลก  อช.ทุ่งแสลงหลวงร่วมกับ กลุ่มท่องเที่ยวทุ่งโนนสน อบต. ชมพู และชมรมสื่อมวลชนพิษณุโลก ขนเกลือ 5 ตัน เข้าไปเสริมแร่ธาตุในโป่งธรรมชาติ ภายในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง บริเวณ ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เพิ่มแหล่งหากินทางธรรมชาติให้สัตว์ป่า ลดผลกระทบสัตว์ป่าลงมารบกวนชาวบ้านในพื้นที่เกษตรกรรม

วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ชาวบ้านในตำบลชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก นำโดยบุญเชิด คำแก้ว ประธานท่องเที่ยวทุ่งโนนสน พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลชมพู นำโดย  นายบุญชนะ   คำภูเขียว  นายกอบต.ชมพู อำเภอเนินมะปราง อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และชมรมสื่อมวลชนพิษณุโลก   ได้ร่วมใจกันจัดกิจการรมทำโป่งเทียม หรือ โป่งเกลือ (Salt Lick) ให้สัตว์ป่า ที่บริเวณฐานแตกบ้านร่มเกล้า ม.11 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง ภายในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ห่างจากชุมชน ที่ทำกินทางการเกษตรของชาวบ้าน ตำบลชมพูประมาณ 3 กิโลเมตร โดยชาวบ้านในหมู่บ้านชมพู ได้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ในชุมชนเขตตำบลชมพู ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้นาๆชนิดอีกทั้งสัตว์ป่าที่ยังมีอย่างชุกชุม โดยเฉพาะช้าง เก้ง กวาง เป็นการเสริมแร่ธาตุในโป่งดินธรรมชาติ ให้สัตว์ป่าได้หากิน จะได้ลดการออกมารบกวนพื้นที่ทางเกษตรกรรมของชาวบ้าน

 

โดยเกลือที่รับบริจาคจากผู้ใจบุญ อาทิ บริษัท มาดามฟิน , นายธานินทร์ สมบูรณ์สาร อดีต พมจ.พิษณุโลก วัดราชบูรณะจังหวัดพิษณุโลก และคณะ , ชาวบ้าน อ.เนินมะปราง และผู้ไม่ประสงออกนาม  เป็นต้น ได้เกลือรวมทั้งสิ้น 5  ตัน โดยทางชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง หน่วย พิทักษ์อุทยานที่ สล.12 ได้จัดสถานที่เก็บเกลือไว้ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในปีถัดไป ส่วนในปีนี้นำมาทำโป่งเกลือจำนวน 5 ตัน  โดยช่วยกันขนเกลือใส่กระบะรถไถการเกษตร ลากไปยังบริเวณทำโป่งเกลือ ระยะทาง  3 กม.

นายบุญเชิด คำแก้ว ประธานท่องเที่ยวทุ่งโนนสน กล่าวว่า การทำโป่งเกลือ ชาวบ้านจะพร้อมใจกันทำทุกปี  ปีนี้เป็นปีที่  24  แล้ว ที่ชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ อช.ทุ่งแลวงหลวง อบต. ชมพู และชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงอุทยาน ร่วมทำกิจกรรมกันมา เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ให้สัตว์นานาชนิดที่มีอยู่จำนวนมาก ได้มาอาศัยแทะกินสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งถือเป็นการร่วมกันจัดกิจกรรมดีๆนี้ขึ้นในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักเกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบชุมชน และเพื่อร่วมกันรักษาผืนป่าแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่กว้างใหญ่ของป่าผืนนี้ให้อยู่คู่กับชุมชนสืบไป

เนื่องจากที่ผ่านมา ชาวบ้านในตำบลชมพู ที่มีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีปัญหาสัตว์ป่า ลงมาหากิน พืชสวนพืชไร่ รบกวนชาวบ้านที่ทำกินในพื้นที่ติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชาวบ้านจึงมีคิดว่า น่าจะสร้างแหล่งอาหาร และ ถิ่นที่อยู่อาศัยให้สัตว์ป่า ได้มีกินในช่วง ฤดูแล้ง โดยเฉพาะช้างป่า จะได้ไม่มารบกวนชาวบ้าน จึงเริ่มต้นจากกิจกรรมในการสร้างแหล่งอาหารให้ช้าง ปลูกไผ่ ปลูกกล้วย และต่อด้วยการทำ โป่งเกลือ โดยน้ำเกลือมาเสริมในดินโป่ง ที่สัตว์ป่าได้อาศัยหากินอยู่แล้วตามธรรมชาติ สัตว์ป่าก็จะได้กินแร่ธาตุ พร้อมกับมีแหล่งอาหารอยู่บริเวณนั้น ซึ่งผลจากการที่ทำที่ผ่านมา ได้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมาก พื้นที่ที่ชาวบ้านปลูกพืชไร่ ทั้งไร่มันสำปะหล่น ไร่ข้าวโพด ในระยะหลังๆนั้น ไม่ประสบปัญหาช้างป่าลงมาหากินในพื้นที่เกษตรกร แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมที่ชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้ทำนั้น ช่วยลดผลกระทบ ความขัดแย้งระหว่าง สัตว์ป่าและชุมชนได้ ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ จึงได้ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันนี้ เห็นได้ชัดว่า มีร่องรอยของรอยเท้ากระทิง ช้างป่า ลงมาหากินบริเวณ โป่งดิน ที่ชาวบ้านนำเกลือมาใส่เสริมเป็นประจำทุกปี

ขณะที่ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ที่เก็บข้อมูลสัตว์ป่า รายงานว่า โป่งดินที่ชาวบ้าน อำเภอเนินมะปราง น้ำเกลือมา ช่วยเสริมแร่ธาตุเป็นประจำทุกปีนั้น เป็นโป่งที่สัตว์ป่า มาใช้เป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ มากินดิน เพื่อเสริมแร่ธาตุ อาทิ ช้างป่า เก้ง กว้าง กระทิง หมูป่า

ในวันนี้ในช่วงที่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ได้ร่วมนำเกลือไป ใส่ในโปร่งดินบริเวณนี้ ปรากฏพบร่องรอยรอยเท้า ของกระทิง เก้งกวาง อย่างชัดเจนเดินลงมากิน โป่งเกลือ จำนวนมาก ขณะที่ไผ่ ที่ชาวบ้านร่วมกันปลูกใกล้โป่งเกลือนั้น จนถึงวันนี้นอกเหนือจากเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารให้กับชาวบ้านในพื้นที่ด้วยในการเก็บหน่อไม้ วันนี้ชาวบ้าน ได้เก็บหน่อไม้บริเวณนี้ออกไปบริโภค แถมยังได้ ผลิตผลจากป่าอาทิเห็ดโคนจำนวนมาก ที่ขึ้นตามจอมปลวกด้วย

 

 

แสดงความคิดเห็น