สนทช.วางแผนป้องกันสุโขทัย เร่งผันน้ำยมลงแม่น้ำน่าน

เลขา สนทช.ประชุมด่วนเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะการป้องกันน้ำหลาก จากเมืองแพร่ เข้าตัวเมืองสุโขทัย ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ เสนอประสานขุดทางรถไฟช่วง อ.ศรีนคร เพื่อช่วยระบายน้ำ และปล่อยเข้าทุ่งบางระกำโมเดลแค่ 30-40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเหลือพื้นที่รับน้ำใหม่

ที่ห้องประชุมสำนักชลประทานที่ 3 อ.เมือง จ.พิษณุโลก ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือ โดยช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่องฝนพาดผ่าน ทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องในพื้นทีภาคเหนือ เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัด เช่น เชียง ราย พะเยา น่าน แพร่ และจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังน้ำหลาก ได้แก่ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร โดยปริมาณน้ำขณะนี้ ระดับน้ำที่พีคจุดสูงสุด ขณะนี้อยู่ที่ จ.แพร่ ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างที่ จ.แพร่ และเริ่มไหลลงสู่ จ.สุโขทัย แล้ว คาดว่าจะหลากมาถึง จ.สุโขทัย ในวันอาทิตย์ที่ 25 ส.ค.67 นี้ โดยการประชุมมีการวางแผนเตรียมการจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำท่วมในเขตตัวเมือง หรือเขตเศรษฐกิจ
โดยจะมีการตัดยอดน้ำออกไปหลายทาง จากจุดประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ด้วยการการผันน้ำไปสู่แม่น้ำน่าน แต่ก็ต้องประสบปัญหา เนื่องจากมีทางรถไฟกีดขวางทางน้ำอยู่ ในเขต อ.ศรีนคร น้ำจึงระบายไปได้ประมาณ 100 คืวเท่านั้น ที่ประชุมจึงขอให้สำนักชลประทานที่ 4 ประสานไปยัง การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอขุดขยายให้น้ำผ่าน เราจะสามารถผันน้ำไปได้เพิ่มมากถึง 300 คิว อีกทางหนึ่ง ก็จะผันน้ำไปสู่คลองหกบาท เข้าสู่ ม.ยมสายเก่า หรือ คลองเมม แล้วผันเข้าสู่ ทุ่งบางระกำโมเดล ซึ่งกำหนดให้ผันเข้าไปแค่ 30 – 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น เพื่อคงสภาพพื้นที่ว่างไว้รับน้ำระลอกใหม่ อีกทั้งยังขอให้มีการ ประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกร ที่ยังมีพืชผลทางการเกษตร ที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ ทุ่งบางระกำโมเดลฝั่งขวา ประมาณ 2 แสนไร่ ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนจะเสียหายด้วย ซึ่งจะมีกำลังพลจาก กองทัพภาคที่ 3 เข้าไปช่วย นอกจากนั้น น้ำใน ม.ยมสายเก่า จะระบาย ผ่านประตูระบายน้ำท่านางงาม เข้าสู่ ม.ยมสายหลัก แล้วผันลงคลองระบายน้ำ DR 2.8 ที่ตำบลงิ้วงาม อ.เมือง จ.พิษณุโลก เพื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำน่านให้ได้มากที่สุด เท่านี้จะทำให้น้ำที่มุ่งไปสู่ตัวเมืองสุโขทัยในวันอาทิตย์ที่ 25 ส.ค.นี้ จะแค่ปริ่มคันกั้นน้ำริมตลิ่ง แม่น้ำยม ไม่หลากเข้าตัวเมือง….ส่วน จ.น่าน น้ำเริ่มลดลงแล้ว และน้ำส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในเขื่อนสิริกิตต์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ส่วนแม่น้ำน่านช่วงท้ายเขื่อนก็ยังรับน้ำได้อีกจำนวนมาก

แสดงความคิดเห็น