ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเสวนาวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2567  ที่ ห้องประชุมมนตรี  อาคารศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการจัดการประชุมวิชาการ ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน  ในหัวข้อ ท่องเที่ยวเงินล้านวิถีไทย โดยมีวิทยากรคือ นางศศิวัณย์ ศรีพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ประธานสภา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 บอร์ดสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นางเผอิญ พงษ์สีชมพู ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจชุมชนบ้านวังส้มซ่า ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผศ.ดร.เพชรศรี นนท์ศิริ หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินรายการโดย พท.(ผ)อุรัจฉัท วิชัยดิษฐ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองการแพทญ์ทางเลือก โดยมีนิสิต ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก

นางศศิวัณย์ ศรีพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า สำหรับการท่องเที่ยวเงินล้านวิถีไทย จังหวัดพิษณุโลก มีการส่งเสริมให้เกิด Landmark ผลิตภัณฑ์ เทศกาล กิจกรรมใหม่ในจังหวัด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยที่ตั้งมีการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  เรามีอุทยานประวัติศาสตร์ 3 แห่งคือที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำหรับจังหวัดพิษณุโลก ทำ connect เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเน้นในเรื่องของการนำสมุนไพรทำเรื่องสุขภาพจากการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์สมุนไพร โดยมุ่งเน้นให้ ทุกคนกินอาหารเป็นยา ไม่ต้องการให้กินยาเป็นอาหาร

การท่องเที่ยว Fruit And Farm tourist เป็นการท่องเที่ยวฟาร์ม สวนผลไม้ การเกษตรเชิงสมุนไพร เพื่อความปลอดภัยและนักท่องเที่ยวสามารถซื้อเป็นของฝากเพื่อสุขภาพได้ โดยที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่นที่ อำเภอเนินมะปรางได้มีสวนทุเรียนที่ นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินเข้ามาท่องเที่ยวถึงสวนจำนวน 15 กรุ๊ป มีเงินสะพัด เกษตรกรขายทุเรียนได้จำนวนมาก การท่องเที่ยวที่บ้านร่องกล้าหมู่บ้านสีชมพู ได้มีการทำโมจิบ้านร่องกล้า ขึ้น  มีการถอดแบบ โมเดล ชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยว ระดับประเทศ สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทย  และในอนาคตจะสามารถมาท่องเที่ยวชมต้นซากุระญี่ปุ่นซึ่งมีการปลูกไว้แล้วกว่า 350 ต้น นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านในหมู่บ้านร่องกล้า ปลูกต้นซากุระรอบบริเวณบ้านบ้านละอย่างน้อย 10 ต้น เมื่อ 10 กว่าปีก่อน จนปัจจุบันต้นพญาเสือโคร่ง สามารถ ออกดอก เต็มพื้นที่หมู่บ้าน เมื่อมองจากมุมสูงกลายเป็นหมู่บ้านสีชมพู เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวอีกแบบ ดึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชม

นอกจากนี้ชุมชนบ้านหอกลองเป็นชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรสู่การท่องเที่ยวในการจัดทำโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาพักผ่อน เที่ยวเชิงภูมิปัญญา โดยมีสมุนไพร เป็นจุดดึงดูด ขณะที่บ้านน้ำจวง อำเภอชาติตระการ เป็นการท่องเที่ยวแบบคลีนคาร์บอน ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นศูนย์เรียนรู้ โฮมสเตย์ จนได้รับรางวัลดีเยี่ยม จากกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข เช่นเดียวกับชุมชนบ้านหอกลอง เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยมจาก กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุขเช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ยังได้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทางภาคใต้มาเที่ยวในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยจัดทริปพิษณุโลก-หาดใหญ่ และในสิ้นปีนี้มีนักท่องเที่ยวกว่า 30 กรุ๊ปจากภาคใต้ จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพิษณุโลกด้วย

นางศศิวัณญ์ กล่าวว่า นับว่าจังหวัดพิษณุโลกมีศักยภาพสูง ที่จะสามารถตั้งเป็นศูนย์ท่องเที่ยว แพทย์แผนไทย สมุนไพร แก้เจ็บแก้จน เพราะพิษณุโลกเป็นเมืองสมุนไพร แนวคิดนี้จะมีการพัฒนาลงไปยังพื้นที่ ชุมชนโดยเฉพาะที่บ้านน้ำจวงยังมีการฝังเข็มรักษาโรค จาก ชาติพันธุ์ม้ง มีอาหารพื้นเมือง และมีนาขั้นบันได ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีแบบเรียบง่ายของชุมชนม้ง ประเพณีวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหารการกินที่แตกต่างจากคนพื้นราบทั่วไปจจุบันแพทย์ทางเลือก กลับมาได้รับความนิยมเพราะประชาชนส่วนใหญ่ ต้องกินยารักษาโรค ในแต่ละปีหลายแสน หลายล้านบาท และสุดท้ายเกิดโรคไตวาย ซึ่งมีสถิติประเทศไทยต้องฟอกไต มากเป็นอันดับ 3 ของโลก แนวการท่องเที่ยว จึงต้องการใช้แนว ทานอาหารเป็นยารักษาโรค ซึ่งจากโมเดลการท่องเที่ยวที่จัดทำ เชื่อว่าจะมีเงินสะพัดจากการท่องเที่ยวเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากทุกธุรกิจการท่องเที่ยว ตั้งเป้าไว้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

ด้าน นางเผชิญ กล่าวว่า แนวคิดการบริการจัดการชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวได้จัดทำอย่างเป็นระบบมีการพัฒนา ต่อยอด มองว่าภายในชุมชน บ้านวังส้มซ่า ซึ่งเป็นชุมชนขนาดกลางที่มีประชากร 800 คน 200 ครัวเรือน ในอดีต 100% ของประชากรทำการเกษตรปัจจุบัน ลดลงเหลือประมาณ 40% การหาจุดขายเริ่มจากการดูว่าในพื้นที่ มีพืชท้องถิ่นคือต้นส้มซ่าตามชื่อหมู่บ้าน อดีตทุกบ้านปลูกส้มซ่า ไว้เพื่อใช้ในการบริโภค เป็นผลไม้สด มาทำอาหาร นำมาสระผมสูดดม ใช้ปรุงต้มยำ น้ำพริก แต่หลังจาก วิถีชุมชนเมือง เข้ามาใกล้ วิถีชีวิต วิถีการกินเปลี่ยนไป ปรากฏว่าในพื้นที่บ้านวังส้มซ่า ตัดต้นส้มซ่าปล่อยทิ้ง  จากการสำรวจพบว่าเหลือต้นส้มซ่าจำนวนเพียงต้นเดียว ด้วยชุมชนอยู่ ใกล้มหาวิทยาลัยนเรศวร นักวิชาการมาช่วย  ในการขยายต้นส้มซ่า ชาวบ้านนำส้มซ่า มาผลิตเป็นเครื่องสำอาง จนประสบความสำเร็จ ทำให้มีคนเข้าดูโรงงานผลิต ที่สร้างได้มาตรฐาน เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเกือบ 100% ได้มาตรฐานสาธารณสุข คนรู้จักบ้านวังส้มซ่าจากเครื่องสำอาง  มีการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีสมาชิกกลุ่ม 23 คน ชาวบ้านไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานใดเลยแม้แต่กระทั่งอบตท่าโพธิ์ ซึ่งเป็นองค์กรท้องถิ่นในตำบล  มีเพียงวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพียงองค์ความรู้เดียวที่มาช่วยชาวบ้านต่อยอดนำผู้ชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอาง อบรมให้ ชาวบ้านใช้เวลาในการอบรมและสร้างผลิตภัณฑ์จากส้มซ่าเป็นเวลา 4 เดือนก็มีเงินหมุนเวียน จากกำไรการขายเครื่องสำอางและพืชสมุนไพร 2-3 แสนบาท และมีทุนหมุนเวียน 70,000 บาท ที่ชาวบ้านเก็บไว้จนถึงปัจจุบัน โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ มีข้าวหอมมะลิ สกัดเป็นน้ำมัน ธัญพืช น้ำมันมะพร้าว ว่านหางจระเข้ขมิ้น และส้มซ่า

เป็นแนวคิดที่ต้องการคืนพืชหลักในท้องถิ่นกลับมา จนปัจจุบันในพื้นที่มีการปลูกต้นส้มซ่า จำนวนกว่า 400 ต้น เครื่องสำอางบ้านวังส้มซ่าเติบโตตามลำดับ จนกระทั่งในปี 2554 ลิปกลอสส้มซ่า สูตรท้องถิ่น ได้รับรางวัล สร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชาวบ้านนำส้มซ่ามาใช้ในการผลิตทั้งใบ ผิวส้มซ่า เนื้อส้มซ่านำมาผลิตทั้ง เป็นอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องสำอาง มีการเพิ่มมูลค่าให้ทุกครัวเรือนมีรายได้จนทุกวันนี้เป็นจุดขายที่ประสบความสำเร็จ นักท่องเที่ยวที่เข้ามา นอกจากจะชมธรรมชาติแม่น้ำน่าน จะมีสุขภาพที่ดีจากการทานอาหารที่มีประโยชน์จากพืชสมุนไพรและส้มซ่า  นักท่องเที่ยวมีความสุข อารมณ์ดี จากการสัมผัสสภาพอากาศดี และยังได้ออกกำลังกายจากการเดิน ปั่นจักรยานดูพื้นที่อีกด้วย

 

ก่อนหน้านี้ ชุมชนมีการทำสปาครบวงจร ทั้ง สปาหน้า สปาตัว แต่หลังจากโควิด เมื่อประสบความสำเร็จทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาภายในชุมชน ท่องเที่ยวมีสินค้า OTOP นวัตวิถี ที่ชาวบ้านร่วมกันผลิต โครงการ ทำเป็นเชิงสุขภาพเชิงเกษตร จุดขายที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มาบ้านวังส้มซ่า จะต้องกลับมาอีกนั่นก็คือคนในชุมชนมีอัธยาศัยดี นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวแล้วมีความสุข นอกจากนี้เรายังมีการแนะนำ ต่อให้ชุมชนข้างเคียง ด้วยการส่งนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม อาทิ การไปไหว้พระพุทธชินราช ชมพระราชวังจันทน์ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศาลหลักเมือง การได้ไปกินอาหารหลากหลายชนิด ที่ อ.เนินมะปราง ชาติตระการ พรหมพิราม วัดโบสถ์

 

ปัจจุบัน ต้นส้มซ่า  400 ต้น ถูกมาใช้ในพื้นที่ มากมายทั้งขายผลสด นำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น มีเงินปีละ 20,000 บาท/คน   การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กินอาหารเป็นยา รักษาโรคเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ส้มซ่ากิโลกรัมละ 50 บาท แต่ละต้นจึงสามารถทำเงินให้กับคนปลูก 7-8,000 บาทแต่ทั้งนี้จะต้องดูแลต้นเป็นอย่างดี แต่หากปล่อยไปธรรมชาติก็จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 500 บาทต่อต้น รายได้จากสถิติเดือนละประมาณ 150,000 บาทจนถึง 200,000 บาท แต่หลังจากเกิดโควิดรายได้ลดลงเหลือเพียง 7-80,000 บาท ซึ่งโควิดในช่วงนี้เริ่มซาลงรายได้จากชาวบ้านเริ่มกลับคืนมาเมื่อปี 2566 การผลักดันต้นส้มซ่า จนมาสู่รายได้ให้กับชุมชนได้ประมาณ 1 ล้านบาทจากชุมชนเล็กๆ ขายผลิตภัณฑ์ ในหลากหลายรูปแบบจากส้มซ่า ชาวบ้านมีรายได้ ทั้งจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในพื้นที่และจากการที่ตัวแทนชาวบ้านนำสินค้าออกไปขายต่างพื้นที่ นอกจากนี้ เรายังมีบริการการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องตลอดปีด้วย

/////////

 

แสดงความคิดเห็น