มน.แสดงผลงานวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดพิษณุโลก

เมื่อเวลา  18.00 น.ของวันที่ 19 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก นายนายพชรเสฏฐ์ บุญศิริสาริศา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ระยะที่  3 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างระบบและโครงสร้างกาแรก้ไขปัญหาและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนด้วยการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประสานความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนทั้งการวางระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ เพื่อประเมินปัญหาและติดตามคนจนอย่างเป็นระบบ วางระบบคัดกรองและช่วยเหลือคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ที่เชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือภาครัฐ ซึ่งความรู้และเทคโนโลยีจากงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เป้าหมายจังหวัดพิษณุโลก

ศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า โครงการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ นั้นของจังหวัดพิษณุโลก เป็นหนึ่งใน 20 จังหวัด นำร่อง ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่โครงการระยะที่ 1 จนปัจจุบันระยะที่ 3 แล้วโดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเราได้ใช้ระบบ PPAOS ในการสร้างฐานข้อมูล โดยทั้งจังหวัดพิษณุโลก ได้เก็บข้อมูลคนยากจนอยู่ประมาณ 40,000 คน และที่เกี่ยวข้องกับคนจน เข้ามาอยู่ในระบบฐานข้อมูลซึ่งฐานข้อมูล ทางหน่วยงานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้เอาครัวเรือนทั้ง  40,000 ขึ้นมาเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลจริง

โครงการที่ 2 คือโครงการนำร่องในจังหวัดอำเภอหนึ่ง คืออำเภออำเภอบางระกำ เพื่อที่จะไปหาโมเดลในการพัฒนาแก้ไขปัญหาความยากจนของของจังหวัด ในโมเดลนี้พบว่าในพื้นที่มีข้าว มีอาหาร มีปลา มีอะไรขึ้นมา แล้วก็มาสร้างเป็นนวัตกรรมโดยใช้ฐานของมหาวิทยาลัยมาปรุงสูตรมาสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่อีกหลายๆอัน ขึ้นมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่จบโจทย์ของจังหวัดได้ว่าประชาชนสามารถมีกินมีใช้  อยู่ดีขึ้น หรือมีอาชีพมากขึ้น โดยพบก็คือว่านอกจากเศรษฐกิจแล้ว ที่ในเรื่องความสุข ยังไม่มากนัก  จึงมีวิธีคิดขึ้นมาในระยะที่ 3 โดยระยะที่ 3 นี้าใช้ 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบางระกำ และอำเภอเนินมะปราง ในการทำวิจัย โดยอำเภอเนินมะปราง ทางคณะวิจัย ได้เน้นในเรื่องของวิสาหกิจชุมชนและการท่องเที่ยว ระบุพื้นที่ใหม่ๆหลาย พื้นที่ขึ้นมาแล้ว โดยเฉพาะการเอาชาวบ้านมาปลูกดอกกระเจียวกันทั้งภูเขาและชาวบ้านก็มีส่วนที่จะเป็นเจ้าของแล้วก็รักษาตรงนี้ เพื่อให้ให้เห็นว่าคนจน อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องของการให้เงิน แต่อยู่ในห่วงโซ่ของการพัฒนาในเชิงต่างๆขึ้นมา

ส่วนอำเภอบางระกำ ก็จะเป็นเรื่องของอาหาร ต่างๆที่ต่อยอดจากเดิมขึ้นมาแล้วก็มีเรื่องของการเสริมสร้างอาชีพโดยใช้วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา เข้าไปเข้าไปช่วยในพัฒนาอีกด้วย ส่วนอำเภอเมือง เป็นเรื่องของอาหารเช่นเดียวกัน สาเหตุที่นำอำเภอเมือง ขึ้นมา นั้นพบว่าคนจนค่อนข้างมีเยอะ เราได้ส่งเสริมมาแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ปรากฏว่าตอนนี้เห็ดค่อนข้างขายดี คนจนก็จะอยู่ในในห่วงโซ่ในการหาเห็ด ในปลูกเห็ด ให้ปุ๋ย ให้น้ำ เหล่านี้ เราเรียกกันว่าวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา

จากนี้ในระยะที่ 4 เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับเอาผลิตภัณฑ์ ที่ทำขึ้นมากำหนดให้พิษณุโลกเป็นศูนย์ของโลจิสติกส์ในการที่จะส่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 20 จังหวัดนำร่อง ที่ทำวิจัยกันมา 3 ปี ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าทั้งในและต่างประเทศได้ โดยใช้ฐานของวิสาหกิจชุมชน ที่เราส่งเสริมและมีการตลาดจริง คนในชุมชนก็อยู่ในห่วงโซ่หลายๆเรื่อง  บางเรื่องก็เป็นเรื่องของความสุข บางเรื่องของมิติของการศึกษา บางเรื่องก็มิติของการพัฒนาในเชิงสิ่งแวดล้อม บางเรื่องก็จะเป็นเรื่องของรายได้ สิ่งต่างๆทั้งหมดจะเห็นว่าเป็นภาพองค์รวมขึ้นมา โดยทั้งระยะ 3 นี้ ได้ทำโครงการคนจน อยู่จำนวน 3,000 คน ตอนนี้เราสามารถดำเนินการทั้งหมด 3,000 คนเรียบร้อยแล้ว

////////////////

 

แสดงความคิดเห็น