รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมรัฐมนตรี ดีอีเอส. เปลี่ยนเส้นทางกะทันหัน ลงพื้นที่พิษณุโลก แทนอุบลราชธานี เนื่องจากสภาพอากาศปิดฝนตกหนัก ไม่เอื้อต่อการบิน ก่อนเตรียมประชุมคอนเฟอเรนซ์ ติดตามสถานการณ์น้ำรับมือพายุโนรู กำชับผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดให้ติดตามสถานการณ์ ประเมินพื้นที่เสี่ยง และเตรียมพร้อมด้านการบรรเทาสาธารณภัย
วันนี้ (28 ก.ย.2565) ที่ห้องประชุมพระศรีศาสดา ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พร้อมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ “พายุโนรู” เพื่อตรวจติดตามความพร้อมรับสถานการณ์ พายุโนรู ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. – 1 ต.ค. นี้ เนื่องจากในบางพื้นที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำ ป่าไหลหลาก ดินโคนถล่ม ผ่านระบบประชุมทางไกลระบบ VDO Conference กับผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกทั่วประเทศ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้กล่าวว่าในวันนี้มีภารกิจที่จะต้องเดินทางไปติดตามสถานการณ์ พายุโนรู ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี แต่สภาพอากาศปิดมีฝนตกหนักลมแรง จึงตั้งใจว่าจะไปลงเครื่องที่ จ.ขอนแก่น แต่ก็สภาพอากาศไม่อำนวยจึงตัดสินใจมา ลงเครื่องที่สนามบิน จ.พิษณุโลก และจัดประชุมทางไกลระบบ VDO Conference กับผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกแทน
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้กล่าวว่าตามที่ทราบกันดีว่าในช่วงนี้ประเทศไทยเผชิญอยู่กับร่องความกดอากาศที่ทำให้ฝนตกชุกที่ผ่านมา ทำให้มีผลกระทบต่อหลายจังหวัดโดยเฉพาะตอนนี้ทางโซนของภาคอีสานเริ่มได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อนโนรูในหลายจังหวัด และจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเกือบทั้งประเทศวันนี้จึงได้เรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่เพื่อติดตามดูสถานการณ์ในพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆของแต่ละจังหวัดโดยกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณะภัยให้ติดตามประเมินสถานการณ์ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามสถานการณ์น้ำที่มีอยู่เป็นอย่างไร เรื่องของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ การรับน้ำและระบายอยู่ในระดับใด จากนั้นให้ผู้ว่าฯทำการประเมินจังหวัดตัวเองว่าจะกระทบพื้นที่ไหนอย่างไรบ้าง ตรงไหน จุดไหนคือพื้นที่เสี่ยงภัย หรือจุดที่จะกระทบต่อประชาชนอย่างไร จากนั้นให้เตรียมการในด้านการบรรเทาสาธารณะภัยร่วมกับทาง ปภ.ในการเตรียมมาตรการต่างๆในการเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงการประสานงานร่วมกันกับหน่วยงานทหาร ตำรวจ หรือท้องถิ่นสนับสนุนในเรื่องของกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือการอำนวยความสะดวก เน้นย้ำให้ท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ดูเรื่องของการเฝ้าระวังการเกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมขัง
และสั่งการให้ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ของตัวเองว่ามีจุดใดที่อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยของระบบไฟฟ้าหรือไม่ จากมีจุดเสี่ยงให้ประสานกับไฟฟ้าสาขาในพื้นที่ทันทีเพื่อทำการตัดไฟป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไฟช็อตหรือไฟรั่วซึ่งเรามีบทเรียนเหตุการณ์ไฟช็อตประชาชนได้รับบาดเจ็บมาก่อนหน้านี้แล้ว
โดยหลังจากนี้ในช่วงบ่ายจะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.พิษณุโลก ที่วัดบึงพร้าว บ้านวังบอน ต.ชัยนาม และ บ้านคลองจระเข้ ต.วังทอง และลงพื้นที่เยี่ยมญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์อุทกภัยและประชาชนในพื้นที่ ม.7 บ้านวังพรม อ.วังทอง จ.พิษณุโลกต่อไป
/////////////////////////