วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดโครงการ Smart Container for Smart Micro-Grid Technology โดยมีตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมท้ องถิ่น มาร่วมในโครงการจำนานมาก


สำหรับรูปแบบโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Microgrid สู่การขยายผล กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเป็ นโครงการนำร่องในการพัฒนาธุรกิ จขับเคลื่อนโดยใช้ตู้ Container ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ราคาไม่แพง ด้วยระบบ Smart Microgrid ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ในการผลิตไฟฟ้าที่สามารถซื้ อขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้าได้แบบ Pee-to-Peer ในอนาคตที่มีระบบ Smart Home ที่สะดวกทันสมัยเป็นทางเลือกให้ กับผู้อยู่อาศัย ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ สามารถขยายผลและเชื่อมโยงสู่ ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมได้กับธุรกิจชุ มชน เช่น เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านเสริมสวย ร้านขายอุปกรณ์มือถือ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถเคลื่อนย้ ายตามสถานการณ์ และความเหมาะสมได้ตลอดเวลา นับว่าเป็นการส่งต่อโอกาสไปให้ กับผู้ที่สนใจที่ต้องการจะเริ่ มต้นเป็นผู้ประกอบการได้เข้าถึ งโอกาสได้อย่างง่ายขึ้น นอกจากโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Microgrid ยังมีอีกหลากหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น อาคารทรงรวงข้าว อาคารนวดแผนไทยอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งได้นำเทคโนโลยีและนวั ตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอั จฉริยะ

ด้าน นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า สำหรับภาคอุตสาหกรรม ย่อมต้องพัฒนาและปรับตัวให้พร้ อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะจะเป็นปัจจัยต่อการสร้างขี ดความสามารถ ในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรม การผลิตของประเทศ การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการบริหารจัดการ ด้วยการสร้าง Ecosysterm ในการยกระดับเศรษฐกิจและคุ ณภาพชีวิต โดยมีสถาบันศึกษา นักวิชาการ ที่นำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ มาพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีให้มี ความชาญฉลาด เหมาะสมกับความต้องการใช้พลั งงานสะอาด ร่วมกับการลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ เช่น startup FinTech และ Climate Tech พร้อมกับความร่วมมื อจากภาคการเงิน เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ งประเทศไทย เป็นกลไกการขับเคลื่อนของภาคอุ ตสาหกรรมสู่การเชื่ อมโยงโมเดลเศรษฐกิจใหม่ Green Industry และอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)
สำหรับโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Micro-Grid Technology เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของโครงการ เมืองอัจฉริยะ (NU Smart City) โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้ นที่ส่งเสริมเมือง Smart City จากสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีวิทยาลัยพลังงานทดแทน และ Smart Grid Technology เป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดำเนินโครงการ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนานวั ตกรรมร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กั บเอกชนและชุมชน เพิ่มศักยภาพ การแข่งขัน ให้กับภาคอุตสาหกรรมด้ านเทคโนโลยี Smart City และนวัตกรรมดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยฯ จึงพัฒนาโครงการ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรม Smart City และนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อเป็นแหล่งในการพั ฒนาเทคโนโลยี ที่ตอบโจทย์ความต้ องการของประเทศในด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่ต้องการความรวดเร็ว และเท่าทันสถานการณ์



สำหรับรูปแบบโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Microgrid สู่การขยายผล กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเป็



ด้าน นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า สำหรับภาคอุตสาหกรรม ย่อมต้องพัฒนาและปรับตัวให้พร้