มน.ร่วมมือภาคเอกชนวิจัยนวัตกรรมกัญชงในภาคอุตสาหกรรมสู่สารเสริมในปศุสัตว์

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่ห้องประชุม แคนา กาแฟ จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด บริษัท ดีซีพี เวิลด์ จำกัด และบริษัท ซีดีเอฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กรอบความร่วมมืองานวิจัยนวัตกรรมกัญชงสู่สารเสริมในปศุสัตว์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโจทย์วิจัยด้านกัญชงสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลและกรอบวิจัยด้านกัญชงสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์

รศ.ดร.วันดี ทาตระกูล อาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดเผยว่า การเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบของภาคอุตสาหกรรม สัตว์จะอยู่ในสภาวะความเครียด กระแสของกัญชงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะสารที่อยู่ในกัญชง ตั้งแต่รากจนถึงช่อดอก เมล็ด มีสาระสำคัญหลายตัวมากที่ช่วยในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในคนสารเหล่านี้เป็นที่สนใจกันอยู่แล้ว ซึ่งเราคิดว่าหากอนาคตมีการปลูกกัญชงถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมจริงๆ มันจะมีส่วนที่เหลือ ส่วนที่เป็นผลพลอยได้ค่อนข้างเยอะ หากเราสามารถนำมาต่อยอดเป็นอาหารเสริมในสัตว์ภาคอุตสาหกรรมอย่างหมู และสัตว์ปีก น่าจะเกิดผลดีในอนาคต

ด้านรศ.ดร ทศพร อินเจริญ อาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ได้เปิดเผยว่าการวิจัยนี้เป็นนวัตกรรมแนวใหม่พลิกโฉมวงการปศุสัตว์ไทย เพื่อให้สัตว์ทั้งสัตว์ปีกและสุกร ได้รับอาหารที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อให้สามารถให้เนื้อ ให้ไข่ ที่ปลอดสารตกค้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ร่วมถึงการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือในภาคอุตสาหกรรมกัญชงในอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในปัจจุบันนี้การปลูกกัญชงจะมีเศษเหลือ ในรูปของกากเมล็ด ใบ ต้น และราก ซึ่งเศษเหลือดังกล่าวมีสาระสำคัญที่สามารถออกฤทธิ์ ทางชีวเคมี และส่งผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเครียดที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์แบบเข้มข้นของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำไปประกอบเป็นสูตรสารเสริมในสัตว์ หรือวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ จึงสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งให้ผู้เลี้ยงสัตว์สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สารเสริมที่มีคุณภาพ และปลอดภัย

รศ.ดร ทศพร อินเจริญ อาจารย์ประจำสาขาสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้บอกต่ออีกว่า ขณะนี้งานวิจัยกำลังอยู่กระบวนการของการดำเนินการอยู่ในรูปแบบ Lap scale ยังไม่ได้นำลงไปในสัตว์ทดลอง ซึ่งคาดว่าขั้นตอนใน Lab จะสำเร็จและสามารถนำลงใช้ในสัตว์ทดลองได้จริงคือหมูและสัตว์ปีกในช่วงปลายปี 2564 นี้

นายจักรพันธ์ สาตุ้ม กรรมการบริหาร บริษัท ซีดีเอฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้เปิดเผยว่าสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมที่มีคุณสมบัติโปรตีนคุณภาพจากกัญชงผลิตภัณฑ์ปรับสภาวะความเครียด และการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ คือหมูและสัตว์ปีก ได้โดยมีนโยบายและแผนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้เพาะปลูกกัญชง โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อการสร้างเป้าหมายการพัฒนาอาชีพให้แก่ผู้เพาะปลูกกัญชงให้มีความมั่นคงและยั่งยืน โดยที่จะไม่ทิ้งสารตกค้างในเนื้อสัตว์ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

ทางบริษัทฯได้มองเห็นถึงการสร้างความยั่งยืนโดยสร้างรากฐานทางเกษตรที่มั่นคงจากพืชที่มีมูลค่าเราสามารถสร้างมูลค่าต่อจากการวิจัยของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยนเรศวร จากความทุ่มเทและความมุ่งมั่นของคณาจารย์ที่อยากให้การปศุสัตว์มีอาคารมีอาหารเสริมที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเพื่อสร้างโปรตีนที่ดีให้กับพวกเขามีความสุขลดความเครียดเพราะเราตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตทุกชีวิตการสร้างภูมิคุ้มกันจากอาหารทำให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่จะส่งผลเสียต่อสัตว์และผู้บริโภค ซึ่งจากจุดนี้ทางบริษัทจึงขอเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงเกษตรให้จัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อส่งวัตถุดิบไปยังมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเพิ่มมูลค่าและเราจะนำมูลค่าที่ได้กลับไปที่เกษตรกรเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของการเกษตรที่ยั่งยืนเกษตรคืออาชีพที่พึ่งพาตัวเองได้และมั่นคงเมื่อรากฐานประเทศเกิดความมั่นคงนอกจากเราจะได้เป็นครัวโลกแล้วเราจะยังเป็นแหล่งอาหารของปศุสัตว์ในอนาคตอีกด้วยเช่นกัน

แสดงความคิดเห็น