ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีี่อาคารเรียนรวม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก อ.เมืองดร.สุชาติ เมืองแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายและอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสังคม โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 ปีงบประมาณ 2564 โดยมีผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวนกว่า 70 คน เข้าร่วมรับฟัง
รศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม กล่าวว่า ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมภาคเหนือตอนล่าง 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ เพื่อขอรับทุนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำปี 2564 งบประมาณทุนสนับสนุนทุนละไม่เกิน 300,000บาท โดยผู้มีคุณสมบัติสมัครเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน กิจการเพื่อสังคมที่เป็นนิติบุคคล มีพื้นที่ดำเนินงานตั้งอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
รศ.ดร.ดลเดช กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมภาคเหนือตอนล่าง 1 ได้ดำเนินงานมา 4 ปีแล้ว โดยใน 2 ปีแรก คัดเลือกเพื่อรับทุน 1.5 ล้านบาท ได้ 4 โครงการ ประกอบด้วย ปีที่ 3 ได้โครงการละ 300,000 บาท จำนวน 14 โครงการสำหรับในปีนี้ นวัตกรรมให้มา 3 ล้านบาทได้ทุนละ เฉลี่ยทุนละ 200,000 บาท สำหรับในปี 2564 ได้ดำเนินการแสวงหาผู้สนใจ ผู้ประกอบการอบรมสัมมนาและเขียนโครงการเพื่อคัดเลือกกลุ่ม เพราะโครงการน่าสนใจเพื่อรับทุน และผู้ที่มีศักยภาพกลุ่มเฉพาะ และให้คำปรึกษาผู้ผ่านการคัดเลือกพัฒนาผลงานนวัตกรรม เพื่อสังคมกิจกรรมสร้างเครือข่ายนิเวศนวัตกรรม เพื่อสังคมซึ่งผู้ที่สนใจที่มีศักยภาพสามารถเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคม ได้ภายในเดือนวันที่ 31 มีนาคมโดยจะมีการคัดเลือก ประกาศผลในวันที่ 9 เมษายน 2564 จากนั้นจะให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการในวันที่ 26 เมษายน 2564 โดยสิทธิประโยชน์เมื่อได้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนเงินทุนพัฒนาผลงานนวัตกรรมและมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาตลอดการดำเนินงานที่ได้รับทุน มีโอกาสได้พบที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์แผนธุรกิจและการตลาดมีโอกาสได้นำเสนอผลงานและผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและมีโอกาสได้พบเครือข่ายความร่วมมือผู้ประกอบการนวัตกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 และในระดับประเทศ
สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ได้ดำเนินงานมา 4 ปี ด้วยการสนับสนุนจาก NIA ปี 2561 ทุนนวัตกรรมไม่เกิน 1.5 ล้าน ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ โครงการที่รับทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมปี 2561 คือ อู่ข้าว ระบบวิเคราะห์ผลผลิตและคุณภาพการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ เพื่อการส่งออกด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ของวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน กับโครงการโรงเรือนเพาะปลูกสตอเบอรี่อัตโนมัติระบบปิดขนาดเล็กสำหรับชุมชน จ.พิจิตร ซึ่งโรงเรือนเป็นโรงเรือนอัตโนมัติ สามารถปลูกสตอเบอรี่ขายได้ตลอดทั้งปี ปี 2562 ทุนนวัตกรรมไม่เกิน 1.5 ล้าน ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ ผู้ได้รับทุนนวัตกรรมเพื่อสังคม คือ เป็นโครงการอิฐมวลเบา และโครงการเครื่องประดับจากเหล็กน้ำพี้ จ.อุตรดิตถ์
ปี 2563 ทุนนวัตกรรมไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับการสนับสนุน 14 โครงการ ซึ่งโครงการที่รับทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมในปี 2563 ประกอบด้วย 1.เครื่องลอกหนังกบของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงกบในกระชังศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย 2. การใช้นวัตกรรมเพื่อการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่ เพื่อยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่าสูงมาตรฐานด้านการตลาด ของกลุ่มอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวร ต.หัวรอ อ.เมืองพิษณุโลก 3.รถแคร์คุณ ของบริษัท Solar วัด 111 จำกัดไทย 4.ไทไอดิน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก 5.น้ำพริกแม่ยุเครื่องแน่นจังหวัดพิษณุโลก 6.เครื่องคั่วกาแฟควบคุมโปรไฟล์เมล็ดคั่วโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดําริภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก 7.เครื่องปั่นกล้วยสุกเชิงอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 3 อย่าง หมู่ 9 บ้านเสาหิน ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย 8.เครื่องหยอดมะม่วงกวนอัตโนมัติ อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย 9.การพัฒนาระบบจักรยานไฟฟ้าแบ่งปันเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อบริการนักท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อความปลอดภัยและห่างไกล covid-19 10.ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับรับ-ส่งของ ในห้องผู้ป่วยโรค covid-19 11. ตะลอนดรี้ แอพพลิเคชั่นซักเสื้อผ้าชุมชนมหาวิทยาลัยนเรศวร 12.ตู้บรรจุอาภรณ์เคลื่อนย้ายรับ-ส่ง 13.ระบบกำหนดตำแหน่งรถโดยสารสาธารณะ ปี 2564 ทุนนวัตกรรมไม่เกิน 300,000 บาท กำลังอยู่ระหว่างดำเนินงานดังกล่าว