วันนี้( 11 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังสี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ นางกรรณิการ์ จรัสอุไรสิน ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัท โซลาร์วัตต์ 111 เพื่อสร้างเทคโนโลยีและกระบวนการประกอบรถยนต์ไฟฟ้า จากรถกระบะเก่าเพื่อใช้เป็นยานพาหนะที่สามารถลดมลภาวะในเมือง โดยดำเนินการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานจากรถกระบะที่มีอายุการใช้งานสูง และจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้หรือให้บริการวิชาการแก่ผู้สนใจในการดัดแปลงรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้สามารถใช้พลังงานสะอาด รวมถึงสาธิตการใช้การประจุไฟฟ้าจากสถานีประจุไฟฟ้ามาตรฐาน ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการเอกชนในจังหวัดพิษณุโลกในการต่อยอดการใช้งานเชิงพาณิชย์
นางกรรณิการ์ จรัสอุไรสิน ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัท โซลาร์วัตต์ 111ได้บอกว่า สำหรับโครงการนี้หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามรถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าแก่ผู้ประกอบการ กระบวนการออกแบบระบบเพื่อการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงโดยการสร้างแบบจำลอง โดยหลักการออกแบบระบบรถยนต์ไฟฟ้าโดยการสร้างแบบจำลองสามารถนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสินค้าได้เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการออกแบบลงได้โดยสามารถนำมาใช้ในการทำนายตัวแปรงของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญสำหรับการสร้างหรือประกอบรถยนต์ไฟฟ้าเช่น สมรรถนะและระยะทางที่ได้ต่อการประจุแต่ละครั้งและเทคนิคขั้นตอนการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงต้นแบบจารรถเก่าโดยใช้หลักการออกแบบระบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่ได้กล่าวไว้โดยประยุกต์เพื่อใช้กับลักษณะทางเทคนิคของรถกระบะที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้บอกว่า จำนวนรถบรรทุกส่วนบุคคลในประเทศไทยมีทั้งหมด 4,998,657 คัด คิดเป็นกว่าครึ่งของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดภายในประเทศ เป็นข้อมูลจากสำนักงานสถิติ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม และปัจจุบันมีรถกระบะกว่า สองลานคันที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี รถกระบะที่มีอายุการใช้งานสูง จะมีเครื่องยนต์ขนาด 2500-3500 ซีซี ซึ่งมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงสูงและจะผ่านการใช้งานมามาก ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์เสื่อมสภาพ อันจะส่งผลให้มีการใช้พลังงานในอัตราที่สูงกว่าปกติขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษา และไม่ส่งผลดีต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาจจะปล่อยไอเสียในอัตราที่สูงมากกว่าปกติ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้กล่าวต่ออีกว่า ผลผลิตจาการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพานิช ซึ่งสามารถจดทะเบียนเพื่อใช้วิ่งบรรทุกบนท้องถนนได้ โดยมีสมรรถนะอยู่ที่ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 120 km/hr และมี payload ไม่ต่ำกว่า 1 ตัน และมีระยะทางต่อการประจุแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 200 km. และการถ่ายทอด Know-how กระบวนการผลิตดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้งานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
นอกจากนี้บริษัท โซลาร์วัตต์ 111 ยังได้ส่งมอบแพลตฟอร์มการติดตามตำแหน่งรถบัสอีวี ม.นเรศวร ผ่านแอปพลิเคชันแคร์คุณ ให้กับทางมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้ประชาชน นิสิต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้โหลดนำไปใช้กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อแจ้งเตือนรถบัสอีวีภายในมหาวิทยาลัย ว่าอยู่จุดหรือตำแหน่งใด เพื่อจะได้ไม่รอในการใช้บริการที่นานเกินความจำเป็นอีกด้วย
/////////////////////////