วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 64 สำนักสงฆ์นาโภนทอง บ้านนาขาม หมู่ 1 ต.บ้านยาง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก นางสุวิมล เกตุศรีบุรินท์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิด พิธีเบิกบ่อเกลือบ้านนาขาม แหล่งเกลือโบราณ ของจังหวัดพิษณุโลก เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ผสมผสานวถีชีวิต พิธีกรรมและความเชื่อ มีการสืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งในชุมชน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนึกถึงคุณค่าของท้องถิ่น และเกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น การช่วยกันฟื้นฟู อนุรักษ์แหล่งเกลือโบราณ สืบสานพิธีกรรมการต้มเกลือ อีกทั้งเป็นสื่อให้เห็นถึงพลังความรักความสามัคคีความร่วมแรงร่วมใจของคนท้องถิ่นมากขึ้น
นายทวี คำมีมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.บ้านยาง กล่าวว่า สำนักฆ์สงฆ์นาโภนทอง หมู่ 1 ต.บ้านยาง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก มีพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน มีหลวงพ่อเสวก ได้สร้างก่อสร้างสำนักสงฆ์ และอนุรักษ์ไว้ มีการขุดพบเครื่องถ้วย ชาม สังคโลกยุคสมัยสุโขทัย โดยชาวบ้านแทบนี้ทำนา ก็พบบ่อยพบเจอเก็บตามบ้านก็มาก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอารยธรรมที่ตั้งชุมชนนี้เป็นที่ตั้งรกรากโบราณ ในอดีตอายุกว่า 800 ปี ส่วนบ่อเกลือแหล่งนี้น่าจะมีอายุกว่าพันปี ที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากการใช้เกลือ โดยนำน้ำเกลือมาต้มเคี่ยวเพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงกำลังพล นับเป็นยุทธปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่การเล่าขานจากตระกูลเก่าแก่ในเขตพื้นที่ ตระกูลศรีชาวนา ตระกูลมีศรี ตระกูลจันทะคุณ ตามประวัติเล่าขานว่าเป็นนามสกุลพระราชทานจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เพราะจากประวัติการเล่าขาน ของคนเก่าแก่ว่าชุนชนนี้เป็นที่ตั้งนี้เป็นจุดรวมพลที่ 11 เพื่อส่งกำลังไปสู้รบกอลกู้เอกราชคืนจากขอม เมื่อ 1,030 กว่าปี โดยนำเกลือมาใช้ประโยชน์ด้านสเบียงอาหาร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก กล่าวว่า สำหรับการพบแหล่งเกลือโบราณ ที่ จ.พิษณุโลก มีพบ 5 แหล่ง ประกอบด้วย แหล่งเกลือบ่อภาค อ.ชาติตระการ อ.นครไทย 2 แหล่ง คือ ที่บ้านขุมคัน และบ้านบ่อโพธิ์ ที่ 4 บ้านชมพู อ.เนินมะปราง และที่ 5 ที่บ้านนาขาม อ.วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้เมืองพิษณุโลก มากที่สุด โดยบ่อเกลือแห่งนี้ หายไปจากชุมชนมากกว่า 90 ปี สอบถามผู้สูงอายุที่เคยเกี่ยวข้อกับการต้มเกลือในพื้นที่ สำหรับการพัฒนาบ่อเกลือชาวบ้านจะร่วมกันอนุรักษ์เป็นมรดกทางภูมิปัญญา เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยเริ่มเมื่อปี 2563 และกำหนดจัดพิธีกรรม ในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ทำกิจกรรม พิธีบวงสรวง พิธีเบิกบ่อเกลือ พิธีปั้นเตาต้มเกลือ พิธีขอขมาเจ้าพ่อบ่อเกลือ และการสาธิตการต้มเกลือโบราณ ส่วนเกลือที่ได้จะนำมาพัฒนาทำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้คนท้องถิ่น
ด้าน นางสุวิมล เกตุศรีบุรินท์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า บ่อเกลือแห่งนี้มีพบอยู่แล้ว 2-3 บ่อ แต่ได้กลบไป เหลือเพียงบ่อแห่งนี้ ที่กำลังพัฒนาทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งในอนาคตทางกรมศิลปากรก็จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้ง 5 บ่อ ของจังหวัดพิษณุโลก พร้อมกับบ่อเกลือที่ จ.น่าน สำหรับคุณภาพบ่อเกลือ ขณะนี้ยังไม่มีการนำไปพิสูจน์คุณสมบัติอย่างไร แต่ชาวบ้านได้นำเกลือ ส่งไปยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ เพื่อทำผลิตภัณฑ์สปา แล้ว ซึ่งต่อไปทางวัฒนาธรรมก็จะนำผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมต่อไป