วันที่ 29 ตุลาคม 2563 ที่ห้องประชุมมหาราชศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก นาย พีรเดช คำสมุทร โฆษกคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฏร เป็นประธานการประชุม ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสี่แยกอินโดจีน เพื่อขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคเหนือตอนล่าง 1 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม ส.ส.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมการผลักดัน รับฟัง ศักยภาพ ปัญหา อุปสรรค แนวทางขับเคลื่อน และการแสดงความคิดเห็น ในการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคเหนือตอนล่าง 1
นาย พีรเดช คำสมุทร โฆษกคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศ มีการขยายตัวมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในลักษณะของเขตเศรษฐกิจพิเศษนับเป็นแนวทางพัฒนาที่มีการศึกษาและกล่าวกันถึง กันมานานการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัดได้แก่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัยและอุตรดิตถ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ LIMEC หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย เป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic corridor หรือ EEC ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ ชาติ ภายใต้ Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกให้กลายเป็น World Class Economic Zone เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลที่จะใช้กลไกในการพลิก พื้นฐานสภาวะเศรษฐกิจของชาติ
การจัด ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนของประเทศไทย โดยกำหนดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใส่ในแผนปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงระเบียงการขนส่งให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค อาเซียนลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและ เสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่บริเวณชายแดนโดยผลักดันจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เป็นศูนย์กลางบริการสี่แยกอินโดจีน เชื่อมโยงเศรษฐกิจสังคมและบริการของภูมิภาคสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยการขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างเป็นขั้นตอนอีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่จะใช้ประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษและเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุ ภูมิภาค รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพทางการตลาดสูงมาก อย่างไรก็ดีการสร้างรายได้และเพิ่มอาชีพให้แก่ประชาชนยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยการพัฒนาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปประเทศด้าน เศรษฐกิจโดยมุ่งให้เกิดการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเกิดการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจฐานราก เน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนในปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านและปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดนจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งในอันที่จะต้องเร่งดำเนินการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ เป็นอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองความมั่นคงและพัฒนาทางเทคโนโลยีให้จุดเชื่อมการค้าสำคัญ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
//////////////