วันนี้ (22 กันยายน 2563) นายณรงค์ บ่วงรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 11 พิษณุโลก เปิดเผย กรณี ชุมชนซอยสีฟ้าต่อต้าน นายทุนดัดแปลงชั้นบนเป็นที่อยู่ให้นกนางแอ่น พักอาศัยแหล่งขยายพันธุ์ ก่อมลภาระทั้งเสียง ความสะอาด หวั่นโรคระบาดนั้น ตรวจสอบแล้วว่า เป็นนกนางแอ่นกินรัง ตะโพกขาว ก็เป็นสัตว์ป่าคุ้ม ครอง ปัจจุบัน นกนางแอ่น มีกระจายไปทั่ว สามารถบินจากใต้สู่ภาคเหนือกลาง ไปถึงภาคเหนือ หรือ จ.ลำปาง แล้ว ซึ่งก็เหมือนนกปากห่างก็บินไปทั่ว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของภูมอากาศและแหล่งอาหาร
นกอีแอ่นหรือนกแอ่นกินรังในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1.นกอีแอ่น หรือนกแอ่นกินรัง หรือนกแอ่นกินรังตะโพกขาว เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 862 ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535ประกอบมาตรา 116 ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ชนิดนี้ เป็นที่นิยมกินรังและขอสัมปทานในธรรมชาติ ตาม พรบ.อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ.2540
2.นกแอ่นหางสี่เหลี่ยม หรือนกแอ่นรัง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่876 ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เป็น ส่วนรังนกชนิดนี้ ไม่นิยมบริโภค
มาตรา 14 วรรคสอง “ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ 116 ตาม พรบ.สงวนป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นรังของสัตว์ป่าคุ้มครองตามชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและโดยได้รับใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีผู้ที่มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยถูกต้องตาม พรบ. นี้” มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 14 วรรคสาม “ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเก็บรังนก ตามกฎ หมายว่าด้วยอากรรังนกอีแอ่น และผู้ที่อาศัยอำนาจของผู้รับอนุญาตดังกล่าว แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ” *** วรรคนี้ เฉพาะกฎหมายว่าด้วยอากรรังนกอีแอ่น เท่านั้น
มาตรา 14 วรรคสี่ “คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่ง รอการเห็นชอบของคณะกรรมการฯ” กรณี วรรคนี้ ระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างๆ กรมอุทยานฯ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเตรียมออกกฎหมายลูกออกมารองรับ คาดว่า จะรออีกไม่นาน
นายณรงค์ บ่วงรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 11 พิษณุโลก ย้ำว่า กำลังพิจารณากฎหมายลูก เพื่อรองรับผู้ประกอบการเลี้ยงนกนางแอ่นอย่างถูกต้องควบคุมดูแล เร็วๆนี้ แต่ช่วงนี้ จะต้องดำเนินการกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปก่อน ซึ่ง พิจารณา พรบ.คุ้มครองสัตว์ป่า ข้างต้น ยังไม่ครบองค์ประกอบกระทำผิด จะต้องจับกุมขณะเก็บรังนกก่อน สำหรับกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ทุกวันนี้ ต้อง ใช้เทศบัญญัติ ของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเหตุการณ์ที่ซอยสีฟ้านั้น เทศบาลนครพิษณุโลกได้เตรียมนัดหมายเจ้าของตึกอาคารพาณิชย์ ให้มาพบและแก้ไข กรณีกลิ่น ในวันพรุ่งนี้ 23 กันยายน 63 ที่เทศบาลนครพิษณุโลก หากยังมีการฝ่าฝืน ไม่ยอมแก้ไขก็ดำเนินการกฎหมายต่อไป