“โรงเรียนผู้สูงอายุ ติดอาวุธทางปัญญาให้สูงวัย พร้อมรับมือวิกฤติ”

เมื่อสถานการณ์โควิดได้ทำให้ทุกภาคส่วนต้องเตรียมพร้อมในการรับมือ และถึงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่เริ่มยอมรับได้  แต่ระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่   และยังรอคอยการฟื้นตัวนั้นยังคงไม่มีคำตอบในเรื่องเวลาที่ชัดเจน   ด้วยสถิติผู้ว่างงานนับล้านคนที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น   ในบรรดาผู้ว่างงานเหล่านี้ ต้องใช้คนทำงาน   จำนวน  4  คน  ในการดูแลผู้สูงวัย  1  คน  เพื่อจะดูแลชีวิตผู้สูงอายุให้มีคุณภาพได้  หากแรงงานหนุ่มสาวยังไม่สามารถจัดการปัญหาเศรษฐกิจของตนได้ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้สูงวัยโดยตรง    มาตรการสวัสดิการเบี้ยยังชีพของผู้สูงวัย  ตั้งแต่ 600 – 1,000  บาทของผู้สูงอายุจึงดูมีความหมายมากในเวลานี้   เพราะสวัสดิการดังกล่าวจะเป็นกระสุนดินดำให้ผู้สูงอายุได้มีเก็บออม  และปัจจุบันแนวโน้มของผู้สูงอายุที่ต้องออกมาทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ   โดยเฉพาะสถานการณ์เช่นนี้   ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)  ซึ่งแน่นอนว่าแนวโน้มของผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คาดการณ์กันว่า ในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 26.3% ของประชากรทั้งหมด มากไปกว่านั้นคือในปี 2583 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึง 32.1% หรือราวๆ 20.5 ล้านคน

แสดงจำนวนผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆในจังหวัดพิษณุโลก   (ขอขอบคุณภาพ สำนักงานสถิติจังหวัดพิษณุโลก)
ข้อมูล
แสดงร้อยละของประชากรผู้สูงอายุ จาแนกตามช่วงวัย พ.ศ.2561 ของจังหวัดพิษณุโลก (ขอขอบคุณภาพ สำนักงานสถิติจังหวัดพิษณุโลก)

สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยตัวเลขประชากรผู้สูงวัย ในขณะนี้ในประเทศไทยมีประชากรราว 66  ล้านคน ในนี้มี ผู้สูงอายุกว่า ราว 10 เปอร์เซ็นต์หรือกว่า ล้านคน  ในส่วนของจังหวัดพิษณุโลกนั้น ระหว่าง พ.ศ.2556 – 2561 จังหวัดพิษณุโลกมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยปีพ.ศ. 2556 มีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 124,906 คน เพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 152,935 คน ในปีพ.ศ.2561 มีอัตราที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.44 หากพิจารณา ร้อยละของผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี พ.ศ.2556 – 2561 พบว่า ร้อยละผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 14.6 ในปี พ.ศ.2556  เป็นร้อยละ 17.6 ในปี 2561  ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงสถิติ  3  อำเภอหลัก ที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดอันดับ 1  คือ อำเภอเมืองพิษณุโลกมีผู้สูงอายุ  50,932  คน ร้อยละ 5.9  คน  อันดับสองคือ อำเภอวังทอง   มีจานวนผู้สูงอายุ 20,508 คน ร้อยละ 2.4  คน  และอันดับสาม อำเภอพรหมพิราม  17,676 คน  หรือร้อยละ 2

การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่กำลังมาแรงในวันนี้ดูจะไม้พ้น  กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ  อย่าง เช่น ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข จ.พิษณุโลก ได้จัดโครงการ  “โรงเรียนร่มสมอวิทยา”  ซึ่งเป็นโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเริ่มมาตั้งแต่ปี  2559  (10 พ.ค.2559)  ซึ่งได้ดำเนินการมาร่วม  5 ปี  ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้สูงอายุ นับร้อยคนได้ผ่านหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุผู้สูงอายุ  โดยสามารถนำความรู้ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปดูแลตนเอง และสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุด้วยกันได้  โรงเรียนผู้สูงอายุไม่ใช่เพียงให้แค่การศึกษาความรู้สำหรับผู้สูงวัย  เท่านั้น  หากแต่เป็นการเปิดปรากฏการณ์ทางสังคมให้ผู้สูงวัยได้พบปะ แลกเปลี่ยนมีกิจกรรมทางสังคม การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น  ในวันที่ ประเทศกำลังมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น  โรงเรียนผู้สูงอายุอาจเป็นคำตอบที่ทำให้  ลูกหลานชาวพิษณุโลกควรให้ความสำคัญ และเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้เข้ามาร่วมกิจกรรม

นางทองม้วน พันธุรี นายก อบต.สมอแข กล่าวว่า โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสมอแข เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากแนวโน้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของตำบลสมอแข ที่เริ่มปรากฏขึ้นในชุมชน จำนวนผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว เริ่มส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้สูงอายุด้วยกัน

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มการพัฒนาทักษะ การศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ หรือกิจกรรมเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจ ก่อประโยชน์ด้านสุขภาพ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงเจ็บป่วย ลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น ช่วยให้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระชวย สดชื่น พบปะพูดคุยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้เหมาะสมตามวัย โดยมีวิทยากรจิตอาสา ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ และปราชญ์ชาวบ้าน มาถ่ายทอดให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุในชุมชนตามวิสัยทัศน์ “เรียนรู้อย่างมีคุณค่า สูงวัยอย่างสง่า สุขภาพดี วิถีพอเพียง ถ่ายทอดประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถผ่านสถานการณ์วิกฤติมาได้ด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ  โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ และที่ต้องไม่ลืมคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แนวหน้าที่เข้าปะทะ ด่านแรกคัดกรองที่ละเอียดและรวดเร็ว  งานเตรียมผู้สูงอายุก็ดูเหมือนเป็นงานเตรียมการณ์ระดับชาติที่น้ำหนักไม่ต่างกัน หากแต่ปริมาณผู้สูงอายุหลายสิบล้านจะมีคุณภาพแค่ไหน อาจมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ต้องสนับสนุน ภายใต้โรงเรียนผู้สูงอายุแห่งชาติที่ควรจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั่วประเทศ โดยชุมชนและท้องถิ่นทั้งหลาย

 

////////

ขอบคุณภาพจาก ปชส. อบต.สมอแข

“กองบรรณาธิการพิษณุโลกฮอตนิวส์”

 

 

แสดงความคิดเห็น