สิ่งที่ยืนยันคำพูดนี้ได้ดีคือ งานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่าน “Prof.Banerjee, Prof.Duflo และ Prof.Kremer เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2562 ท่านเชื่อว่า “คำตอบของปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำอยู่ในพื้นที่” และหนทางสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำสามารถใช้ได้ผลจริงในพื้นที่และขยายออกไปสู่ระดับประเทศได้ เริ่มจากทุกคนในท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญ
นี่จึงเป็นที่มาของการดึงท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้วยการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการศึกษา (อสม.การศึกษา) และการสร้างนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มองเห็นว่า การสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่จะช่วยขจัดปัญหาความยากจนออกจากพื้นที่ได้ และสามารถขยายไปสู่ชุมชนอื่นๆในประเทศไทยต่อไปได้ด้วย
แนวคิดนี้ทำให้คนทุกคนในชุมชนล้วนเป็นคนสำคัญ ฉะนั้น การอาศัยพลังของคนในพื้นที่ในการส่งเสริมเครือข่ายอาสาสมัครด้านการศึกษา หรือ อสม.การศึกษา จะช่วยเฝ้าระวัง ช่วยเหลือครอบครัวเด็กยากจนด้อยโอกาสและเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ โมเดลนี้คือบทเรียนความสำเร็จในการทำงานของ อสม. ด้านสาธารณสุข จากการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิดที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างดี เมื่อท้องถิ่นเป็นหูเป็นตา
ในอนาคตอันใกล้นี้ กสศ. พร้อมสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย อสม.การศึกษา โดยใช้นวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE ในรูปแบบ Mobile Application เพื่อสนับสนุนการทำงานของ อสม.การศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้อง ทำการค้นหาเป้าหมาย ค้นหาพื้นที่ที่จะทำงาน ระบุตัวตนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นพิเศษ ภายใต้สถานการณ์ โควิด 19 ที่พวกเราทุกคนกำลังเผชิญร่วมกัน
iSEE มีระบบการเฝ้าติดตามเด็กนักเรียนในกลุ่มเสี่ยง และการทำงานร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐ และประชาสังคมในพื้นที่เครือข่าย ส่งเสริมชุมชนและครอบครัวให้มีขีดความสามารถในการสนับสนุนโรงเรียนในการเฝ้าระวังช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่ยากจนด้อยโอกาสและเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษมิให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา เครือข่ายแกนนำทั่วประเทศ สามารถเข้าไปที่เวปไซด์ กสศ. พร้อมลงทะเบียนภายในวันที่ 19 มิ.ย. เพื่อทดลองใช้ iSEE 2.0 workshop On line ในวันที่ 24 มิ.ย. 2563นี้ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้เลย ท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่สำคัญอย่างยิ่ง เราทุกคนต้องร่วมมือรวมใจกัน
//////////////