บชร.3 เตรียมความพร้อมช่วยผู้ป่วยเจ็บทางอากาศ ฮ. แบบ ฮ.ท.72เอ(LAKOTA)

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.63 ณ ลานเอนกประสงค์ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อ.เมืองพิษณุโลก  พลตรี กิตติพงษ์  แจ่มสุวรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 เป็นประธานในพิธีตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมของกองร้อยช่วยเหลือประชาชน พร้อมการสาธิตการปฏิบัติ ตรวจสภาพความพร้อมของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ และ ให้แนวทางข้อเน้นย้ำในการปฏิบัติที่ปลอดภัยในส่วนของกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นพื้นที่ การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าภูเขา และมีแม่น้ำหลายสายมาบรรจบกัน อีกทั้งไม่มีเขื่อนกักเก็บน้ำ สายหลัก มีชุมชนอยู่อาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น รวมทั้งมีส่วนราชการขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นเพื่อการเตรียมการตั้งแต่เนิ่น ในการช่วยเหลือประชาชน ก่อนที่ภัย จะลุกลาม จนเกิดเป็นปัญหาใหญ่โตและสามารถแก้ไขปัญหาในขั้นต้นได้อย่างทันท่วงทีส่วนการส่งกลับทางอากาศ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บทั้งในยามสงครามและยามปกติ ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถนำส่งผู้ป่วยเจ็บที่มีอาการรุนแรงหรือที่มีความจำเป็นต้องส่งกลับเพื่อการรักษาได้รวดเร็วที่สุด กว่าการส่งกลับด้วยวิธีอื่นๆ โดยจะนำส่งผู้ป่วยเจ็บไปยังหน่วยพยาบาลที่มีขีดความสามารถในเขตหลัง หรือ โรงพยาบาลใกล้เคียง จากพื้นที่ปฏิบัติการยุทธศาสตร์หรือพื้นที่ภัยพิบัติที่ไม่สามารถส่งกลับทางพื้นดินได้ เช่น พื้นที่ถูกตัดขาด การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบนอาคารสูง หรือ ผู้ป่วยเจ็บที่ต้องการเวลาในการรักษาอย่างรวดเร็วซึ่งการส่งกลับทางอากาศ ต้องมีการประสานการปฏิบัติระหว่างทีมรักษาพยาบาลที่จะนำผู้ป่วยขึ้นยังบนอากาศยาน กับ ทีมควบคุมอากาศยานเป็นอย่างดี จักต้องมีการซักซ้อมการปฏิบัติย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเรียนรู้หลักนิรภัยการบิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อทีมควบคุมอากาศยาน ทีมรักษาพยาบาลและตัวผู้ป่วย และเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ตัวอากาศยาน ทั้งนี้ต้องรับทราบข้อมูลเบื้องต้นถึงอากาศยานนั้นๆ ที่จะใช้ทำการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ ซึ่ง ทบ.ไทย มีอากาศยานที่ใช้ในภารกิจส่งกลับผู้ป่วยเจ็บทางอากาศหลายประเภท และมีขีดความสามารถที่แตกต่างกันไปส่วนการแสดงสาธิตในครั้งนี้ เป็นการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บจากชุดส่งกลับ ด้วยรถยนต์พยาบาล ซึ่งจัดจาก พัน.สร.23 บชร.3 ประกอบด้วย นายทหารพยาบาล เป็น หน.ชุด จำนวน 1 นาย ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเจ็บระหว่างส่งกลับ นายสิบพยาบาล 1 นาย ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ และ พลเปล 4 นาย ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บด้วยเปล ในการปฏิบัติโดยขั้นต้น ได้ประสานขอทำการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บเร่งด่วนทางอากาศ ซึ่งในการปฏิบัติได้รับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์แบบทั่วไป 72 เอ(LAKOTA) จาก หน่วยบินทหารบกยุทธวิธีที่ 3 อากาศยานชนิดนี้สามารถบรรทุกผู้ป่วยเจ็บได้ 1 เปล โดยจัดเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยบนอากาศยาน 2 นาย พร้อมชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กรมแพทย์ทหารบกได้จัดหาและพัฒนาให้หน่วยสายแพทย์ได้ใช้ในภารกิจส่งกลับทางอากาศ ประกอบด้วย เครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดสัญญาณชีพ เครื่องให้สารน้ำอัตโนมัติในการปฏิบัติครั้งนี้จะทำการสาธิต 3 ขั้นตอน ได้แก่ การนำผู้ป่วยเจ็บจากรถยนต์พยาบาลไปยังอากาศยาน การดูแลผู้ป่วยเจ็บระหว่างลำเลียงทางอากาศ และการนำผู้ป่วยเจ็บลงจากอากาศยานไปยังรถยนต์พยาบาลเพื่อนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอน ต้องมีการประสานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการผู้ป่วยเจ็บ การรักษาที่ให้ขั้นต้น และข้อจำกัดในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ระหว่าง ทีมรักษา ทีมควบคุมอากาศยาน และทีมรับผู้ป่วยปลายทาง เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเตรียมแผนการรับผู้ป่วยไว้รักษา และเตรียมแผนเผชิญเหตุกรณีผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่งกลับได้ทันเวลา

แสดงความคิดเห็น