เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 63 ที่ศาลปกครองจังหวัดพิษณุโลก นายศรัทธา เสมามิ่ง ทนายความ ได้รับมอบอำนาจจากนายวีระเมธ ชามพูนท นายเจริญ เฉลิมวิสุตย์คุณนายวีระพล เตชะสถิตย์กุล นายสุทัศน์ โพธิ์ทองและนางสาวโสภา วชิรพงศ์ และนำรายชื่อผู้คัดค้านกว่า 400 คน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลก ขอฟ้องจังหวัดพิษณุโลก โดยนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 1 กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และแขวงทางหลวงพิษณุโลก ที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
เพื่อคัดค้านการก่อสร้างอุโมงค์จุดกลับรถ ทางหลวงหมายเลข 126 ตอนควบคุม 0101ตอนถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ ที่ กม. 1 + 070 ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 34,703,000 บาท
โดยนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการก่อสร้าง ในฐานะประธานกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 โดยอ้างดำเนินตามแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ ยกระดับโครงข่ายคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงการคมนาคมจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 นอกจากนั้นยังอ้างเพื่อประโยชน์กับนักเรียน โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม (พ พ.)ในการข้ามไป-มา สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 แขวงการทางพิษณุโลกที่ 1 ได้เชิญครูนักเรียน เจ้าหน้าที่ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม(พ.พ.) ประชาชน และนักธุรกิจย่านบริเวณดังกล่าว ที่หอประชุม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม (พ พ.) เสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมออกแบบและสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนและนักเรียนในโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม( พ.พ.)ไปแล้ว อุโมงค์ลอดที่ กม.0+800 นักเรียนล้วนเห็นด้วย เพราะ สามารถขับรถจักรยานยนต์ออกจากโรงเรียนมุดข้ามถนนไปอีกฝั่งทันที และแขวงการทางพิษณุโลกที่ 1 ออกแบบการก่อสร้างแบบที่ 1 ได้มีเผยแพร่โบว์ชัวร์แจกจ่ายให้สาธารณชนรับทราบไปแล้วอย่างกว้างขวาง
ต่อมา แขวงการทางพิษณุโลกที่ 1 ได้ออกประกาศหนังสือเชิญประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 24 มีนาคม 2563 ณ หอประชุมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม แต่ยกเลิกถูกยก
จนกระทั่งวันที่ 29 มีนาคม 2563 เฟซบุ๊กของแขวงการทางพิษณุโลกที่ 1 ได้มีการเผยแพร่ รูปแบบการก่อสร้างอุโมงค์จุดกลับรถแบบที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการย้ายจุด จอดเดิม ที่ กม 0 + 800 มาที่ กม 1 + 070 ซึ่งเลยจากจุดเดิมหน้าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ที่เคยออกแบบไปอีกประมาณ 270 เมตร โดยไม่ได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นตามที่เคยกำหนดและยกเลิกไปแต่อย่างใด ที่กำหนดไว้วันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ แขวงการทางพิษณุโลกที่ 1 ได้ออกแบบประชาพิจารณ์สอบถามผ่านเฟซบุ๊ก และมีผู้แสดงความคิดเข้ามาเพียง 228 คน และเห็นด้วยกับรูปแบบดังกล่าว 220 คน ไม่เห็น ด้วย 8 คน
รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนใหญ่ ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป ไม่ทราบว่ามีการประชาพิจารณ์ผ่านเฟซบุ๊ก จึงมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นเพียง 228 คน เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การย้ายจุดสร้างอุโมงค์ไม่ตรงกับหน้าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตามที่ออกแบบตามเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งจะสร้างความลำบากยุ่งยากในการยูเทิร์น(U-TURN)ตามรูปแบบและรายการก่อสร้าง จะทำให้นักเรียนขับรถกลับไป-มา ก่อนเข้าปากทางโรงเรียนมีระยะทางถึง 560 เมตร ก่อนที่ขับขี่จะเข้าตัวเมือง อีกทั้งใช้ได้เพียงรถจักรยานยนต์ รถเก๋ง รถกระบะเท่านั้น
ที่ผ่านมามานักเรียนโรงเรียนพิษณุโลก และประชาชนที่พักอาศัยย่านบริเวณดังกล่าว ได้เข้าชื่อกว่า 400 คน โดยมีนายวีระเมธ ชามพูนท อดีตประธานสภาจังหวัดพิษณุโลกและน้องนายสุชน ชามพูนท อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีต ส.ส.พิษณุโลก ได้เดินทางยื่นหนังสือคัดค้านการย้ายจุดก่อสร้างอุโมงค์กลับรถ ให้กับนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกพร้อมกับยื่นหนังสือ ให้กับสำนักงานทางหลวงที่ 5 (พิษณุโลก) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ 10 (สตง.) พิษณุโลก อธิบดีกรมทางหลวง แล อธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจจะมีความไม่โปร่งใสอยู่เบื้องหลัง