การแยกขยะกับการยกฐานะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าในชุมชน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ที่โรงแรมโมราจ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายเรืองชัย สงสำเภา ผู้อำนวยการ ฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 2 (พิษณุโลก) เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น ต่อพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (Waste Side Story) ครั้งที่ 2 โดยมีสื่อมวลชนจาก 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยจังหวัด พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร กว่า 60 คน เข้าร่วมอบรม พร้อมกันนี้ได้มีการเยี่ยมชม บริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (AVA) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 4 เมกะวัตต์ (MW)

นายเรืองชัย สงสำเภา ผู้อำนวยการ ฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 2 (พิษณุโลก) กล่าวว่า ทางศูนย์ข่าวพลังงานหรือ Energy News Center ได้กำหนดจัดกิจกรรม ภายใต้โครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความรู้ความเข้าใจในข้อมูลเบื้องลึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ปลูกจิตสำนึกทัศนคติที่ดีด้านการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการใช้พลังงานสะอาดและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นในการร่วมกันผลิต Content อย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าจากขยะสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดตาก และจังหวัดกำแพงเพชร ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในรูปการจับกลุ่มสร้างเครือข่ายและขยายผลองค์ความรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ให้มีทัศนคติที่ดีแบะเกิดการยอมรับในโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะ ตามนโยบายของภาครัฐ

นายศุภวัฒน์ คุณวรวินิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (AVA) เปิดเผยว่า บริษัทเอวาแกรนด์เอ็นเนอร์ยี่จำกัด เช่าพื้นที่นิคมพิจิตร จำนวน 30 ไร่ ตั้งโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ประเภทโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าขยะแบบ RDF ประเภทเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมโรงงานไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม 6 ประเภทซึ่งประกอบด้วยวัสดุเหลือใช้เหลือทิ้ง เช่น เศษกระดาษ เศษไม้ เศษผ้า เศษพลาสติก เศษหนัง เศษยาง ขยะอุตสาหกรรม หรือขยะอบแห้งที่ไม่มีกลิ่นมาจากจังหวัดสระบุรี มาผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต 4 เมกประวัติ โดยประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ โรงไฟฟ้าขยะ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ฝึกงานของนิสิต และบุคคลทั่วไป เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด พัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากขยะจากชุมชน ที่บรรจุเอาไว้ในแผนพีดีพี 2018 ฉบับล่าสุด กว่า 500 กิโลวัตต์ ภายในปี 2583 จึงเป็นที่มาของการนำเสนอโครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของสื่อมวลชนท้องถิ่น เกี่ยวกับเรื่องของการแปรสภาพขยะ ที่เป็นสิ่งปฏิกูลในชุมชน ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่สร้างคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในมิติของการทดแทนการนำเข้าพลังงาน และมิติของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ในที่สุด

////

#wastesidestory
#wastestetoenergy
#พลังงานไฟฟ้าจากขยะ

แสดงความคิดเห็น