เสวนาขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมในวิกฤติ Disruption World

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมสิริราชภัฎ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทร์) จ.พิษณุโลก นายธีรวัฒน์ เหล่าสมบัติ นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม และพล.ท.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดแถลงข่าวโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ระยะที่ 2 ตามโครงการพันธมิตรและการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมในวิกฤติ Disruption World


โดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านองค์กรเพื่อสังคม ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตหรือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม มีผลกระทบในระดับชุมชนหรือส่งผกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นกลยุทธใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในการนำนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาสังคมโดยเป็นกระบวนการเครื่องมือ การดำเนินงาน ทำให้สังคมดีขึ้นและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมโดยไม่จำกัดขอบเขต หรือความหมายในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ


ผศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม กล่าวว่าทาง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์มหาชน)(สนช.)จึงได้ดำเนินการเปิดตัวยุทธศาสตร์ใหม่ด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมพร้อมกลไกสนับสนุนที่มุ่งสร้าง และพัฒนายกระดับธุรกิจนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมสิ่งแวดล้อมประชาชนและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ซึ่งใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยมีเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินโครงการร่วมกว่า 10 เครือข่าย เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและขยายผลการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในเชิงสังคมอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของรัฐบาล ซึ่งนอกจากนี้ สนช. ยังได้กำหนดเป้หมายของการพัฒนา โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม คือ “การสร้าง Socia Economy ด้วย Sociat Innovation” ในปี 2560 คือ ปีแห่งการสร้าง Social Innovation Platform ปี 2561 คือ ปีแห่งการสนับสนุนนวัตกรรมตาม Soca Issue-based ปี 2562 คือ ปีแห่งการยกระดับการขยายผลนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2563 คือ ปีแห่งการเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสังคม


นายธีรวัฒน์ เหล่าสมบัติ นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การดำเนินงานของ สนช. ด้าน Socal innovation นั้น จะให้ความสำคัญต่อประเด็นการพัฒนาทางสังคม และสาขาธุรกิจสังคม (social business sector) ที่สร้างความสามารถทางนวัตกรรมของสังคม ลดความเหลื่อมล้ำซึ่งจะครอบคลุมทั้งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมและการสร้างครือข่ายนวัตกรรมเชิงสังคม โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการให้ประโยชน์หรือสาธิตนำร่องผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการที่เพิ่มมูลค่า เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความทั่วถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้นในประเด็นนวัตกรรมเชิงสังคม 9 ด้าน คือ 1.ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. ด้านความเชื่อมโยงระหว่างอาหารน้ำและพลังงาน 3. ด้านการศึกษา 4.ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม 5.ด้านเกษตรกรมยั่งยืน 6.ค้นความเป็นเมือง 7.ด้านสุขภาพ 8.ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมและ 9.ด้านการจัดการภัยพิบัติผ่านกลไกการสนับสนุนของ สนช. ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ อาทิ ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม การแปลงเทคโนโลยีเป็น นวัตกรรมดี…ไม่มีดอกเบี้ย คูปองวิทย์เพื่อ OTO การประกวดแผนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม Sociat Innovation Driving Unit Research and Innovation fund for Small scale Enterprise (RISE) Innovation Diffusion และความร่วมมือประชารัฐนอกจากนี้ยังเป็นการสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม รวมถึงแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ระหว่างชุมชนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม หน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานสนับสนุนเงินทุนทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อันจะมีส่วนผลักดันธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป.

นายธีรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โครงการนี้ได้เริ่มมากว่า 2 ปีแล้ว ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้คิดค้นทางสังคมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีความพยายามในการดึงดูดให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากโซเซียล เพราะทุกวันนี้หลายคนนำไปใช้ บนมือถือนานกว่า 9 ชม. ซึ่งจะทำอย่างให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากโซเซียลได้ดียิ่งขึ้น โดยหน่วยงานหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน มีเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมด้านสังคม โดยการบ่มเพาะเพื่อมุ่งมั่นเสริมสมรรถนะ ยกระดับ และพัฒนาขีดความสามาทรถ พัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบ สามารถจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม และหยั่งยืนด้วยตนเอง

////////////

แสดงความคิดเห็น