รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ภัยแล้ง 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พร้อมสั่งผู้ว่าบูรณาการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำเร่งด่วนพร้อมเดินหน้าโครงการบางระกำโมเดลต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 หลังประสบความสำเร็จเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นผลผลิตไม่เสียหายรถปัญหาน้ำท่วมเขตเมืองและลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตรียมขุดอีก 8 โครงการสำหรับพื้นที่ภาคเหนือในปี 63
เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 3 เมษายน 2562 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสมเกียรติ ประจำวงษ์เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานและคณะ เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เพื่อประชุม และติดตามสถานการณ์ภัยแล้งการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง หรือ ภาคกลางตอนบน ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร และ นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานโครงการปรับการเพาะปลูกข้าวทุ่งบางระกำ โครงการบางระกำโมเดล 62
โดยเบื้องต้น รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงจะขาดแคลนน้ำ ด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำ จากแหล่งน้ำข้างเคียง การขุดเจาะบ่อบาดาล การขุดบ่อน้ำตื้น การขนน้ำ การปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งการตรวจสอบล่าสุดพบว่า จังหวัดพิษณุโลก และ สุโขทัย มีความขาดแคลนน้ำต้นทุน ในการเขตการบริหารของประปาภูมิภาค ( กปภ.) และจังหวัดนครสวรรค์ มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำต้นทุนนอกเขตการบริการของ กปภ. ขณะที่การปรับ การปลูกพืชฤดูแล้งโดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ 5 จังหวัดดังกล่าวได้มีการปลูกเกินแผนที่กำหนดไว้ประมาณ 300,000 ไร่ ซึ่งได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากเกษตรกร ให้ปลูกข้าวตามแผนที่กำหนดไว้และห้ามทำนาปรังรอบ 2 อย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ อาจทำให้การใช้น้ำในภาคส่วนอื่น รวมทั้งยังมีความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าฤดูร้อนจะยาวนานกว่าปกติ มีระยะเวลาถึง 89 วัน และอาจทำให้หลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำได้
หลังจากนั้น คณะของรองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปที่บึงตะเคร็ง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อติดตามโครงการ การปรับการเพาะปลูกข้าวทุ่งบางระกำ หรือบางระกำโมเดล 62 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 โดยโครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการแรกเมื่อปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยาดำเนินการเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวข้าวในให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก เพื่อจะใช้ทุ่งนาที่เกี่ยวข้าวแล้วเป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำ ตัดน้ำส่วนเกินออกจากลำน้ำ ทำให้น้ำไม่เอ่อล้นพื้นที่เข้าเมือง ซึ่งการปลูกข้าวภายใต้โครงการดังกล่าว กรมชลประทานจะส่งน้ำให้เกษตรกรตามช่วงเวลาโดยมีทุ่งรับน้ำ 2 ส่วน สามารถรับน้ำหลากได้ 2,033 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น 1 พื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกรวม 265,000 ไร่ โดยการเริ่มเพาะปลูกในเดือนเมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม ซึ่งสามารถรับ ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ,2 พื้นที่ใต้จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 12 ทุ่ง รวม 1,149,898 ไร่ จะเริ่มการเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน สามารถรับน้ำหลากได้ถึง 1,533 ล้านลูกบาศก์เมตร
หลังจากนั้น พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเครื่องสูบน้ำ จากบึงตะเคร็ง ผันน้ำตามคลองไส้ไก่ ส่งให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางระกำอีกจำนวนกว่า 1 พันไร่
รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่าสำหรับโครงการบางระกำโมเดลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนที่จะเกิดน้ำท่วมน้ำหลาก ช่วยลดความเสียหายมีรายได้ที่แน่นอน และในช่วงนี้มีน้ำเข้าทุ่งสามารถประกอบอาชีพด้านประมงทำให้มีรายได้เสริมที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การพักนาทำให้เกิดการปุ๋ยอินทรีย์อย่างดี ส่งผลให้การปลูกข้าวรอบต่อไปมีต้นทุนการผลิตลดลงเพราะใช้ปุ๋ยน้อยลงลดค่าใช้จ่ายในขณะที่ผลผลิตสูงขึ้นที่โครงการดังกล่าวยังช่วยป้องกันพื้นที่น้ำท่วม โดยบึงตะเคร็งนี้ ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลกต่อไปอีกทั้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำสัตว์น้ำเช่นปลากุ้งมาปล่อยเพื่อสร้างระบบนิเวศอีกด้วย
ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เดินทางไปเปิดคลองส่งน้ำแยงมุม บ้านวังขี้เหล็ก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เพื่อเปิดประตูระบายน้ำส่งน้ำ ให้เกษตรเพาะปลูกข้าวตามโครงการบางระกำโมเดล ต่อไป
//////////////