มน.เจ๋ง วิจัยฟางข้าวเป็นภาชนะชีวภาพ เคลือบพลาสติกน้ำมันมะพร้าว ย่อยสลายง่าย ลดโลกร้อน

ผศ.ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยทีมวิจัย ได้ร่วมกันวิจัย Bio Food Container ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ไม่มีสารเคมีตกค้างและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% ผลิตจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นเยื่อกระดาษจากฟางข้าว (Rice straw paper) ประกบติดกับฟิล์มพอลิแลคติกแอซิดหรือพีแอลเอผสมน้ำมันมะพร้าวด้วยเทคนิคลามิเนต* แผ่นเยื่อกระดาษฟางข้าวสามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษที่มีความหนาได้หลายขนาดและพีแอลเอสามารถขึ้นรูปเป็นฟิล์มบางได้ขนาดประมาณ 10-15 ไมโครเมตร ทำให้สะดวกต่อการนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งขนาด รูปร่าง และความหนาของชิ้นงาน อาทิเช่น กล่อง ถาด ถ้วย จาน ชาม แก้ว กระดาษห่ออาหาร เป็นต้น

ผศ.ดร.ศรารัตน์ กล่าวว่า Bio Food Container เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางด้านอาหารที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100 % และมีการพัฒนาการขึ้นรูปฟิล์มพีแอลเอผสมนามันมะพร้าวที่ปราศจากสารเคมีในการผลิตโดยมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและตรงตามมาตรฐานสากลจึงง่ายต่อการนาไปต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมต่อไป ซึ่งได้มีผู้ผลิตฟิล์มพลาสติกรายใหญ่ของประเทศไทย คือ บริษัท ไทยนาโพลิแพ็ค จากัด ได้ให้ความสนใจที่จะนำเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มพีแอลเอผสมนามันมะพร้าวไปผลิตในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งสหกรณ์บริการและส่งเสริมนวัตกรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร จากัด ก็ให้สนใจที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ Bio Food Container เพื่อจัดจาหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า Bio Food Container เป็นนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพ (start-up) ที่สนใจได้ทันที

จากการรายงานสัดส่วนตลาดบรรจุภัณฑ์ของโลกในปี 2560 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า สัดส่วนของตลาดบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่ที่สุด มีสัดส่วนของตลาดสูงถึง 36% และบรรจุภัณฑ์กระดาษถูกนาไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สาหรับบรรจุอาหารซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุด โดยสัดส่วนสูงถึง 38% จากแนวโน้มตลาด บรรจุภัณฑ์ของโลกคาดว่า จะเกิดขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.9 ในอนาคตจะมีการนาพลาสติกชีวภาพเข้าไปแทนที่พลาสติกทั่วไป

ผศ.ดร.ศรารัตน์ กล่าวอีกว่า ผลงานนี้คิดค้นมากว่า 1 ปีเต็ม ตอบโจทน์การรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำฟางข้าวในนากลับให้มีประโยชน์สูงสุด ไม่ต้องเผาทิ้ง อีกทั้งนำสมุนไพรไทย คือ น้ำมันมะพร้าว ที่สามารถทำให้พลาสติกยึดหยุ่นได้ดี และย่อยสลายได้ง่ายมากกว่าพลาสติกทั่ว ซึ่งจะแตกต่างกับกล่องโฟมพอลิสไตรีน (PS) ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตนามันและปิโตรเลียม เมื่อกล่องโฟมเหล่านี สัมผัสกับอาหารที่มีไขมันจะเกิดการปลดปล่อยสารเคมีจาพวก พอลิสไตรีนและเบนซีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและสามารถเจือปนลงสู่อาหารได้ แต่หากเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ Bio Food Container จะสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องสารเคมีตกค้าง และยังสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาเพียง 45 วัน จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะตามมา โดยผลงานนี้ กำลังดำเนินการส่งคำขอจดสิทธิบัตรในชื่อเรื่อง ฟิล์มพอลิแลคติค แอซิดผสมน้ำมันจากพืชสมุนไพร ต่อไป


////////////////

แสดงความคิดเห็น