เจ้าหน้าที่อุทยานทำความเข้าใจกับประชาชน -หลัง สนช.ผ่านกฎหมายฉบับใหม่

เมื่อวันที่ 9 มี.ค.62 ที่หอประชุม ม.15 บ้านโปร่งพลู ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โดยกรมอุทยานฯ สั่งการให้ นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 11(พิษณุโลก) มีนายประชา ตั้งจิตธรรม ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ นายทักษิณ มงคลรัตน์ หัวหน้าอุทยานทุ่งแสลงหลวง เปิดการประชุมชี้แจงร่างกฎหมายอุทยานฯฉบับใหม่ ที่ได้ผ่าน สนช.ไปแล้ว เตรียมประกาศเป็นกฎหมาย ซึ่งมีชาวบ้าน จาก บ้านท่าข้าม หมู่ 5 , บ้านโปร่งพลู  หมู่ 15 , บ้านแก่งเจริญ หมู่ 18 และ บ้านแสนสุขพัฒนา หมู่ 20 เข้าร่วมรับฟังในครั้งอย่างพร้อมเพรียงสำหรับกฎหมายอุทยานฯฉบับใหม่ เป็นกฎหมายส่งเสริมเจ้าหน้าที่อุทยานดูแลคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในป่า ได้อยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ไม่เกิดการขัดแย้ง รวมทั้งไม่ให้มีการขยายพื้นที่ป่าบุกรุกเพิ่มเติม ให้มีการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน ให้ชุมชนในพื้นที่อุทยานมีความยืดหยุ่น ในการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน มีการรับรองพื้นที่ทำกินของครอบครัวในเขตอุทยานแห่งชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย  และตามมาตรา 42 วรรคสอง ของกฎหมายอุทยานฯฉบับใหม่ ในการเก็บหาของป่า เช่น เก็บเห็ด หน่อไม้ ถ้าเก็บเอาไปค้าเอาไปขายเกิน 2,000 บาท โดยมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท แต่กรมอุทยานฯ ก็จะมีประกาศกระทรวงฯกำหนดเขตให้เก็บของป่า ได้ แต่ถ้าเก็บเพื่อยังชีพ น่าจะไม่มีปัญหาอะไร สามารถทำความตกลงกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ได้ โดยไม่มีปัญหา เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนต่อไปนายประชา ตั้งจิตธรรม ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า เมื่อวันที่  มีนาคม 2562  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติแห่งชาติ ฉบับใหม่ ซึ่งถ้ามีผลบังคับใช้จะมีผลดีกับผู้ที่ถือครองครอบครองใช้ประโยชน์ ในเขตอุทยานฯแห่งชาติ วันนี้ได้ชี้แจง 2 ประเด็น คือหลังประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาจะได้ถูกต้องไม่ผิดกฎหมาย และมีกระแสในสังคมที่ว่า โทษค่อนข้างจะรุ่นแรง การเก็บหาเห็ด หน่อไม้ เป็นการไปอ่านกฎหมายวรรคแรกเท่านั้น จริงๆแล้วการเก็บหาทรัพยากรธรรมชาติทดแทนได้นั้น  กรณีไปเก็บในเขตที่กระทรวงไม่ได้ประกาศให้เก็บได้ ดูว่าน้ำหนักไม่เกินในราคา 2,000 บาท แค่มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทนายประชา ตั้งจิตธรรม กล่าวอีกว่า เมื่อครบ 240 วัน กรมอุทยานแห่งชาติจะเสนอ มีประกาศกระทรวงกำหนดเขต ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถขออนุญาตเข้าไปในพื้นที่เก็บพืชทดแทนได้ เช่น เห็ด หน่อไม้ เป็นต้น จึงได้มาชี้แจงให้ราษฎรในพื้นที่ได้เกิดความเข้าใจ

แสดงความคิดเห็น