กองทัพภาคที่ 3 ประชุมแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ

พิษณุโลก   แม่ทัพภาคที่ 3 ประชุมร่วมผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก 17 จังหวัดภาคเหนือหาแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่กลายเป็นปัญหาสำคัญ

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 5 มีนาคม 2562 ที่สโมสรบันเทิงทัพ กองทัพภาคที่ 3 พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 17 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ และร่วมหาแนวทางป้องกันและปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่างยั่งยืน กองทัพภาคที่ 3 จึงมีกรอบแนวความคิดในการดำเนินการ ดังนี้

  1. SINGLE COMMAND ระบบการ ควบคุม สั่งการ ต้องมีความรวดเร็ว ชัดเจน และดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการสั่งการหลัก ตามระบบ Single Command ต้องลงไปถึงระดับอำเภอ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดทุกกระทรวงต้องให้การสนับสนุน และปฏิบัติตามแผนงานและข้อสั่งการอย่างเต็มกำลังความสามารถ นอกจากนี้ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ฝ่าฝืนจุดไฟในช่วงเวลาห้ามเผา โดยการกำหนดห้วงห้ามเผาควรถูกเสนอในระดับอำเภอ โดยดูจากสถานการณ์แต่ละพื้นที่ พร้อมกับประกาศห้วงห้ามเผาในระดับอำเภอ พร้อมทั้งขยายเครือข่ายจิตอาสา และประชาชน ในการช่วยกันสอดส่องดูแล และแจ้งเหตุในพื้นที่
  2. ใช้หลัก 4 F 1 P (Find Fix Fight Follow) เป็นแนวทางแก้ปัญหา Find : ค้นหาพื้นที่เกิดไฟป่า Fix: จำกัดพื้นที่ไม่ให้ขยายเพิ่มมากขึ้น Fight : ดำเนินการดับไฟป่า อากาศยานทิ้งน้ำดับไฟ, กำลังภาคพื้นดินดับไฟ Follow :  จัดกำลังควบคุมพื้นที่ และมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้นมาอีก พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนด้วยระบบป่าเปียก โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้เกิดน้ำขังอยู่ในพื้นที่ จนทำให้เกิดการแพร่ความชุ่มชื้น  และ Public Mind : จิตสาธารณะ โดยเริ่มจากการที่ตนเองเกิดจิตสำนึกตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากค่าฝุ่นละอองในอากาศ จนขยายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง จนถึงระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ที่จังหวัดเชียงราย เริ่มดำเนินการปลูกจิตสำนึกตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบัน ทำให้ทุกคนมีความสำนึกในการช่วยกันแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างจริงจัง

ดังนั้น กองทัพภาคที่ 3 จึงได้ “จัดการประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ” ขึ้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชน ได้เห็นความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยร่วมกันระดมแนวความคิด ในการปฏิบัติของแต่ละภาคส่วน ให้มี  กรอบแนวทางในการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือไปในทิศทางเดียวกัน และบูรณาการความร่วมมือกัน ในการแก้ไขปัญหาเชิงประจักษ์ รวมทั้งวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเพ่งเล็ง เพื่อจัดกำลังและยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ ของแต่ละหน่วยงาน ให้เกิดความสอดคล้องอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด มากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การความสำเร็จตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมั่นคงและถาวร

 

แสดงความคิดเห็น