ผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศกว่าพั นคนรวมพลที่ภูหินร่องกล้า ร่วมกิจกรรม SMART Camp กับสสส. หวังยกระดับผู้นำชุมชนท้องถิ่ นให้มีขีดความสามารถในการนำทุ กมิติ และน้อมนำศาสตร์พระราชาไปใช้ให้ เป็นชุมชนที่มีสุขภาวะอย่างยั่ งยืน
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 บริเวณลานกิจกรรม ภายในอุทยานแห่งชาติภูหินร่ องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่ นน่าอยู่ โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) สสส. ได้จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์เครื อข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่ าอยู่ หรือ SMART Camp : SMART Network SMART Community โดยมีผู้นำท้องถิ่น อปท. จากทั่วประเทศ ทั้งเทศบาลและอบต.เข้าร่วม โดยในการนี้มีนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี ปลัดจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน
นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุ ขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. กล่าวรายงานว่า กิจกรรมสานสัมพันธ์เครือข่ายร่ วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกระดับผู้ นำชุมชนท้องถิ่นให้มีขี ดความสามารถในการนำการพัฒนาทุ กมิติ และร่วมเป็นพลังของสั งคมไทยในการเสริมสร้างความเข้ มแข็งของชุมชน ทางสำนัก 3 จึงร่วมกับศูนย์วิจัยและพั ฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลั ยขอนแก่น และคณะทำงานกลางของแผนสุขภาวะชุ มชน จัดกิจกรรมนี้ขึ้น โดยมีผู้นำชุมชนท้องถิ่นประมาณ 1,015 คน จาก 127 ตำบล เข้าร่วม
โดยในส่วนของกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ1.เรียนรู้ข้ามพื้นที่ด้วยกิ จกรรมเหย้า-เยือน เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของเพื่อนเครือข่ายที่มาเยี่ ยมเยือนในพื้นที่ต่างๆ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี ของเครือข่ายและพร้อมที่จะช่ วยเหลือกันในยามวิกฤต 2.การสรุปบทเรียนและทบทวนวิธีคิ ด ผ่าน 6 ฐานการเรียนรู้ คือการทำงานเป็นทีม การจัดการเชิงระบบ การสร้างภาวะผู้นำ การสร้างผู้นำในการทำงานแบบมีส่ วนร่วม และการกำหนดวิสัยทัศน์การพั ฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และ3.การบ่มเพาะความเป็นพลเมื องด้วยกิจกรรมอาสาทำดี 6 กิจกรรม เช่นการสร้างจุดคัดแยกขยะ สร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ซ่อมฝาย ซ่อมป้าย ซ่อมสะพาน และเก็บขยะ ในสถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่ของอุทยาน เป็นต้น
ด้านนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี ปลัดจังหวัดพิษณุโลก ประธานเปิดเวทีสานสัมพันธ์ฯ กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อพี่น้ องชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศที่ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาชุ มชนท้องถิ่น อย่างวิกฤติสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ขยะ ถือเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ทุกคนร่ วมกันสร้าง แต่กลับรังเกียจ แม้จะมีการจัดการแล้ว ก็ไม่สามารถนำไปทิ้งที่ไหนได้ ชาวบ้านมักจะไม่ยอมรับ จังหวัดพิษณุโลกจึงมี การประกาศสงครามขยะตั้งแต่ต้ นทาง เพื่อให้ขยะเป็นศูนย์ และถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ จะนำมาแลกเปลี่ยนในเวทีนี้
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภัยพิ บัติ โดยอำเภอนครไทยเป็นพื้นที่ต้นน้ำ เดิมไม่มีปัญหา แต่ภายหลังมักจะเจอน้ำป่ าไหลหลาก สร้างความเสียหาย ขณะเดียวกันปัญหาอุบัติเหตุ จราจร ก็กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก มีผู้เสียชีวิตแต่ละปีเป็ นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นถ้าชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้ นมาจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ ชุมชนท้องถิ่นก็จะน่าอยู่ ประชาชนมีชีวิตยืนยาวคุณภาพชีวิ ตดีขึ้นและสามารถอยู่อย่างมี ความสุข
ทางด้านนายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุ มชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวถึงความคาดหวังจากกิ จกรรมครั้งนี้ว่า ต้องการให้คนมีพลัง ทั้งด้านความคิด และพลังในการที่จะขับเคลื่อนชุ มชนท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการพั ฒนาที่ยั่งยืน และเชื่อมั่นในศาสตร์พระราชา เกิดความมั่นใจ มีความตั้งใจที่จะน้อมนำกลั บไปใช้และพัฒนาในท้องถิ่นของตั วเอง โดยฐานกิจกรรมต่างๆ จะตอบโจทย์ศาสตร์พระราชาทั้งสิ้ น เมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดทักษะกลั บไปทำอย่างมีพลังมากขึ้น
“ต่อไปเราต้องตามไปเยี่ยม ว่าแต่ละท้องถิ่นนำไปใช้อย่างไร และต้องนำกลับมาคุยกัน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปฏิ บัติตามได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าสิ่งที่เราทำมา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในวิ ธีคิด วิธีปฏิบัติ และความเชื่อมั่นในแนวทาง เราถึงได้มาทำกิจกรรมเสริมพลั งกันให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้ นเรื่อยๆ” ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุ มชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าว