เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 62 ลานอเนกประสงค์ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นบริเวณประกอบพิธีสวนสนามกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมประจำปี 2562 ก่อนพิธีอันสำคัญ โดยมีชุดการแสดง สามัคคี มณฑลทหารบกที่ 39 พร้อมการแสดง นาฏลีลามวยไทย จากกองพลพัฒนาที่ 3 และรำกระบี่กระบอง กองกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 และยังมีชุดการแสดง การปฏิบัติทางยุทธวิธีชุดปฏิบัติการหน่วยทหารขนาดเล็ก โดยใช้กำลังพลจากกองพลทหารราบที่ 4พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 ประธานถึงบริเวณพิธี พันเอก กิตติพงษ์ ชื่นใจชน ผู้บังคับกองผสม กองพลทหารราบที่ 4 รายงาน และนำประธานตรวจพลสวนสนาม และรับความเคารพ เชิญธงชัยเฉลิมพลเข้าปะรำพิธี จากนั้นประธานนำกล่าวปฏิญาณตน พร้อมอ่านโอวาทของ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผบ.หน่วยเชิญธงชัยเฉลิมพลกลับเข้าประจำแถว และสวนสนาม ซึ่งมีหน่วยทหารจากค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และกองบิน 46 มี 12 กองพัน รวม 1260 นาย โดยมีข้าราชการทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ บรรจุใหม่เข้ารับปฏิญาณตน จำนวน 51 นาย สำหรับวันกองทัพไทยและวันกองทัพบกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2502 รัฐบาลในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นวันระลึกถึงวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหมและถือเป็นวันที่มีการปรับปรุงการทหารจากการจัดอัตรากำลังแบบโบราณมาเป็นการจัดอัตรากำลังแบบปัจจุบันเป็นวันกองทัพไทย ครั้งเมื่อ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่ากากระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ.2523 ได้ดำริว่า วันกองทัพไทยควรเป็นวันที่มีความสำคัญและมีความหมายยิ่งสำหรับทหารทั้งสามเหล่าทัพ พึงระลึกถึงด้วยความภาคภูมิใจ ปลุกใจให้เกิดความรักและหวงแหนชาติบ้านเมืองและพร้อมที่สละชีวิตและเลือดเนื้อเป็นชาติพลี ตลอดจนส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ทหาร ทั้งเป็นที่ชื่นชมยินดีของปวงชนชาวไทยอีกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ วันที่ 25 มกราคม ซึ่งตรงกับวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2524ในส่วนของกองทัพบก เดิมกำหนดให้วันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่กองทัพไทยฉลองชัยชนะกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส โดยกระทำพิธีสวนสนามรับมอบดินแดนในอินโดจีนที่ จังหวัดพระ-ตะบอง เป็นวันกองทัพบกตั้งแต่ พ.ศ.2485 ต่อมาใน พ.ศ.2494 กองทัพบกได้เสนอขอวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีเป็นวันกองทัพบก ซึ่งผลคำนวณในขณะนั้นตรงกับวันที่ 25 มกราคมพ.ศ.2135 เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น นับเป็นการยุทธ์ทางบกครั้งยิ่งใหญ่ ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการกล่าวขวัญและสรรเสริญโดยทั่วไป วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่สำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย เป็นวันที่คนไทยพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วยความภาคภูมิใจ สำนักนายกรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็น วันกองทัพบกต่อมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวันที่ 18มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถาน และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งเป็นผลทำให้ประวัติศาสตร์ของวันยุทธหัตถีเปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อดำรงความมุ่งหมายเดิมในการกำหนดวันที่ระลึกกองทัพไทย และกองทัพบก รวมทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวงกลาโหม และกองทัพบก จึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทย และวันกองทัพบก จากเดิมวันที่ 25มกราคม เป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีโดยเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมความสำคัญของธงชัยเฉลิมพล ถือได้ว่าเป็นยอดสำคัญสำหรับทหารทั้งปวง เป็นหมายแห่งชัยชนะรวมใจกล้าหาญก่อนการออกศึก ซึ่งธงชัยเฉลิมพลนั้น เดิมเรียกว่า ธงประจำทัพ ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทหารทุกนายเพราะถือว่าเป็นตัวแทน จอมทัพ และเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ณ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จำเป็นที่ทหารทั้งหลายจะต้องติดตามธงนั้นจนถึงที่สุด และต้องคุ้มครองป้องกันธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยชีวิตตนเอง เพราะถ้าธงตกถึงเงื้อมมือศัตรูย่อมหมายถึงการสูญสิ้นซึ่งจอมจตุรงค์ สำหรับธงชัยเฉลิมพลจะมีลักษณะคล้ายธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นผู้ทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง ดังนั้น การเชิญธงชัยเฉลิมพลออกจากหน่วยและเข้าร่วมพิธีการใดก็ตามจะต้องกระทำอย่างสมเกียรติมีขั้นตอนที่สมบูรณ์ที่สุด และผู้ถือธงจะต้องได้รับการเลือกสรรอย่างดี หากเปรียบในสมัยโบราณผู้ที่จะต้องนำธงชัยเฉลิมพลออกร่วมทำการรบ พลประจำธงจะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรง มีความสามารถ และต้องรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ได้ ด้วยชีวิต