มน.พัฒนาวิทยาลัยพลังงานฯ ให้เป็นต้นแบบ Smart city

วันนี้( 11 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายานว่า ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ The 4th ASEAN Smart Grid Congress 2018 เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดด้านวิชาการ และประสบการณ์ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จากหลายประเทศชั้นนำจากทั่วโลก สืบเนื่องจากการประชุม Developing ASEAN Smart Grid Network เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2560 ที่ประเทศเวียดนามและการประชุม ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 28-30  มกราคม 2561 ที่ประชุมได้มอบหมายให้วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นสำนักงานเลขา (ASGC)  อย่างถาวรโดยมีภารกิจให้ดำเนินการร่างบันทึกความร่วมมือให้สมาชิกแต่ละประเทศพิจารณาและลงนาม ในการประชุม ASGC ครั้งที่ 4 รวมถึงการจัดประชุมความร่วมมือทางวิชาการ

ดร.สุขฤดี สุขใจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี กล่าวว่า วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือดังกล่าว เพื่อการพัฒนาความรู้ทางวิชาการ โดยเฉพาะ Smart Grid Technology   ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรภาครัฐ เอกชน ตลอดจนสร้างพันธมิตรกับต่างประเทศ วิทยาลัยฯ จึงดำเนินโครงการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยน และถ่ายทอดด้านวิชาการ และประสบการณ์ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จากหลายประเทศชั้นนำจากทั่วโลก เพื่อนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาองค์กร ประเทศ และสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาพลังงาน พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือก

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี กล่าวอีกว่า ในส่วนวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี นั้น ขณะนี้ได้มีการปรับรีฟอร์มมิ่ง วิทยาลัยฯให้เป็นและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นจุดเด่นของวิทยาลัยฯ และเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาสมาร์ตกริดเทคโนโลยื ซึ่งถือว่าเป็นแห่งเดียวของประเทศไทย พร้อมทั้งได้ปรับให้เป็นเมือง Smart city เพื่อเป็นเมืองต้นแบบหลายด้าน  ซึ่งชุมชนต่างๆสามารถนำไปประโยชน์จากการเป็นเมืองต้นแบบ ได้ เนื่องจาก Smart city มีประโยชน์หลายๆด้าน อาทิ ทั้งด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และธุรกิจต่างๆ ได้ ชุมชนสามารถมาเรียนรู้และนำไปใช้ได้เลย โดยเฉพาะทางด้านพลังงาน อนาคตตามบ้านเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ และขายให้กับบ้านต่อบ้านได้แบบสะดวกสบาย เป็นต้น และคาดว่าภายใน  1 ปี Smart city ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็จะเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

///////////////

 

แสดงความคิดเห็น