วันที่ 20 ส.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นประตูน้ำที่รับน้ำจากแม่น้ำยมจากภาคเหนือ ผ่านไปสู่ภาคกลาง เช้าวันนี้มีระดับน้ำที่ 38.50 ม.รทก. ( เมตรจากระดับน้ำทะเลปากลาง ) ระดับน้ำขึ้นจากเมื่อวานนี้ 3 เซนติเมตร และโดยทางประตูระบายน้ำบางแก้วได้เปิดประตูพร่องน้ำ จำนวน 3 บาน เพื่อพร่องน้ำมากกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากรอรับน้ำแม่น้ำยมสายเก่า มาจากภาคเหนือ ที่ไหล จาก จ.แพร่ จ.สุโขทัย ก่อนจะมะรวมที่ อ.บางระกำ และไหลสู่ภาคกลาง จ.พิจิตร และ นครสวรรค์
นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่านจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผย ว่าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามน่านได้เตรียมการรับสถานการณ์น้ำหลากแม่น้ำยม ในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดล ปี 2561. วันที่ 20 ส.ค.61 ดังนี้ สถานการณ์เพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นทีัโครงการบางระกำโมเดล ปี 2561 พื้นที่ 382,000 ไร่ ในเขตชลประทาน ทั้ง 3 โครงการ (คบ.ยมน่าน, คบ.พลายชุมพล, คบ.นเรศวร) ปัจจุบันเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ประมาณ 90%. จะคงเหลือ อีก 10% ระหว่างเร่งเก็บเกี่ยว(สาเหตุ เก็บเกี่ยวล่าช้า เนื่องจากฝนตกชุกในพื้นที่ เกษตรกรรอเก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้ข้าวมีความชื้นสูง การเตรียมความพร้อมรับน้ำหลาก ปัจจุบัน ทางสำนักชลประทานที่ 3 และ โครงการส่งน้ำฯยมน่าน ได้ดำเนินการเร่งพร่องน้ำ ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. เป็นต้นมา โดยดำเนินการ ดังนี้. ในแม่น้ำยม สายหลัก ได้พร่องน้ำ เพื่อรองรับน้ำหลาก ตั้งแต่ ปตร.วังสะตือ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ ผันน้ำแม่น้ำยม ลงแม่น้ำน่าน ผ่านคลอง DR-2.8 และ DR-15.8 ปัจจุบัน ระดับแม่น้ำยมที่ สถานีวัดน้ำ Y.64 อ.บางระกำ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 207 ลบ.ม/วินาที ระดับ 3.42 ม. ยังต่ำกว่าตลิ่ง ประมาณ 2.98 ม. –
ในแม่น้ำยมสายเก่า (คลองเมม-คลองบางแก้ว) ทางโครงการส่งน้ำฯยมน่าน ได้เร่งพร่องน้ำในระบบ เหนือ ปตร.หลัก ในแม่น้ำยมสายเก่า-ลงมาถึง ปตร.บางแก้ว ในระดับที่ต่ำกว่าระดับปกติ ลงอีก 1-2 ม. เพื่อเตรียมรับการผันน้ำ จาก ปตร.หาดสะพานจันทร์ จ.สุโขทัย เพื่อไม่ไห้เกิดผลกระทบน้ำเอ่อล้นตลิ่ง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ โครงการบางระกำโมเดล เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว มีความพร้อมรับน้ำเข้าทุ่งในกรณีวิกฤต น้ำเออล้นตลิ่ง ตามลำดับพื้นที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ ทุ่งแม่ระหัน อ.เมือง จ.พิษณุโลก และ ทุ่งบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
สำหรับการเตรียมป้องกัน พื้นที่ ปัจจุบัน ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ป้องกันในเขต ชุมชน และนำเครื่องจักร เร่งดำเนินการซ่อมแซม เชิงป้องกันในจุดเสี่ยง ทีมีผลกระทบเพื่อป้องกันคันคลองต่างๆ ในพื้นที่ และ ได้รายงานสถานการณ์ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น และ เกษตรกร ให้ทราบสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะผ๋ที่อาศัย หรือมีพื้นที่การเกษตร ริ่มตลิ่ง แม่น้ำยม และ แม่น้ำยมสายเก่า ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อล้น