วันที่ 22 ธ.ค. 2560 ที่โรงแรมแกรนด์ริเวอร์ไซค์ อ.เมือง จังหวัดพิษณุโลก นายเกรียงวิชญ์ เตชวิทยไวทิน ปลัดจังหวัดพิษณุโลก และนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข. ) ร่วมเป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อนำเสนอ ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ศึกษาความเหมาะสมการบริหารจัดการและกระจายสินค้าจังหวัดพิษณุโลก (Logistics Hub) เพื่อนำเสนอผลสรุปของโครงการ รูปแบบของ Logistics Hub ที่เหมาะสม ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ และแผนดำเนินการในระยะต่อไป โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในหลายอาชีพ
ทั้งนี้พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่างเชื่อมโยงภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังอยู่ในแนวเส้นทาง North-South Economic Corridor (NSEC) East-West Economic Corridor (EWEC) สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเมียนมา สปป.ลาว เวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ พิษณุโลกจึงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าการบริการในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ผู้ว่าฯพิษณุโลกร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สั่งศึกษาความเหมาะสมการบริหารจัดการและกระจายสินค้า จังหวัดพิษณุโลก (Logistics Hub)
นโยบายของรัฐบาล ที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ดังปรากฏในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) คือ การขับเคลื่อนการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้สัมฤทธิ์ผลและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ของประเทศไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์รวมถึงเป้าหมายด้านยุทธศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาด้วย การสัมมนาวันนี้ เพียงนำเสนอผลการศึกษาซึ่งเป็นร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ และเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แสดงออกถึงการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาประเทศระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ผลการศึกษาบอกว่า พิษณุโลกมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็น “เขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ หรือ Freight Village” ผสมผสานกับ “ศูนย์การขนส่งและโลจิสติกส์ หรือTransport Logistics Hub” เนื่องจากเป็นเมืองที่มีระบบการขนส่งหลากหลายรูปแบบ เชื่อมโยงเส้นทางระหว่างภูมิภาคได้ พบว่าตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สามารถเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งที่มีในพื้นที่ไปยังศูนย์โลจิสติกส์ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังใกล้แหล่งผลิตสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่
การพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2565 เริ่มเปิดให้บริการพื้นที่สำหรับรวบรวมและกระจายสินค้าทางถนน และการก่อสร้างพื้นที่สำหรับให้หน่วยงานเอกชนเช่า ระยะที่ 2 ปี 2570 เริ่มเปิดให้บริการพื้นที่สำหรับการขนส่งสินค้าทางราง ระยะที่ 3 ปี 2580 เริ่มเปิดให้บริการพื้นที่เขตปลอดภาษี (Free Zone) คาดว่าใช้งบประมาณรวม 2,500 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) คิดเป็นร้อยละ 15 โดยมีแนวคิดที่จะให้เอกชนร่วมพัฒนาและบริหารจัดการ เพื่อให้การพัฒนาเกิดความคล่องตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ยังไม่มีผลสรุปว่าจะเลือกรูปแบบ Logistics Hub ของการบริหารและกระจายสินค้าจังหวัดพิษณุโลก (Logistics Hub) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้ทวงติงหลายคนอาทิเช่น ไม่อยากในนำข้อมูลในวันนี้ขึ้นหิ้ง หรือเก็บไว้ในแฟ้ม จะต้องร่วมกันผลักดันเพื่อเสนอของบประมาณต่อไป อีกทั้งที่ผ่านมาได้มีบทวิเคราะห์วิจัยต่างๆที่พิษณุโลก ทั้งระบบขนส่งทางราง, ระบบระไฟรางคู่, ระบบรถไฟความไฟสูงหรือแม้แต่ระบบบนส่งโมโนเรล ระบบล้อยาง แต่ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นจริงในจังหวัดพิษณุโลกมีเพียงการศึกษาและประชาพิจารณ์เท่านั้น
ผู้เข้าร่วมประชุมระบุว่า ระบบโลจิตส์ คือการขนส่งที่ระยะทางสั้นที่สุดและราคาขนส่งถูกที่สุด อาทิ ถนนสายกรุงเทพ-พิษณุโลก( ทางหลวงหมายเลข 11 แยก อ.ตากฟ้า จ.นครวรรค์) ถือว่าระยะทางสั้นกว่าถนนสาย 117 กลับไม่มีการพัฒนามาร่วม 20 ปี ปัจจุบันยังเป็นถนน 2 เลนเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าผู้นำท้องถิ่น จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ได้เสนอขอขยายถนนเป็น 4 เลนให้ครบตลอดทั้งเส้น แต่ปัจจุบันถนนยังไม่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งจนท.แขวงการทาง บอกเพียงว่า ถนนขึ้นเหนือ หมายเลข 11 จาก อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.เขาทราย ถึงพิษณุโลกนั้น ไม่ได้บรรจุเป็นถนนหลัก มุ่งหน้าไปเชียงราย-เชียงใหม่ โดยเลือกใช้เส้นทางขึ้นเหนือนครสวรรค์ หมายเลข 117 แทน ทำให้ถนนสาย 11 อยู่ในความดูแลเพียงแขวงการทาง หมวดการทางเท่านั้นซึ่งมีแค่งบประมาณปรับปรุงเล็กน้อย หากจะพัฒนาสมบูรณ์ จะต้องให้รัฐบาลสั่งกรมทางหลวงยกฐานะเป็นถนนสายหลัก (หมายเลข 11) อีกเส้นหนึ่งเพื่อระบายการจราจรสู่ประตูภาคเหนือหรือเลี่ยงรถติดตัวเมืองนครสวรรค์เพียงเท่านั้น