เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 60 ที่ห้องประชุมเบลทูน โรงพยาบาลพุธชินราช อ.เมืองพิษณุโลก ทันตแพทย์ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา เป็นประธานร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ต่อร่างแก้ไขพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกวางขวางและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลกรทางการแพทย์สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 5 สิงหาคม 2559 เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ ได้รวมวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ ซึ่งให้กำเนิดรังสีที่มีอันตรายรุนรารวมกับเครื่องกำเนิดเหล่านี้ไม่มีวัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ จึงไม่สามารถปล่อยรังสีได้ด้วยตัวเอง การใช้อยู่ในความควบคุมของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ แต่ถูกควบคุมเข้มงวดเช่นเดียวกับวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้านิงเคลียร์ที่ปลดปล่อยรังสี ที่มีอันตรายรุนแรงได้ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มารับบริการทั้งนี้เครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้นางการแพทย์ มีกฎหมายที่ควบคุมดูแลอยู่แล้ว เป็นพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล และพระราชบัญญัติของสภาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ จึงมีส่วนซ้ำที่ซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เพิ่มขั้นตอนในการปฏิบัติไม่จำเป็น ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทางภาคีสภาวิชาชีพประกอบด้วย แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และสภากายภาพบำบัดร่วมกับทันตแพทยสภา ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และชมรมแพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือให้เครื่องเอ็กซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ไม่มีวัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ และใช้ ทนได้ในสถานพยาบาลไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ให้เครื่องกำเนิดรังสีบางประเภทไม่ต้องขอรับใบอนุญาต แต่ให้แจ้งการครอบครองและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีบางประเภทไม่ต้องขอรับใบอนุญาต แต่ให้แจ้งครอบครองแทนได้ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีที่กำหนดให้ต้องประจำอยู่ตลอดเวลาทำการในสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต เพื่อแก้ไขเป็น ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงแทน และกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไม่แจ้งการครอบครองใช้เครื่องเอ็กซเรย์ให้เหมาะสม ทางคณะกรรมาธิการสาธารณสุข ได้จัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในภูมิภาค ทั้ง 4 ภาค เพ่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายที่แก้ไขนี้อย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ เพื่อประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สภานิติบัญญัติพิจารณา