ส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำน้ำยางสดได้ราคาดีกว่ายางก้อนถ้วย

วันนี้ 9 พ.ย. 60 นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เดินทางมายังที่สำนักงาน กยท.จังหวัดพิษณุโลก ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โดยมีนายไสว ทะอินทร์ ผอ.การการแห่งประเทศไทยเขตภาคเหนือและนายพนัส แพชนะ ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกให้การต้อนรับ เพื่อมอบนโยบายปรับเปลี่ยวแนวคิดผลิตน้ำยางสดแทนจากผลิตน้ำยางก้อนถ้วย พร้อมกับมอบถัง 200 ลิตรแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราเพื่อเป็นการเริ่มต้นรวบรวมเก็บน้ำยางสดใส่ถังและนำส่งไปยังจุดรวมที่ สกย.พิษณุโลก เพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปน้ำยางสดทันที เพื่อผลิตถุงมือยางฯลฯ ที่ จ.ระยอง
นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือ วันนี้เป็นเรื่องเปลี่ยนแนวความคิดเกษตรกรภาคเหนือและอีสานให้เปลี่ยนการทำยางก้อนถ้วยมาเป็นน้ำยางสด ซึ่งยางก้นถ้วยราคาต่ำมาก ถามว่า ทำไม ไม่มาทำน้ำยางสด ซึ่ง กยท.พิษณุโลก ได้มีแนวคิด และริเริ่มผลักดันให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำน้ำยางสดซึ่งมีราคาสูงกว่าเท่าตัวแทน ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้าร่วมได้ทันที ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง บริษัทผู้ประกอบการ และกยท. ซึ่ง กยท.พิษณุโลก จะทำหน้าที่รวมรวบผลผลิตและรับรองคุณภาพ น้ำยางคุณภาพดี ไม่บูดและมีเปอร์เซ็นต์ DRC ไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น ณ.วันนี้ น้ำยางสด ที่จังหวัดสงขลา กยท.ดำเนินการไปแล้วให้ราคาน้ำยางสดถึง 45.50 บาท สูงกว่าราคาท้องตลาด ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาดีกว่ายางก้อนถ้วยกว่าเท่าตัว
นายพนัส แพชนะ ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า บริษัทไทยรับเบอร์ได้เข้าร่วมโครงการและเป็นผู้รับซื้อน้ำยางสดจากพิษณุโลกไปสูงโรงงานที่จังหวัดระยอง ณ.กยท.พิษณุโลก จึงทำหน้าที่รวบรวมแต่จะจุด ในแหล่งปลูกยางทั่วพิษณุโลก ซึ่ง กยท.พล. มีทั้งรถกระบะและรถ 6 ล้อ เพื่อตระเวนรับน้ำยางสดจากสวนมารวบรวมที่สำนักงานและส่งไปขายยังโรงงานไทยรับเบอร์ เท่ากับเป็นการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำในปัจจุบัน อีกทั้งสามารถแก้ปัญหา ข้อข้อเรียน รถขนบรรทุกยางก้อนถ้วยที่มีน้ำยางไหลบนถนน ทำให้ลื่น ก่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน
สำหรับพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัดพิษณุโลกมีประมาณ 150,000 ไร่(อยู่ในที่ดินมีเอกสารสิทธิ์) ส่วนที่ดินไม่มีอีกสารสิทธิ์ ปลูกยางพารามีอีกเท่าตัวหรือ 3 แสนไร่ทั้งจังหวัดพิษณุโลก สำหรับพื้นที่กรีดยางพาราได้แล้วมีประมาณ 2 แสนไร่
ณ.วันนี้จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเกษตรกรที่ทำยางก้อนถ้วย ให้เป็นการขายน้ำยางสดแทน จังหวัดพิษณุโลกเป็นเพียงจุดเดียวก่อน ถือว่าเป็นจังหวัดนำร่อง จากนั้นจะต้องนำแนวคิดนี้ไปเผยแพร่ยังจังหวัดเชียงรายและภาคเหนือต่อไป
เกษตรกรชาวพิษณุโลกจะต้องสมัครใจและเข้าใจ และตกลงความร่วมมือกับบริษัทผู้ประกอบการ ซึ่งบริษัทฯ ต้องรู้ว่ามีปริมาณน้ำยางจำนวนเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร ส่วนเงินที่เกษตรกรได้รับนั้น กยท.เป็นคนรับรอง เพื่อดูดซับ ปริมาณยางทั้งระบบ เพื่อให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอัตโนมัติโดยเฉพาะยางก้อนถ้วยและราคายางแผ่นรมควัน เชื่อว่า ถ้าระบบนี้สำเร็จ จากทำให้เกษตรกรทั่วภาคเหนือหันมาทำน้ำยางสด เพียงแต่เกษตรกรจะต้องมีเวลากรีดให้เป็นน้ำยางสด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณสวนยางทั่วประเทศมีจำนวน 32 ล้านไร่ (ปลูกในแปลง สปก.8 ล้านไร่ การยางแห่งประเทศไทยมีมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ภายใต้ 1 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดพื้นที่ปลูกที่ไม่เหมาะสม เป้าหมายปีละ 4 แสนไร่ เพิ่มรายได้ คือ ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นแบบผสมผสาน และเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศ และเพิ่มมาตรการนำร่อง ด้วยการดูดซับน้ำยางสดออกจากตลาด ดึงราคายางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบสูงขึ้น โดยให้เปลี่ยนแนวคิดและวิธีผลิตของเกษตรจากการผลิตยางก้อนถ้วยเป็นผลิตน้ำยางสดแทน
นายนันทพงษ์ ทับทิมจันทร์ หมู่ 8 บ้านพร้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า ณ.วันนี้ ปีนี้ราคายางตกต่ำ ยางก้อนถ้วยอยู่ที่ 17 บาทเท่านั้น ถ้าราคายางก้อนถ้วยอยู่ 30-40 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจึงจะอยู่ได้ เมื่อ กยท.อยากเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นทำยางน้ำยางสด ผมเห็นด้วย ถือว่า ขายได้ขายได้ราคาสูงขึ้น ปัญหาที่ห่วงคือการขนส่งน้ำยางออกจากสวน
นายบุญล้วน บุญอุ่น เกษตรกรบ้านพร้าว อ.นครไทย กล่าวว่า ราคายางพาราก้อนถ้วย 17 บาท หากทำน้ำยางสดได้ ถือว่า ได้ราคาจริงๆ ปัญหา คือ อยู่ไกล อยากทราบเรื่องการช่วยเหลือค่าขนส่ง ค่าน้ำมัน ในการมารวบรวมที่ กยท.พิษณุโลก เชื่อว่า ขายน้ำยางสด ดีกว่า ยางก้อนถ้วยแน่นอน

แสดงความคิดเห็น