ผลงานโครงการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ ที่บริเวณลานกิจกรรม โรงเรียนวังทองพิทยาคม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมกับ โรงเรียนวังทองพิทยาคม จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานตามโครงการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง” โดยมี ดร.ทินกร ทาตระกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก เป็นประธาน ภายในงาน

โดยทีมงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ดำเนินการ สนับสนุนให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีทักษะอาชีพก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี พัฒนาครูพี่เลี้ยงให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้ง การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยงและตอบสนองความต้องการในด้านกำลังคนของประเทศชาติ โดยทีมงานคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก เป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียน

ในการดำเนินงาน กิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ 1.ไส้เดือนดินเครื่องจักรชีวะ…ย่อยขยะ “เหม็น” เป็น “หอม” 2.พลังงานก๊าซชีวภาพ..จากของเสียสู่พลังงาน และ 3.ปุ๋ยหมัก..เปลี่ยนขยะเป็นอาหารพืช ซึ่งมีทีมงานจาก สำนักงานเกษตรอำเภอวังทอง พร้อมด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการภายในอำเภอวังทอง ร่วมเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาให้กับนักเรียน มีการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม – 11 กันยายน 2560 ทั้งนี้ เพื่อการสอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนากำลังคนตามความต้องการการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์ต่างๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ รวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า สะเต็มศึกษา (STEM Education) และเป็นกิจกรรมตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้สถานศึกษาลดชั่วโมงเรียนของนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนลดความเครียด และเสริมสร้างทักษะทุกด้าน คือด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม นั้น สะเต็มศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน ที่จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและเชื่อมโยงกับชีวิตจริง

////////////

แสดงความคิดเห็น