ชาวบ้านร้องขอคืนวิถีชีวิตเดิม 4 เดือนให้บางระกำโมเดลปล่อยน้ำท่วมทุ่ง

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 60 นายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ตามกรอบระยะเวลา โครงการบางระกำโมเดล 60 การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่หน่วงน้ำบางระกำ  ในขณะนี้ได้มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่ตามเงื่อนไขบางระกำโมเดลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในระยะต่อไปตามโรดแมปจะต้องปล่อยน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ  ซึ่งมีการประชุม โดยมี นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน พร้อมด้วย พ.ท.        บุริม เครือเป็งกุล ผบ.นฝ.นศท.มทบ.39/หน.ศข.มทบ.39 ตัวแทนกองทัพภาคที่ 3  นายสมศักดิ์ บ้องเขาย้อย กำนันตำบลท่านางงาม ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำนายอำเภอบางระกำ กล่าวว่า มีการกำหนดค่าระดับน้ำ ที่ไม่สร้างผลกระทบในพื้นที่การสัญจรไปมา เพราะพื้นที่ต่ำสุดที่จะได้รับผลกระทบ คือบ้านบึงกุ่ม ม. 15 ต.บางระกำ สรุปได้ค่าระดับที่ 41 เมตร ทรก. กำหนดปิดวันที่ 6 ก.ย. ในระดับ 50 เซนติเมตร และปิดไปเรื่อยๆ ทั้ง 5 บาน ที่คลองปลากรายเวลาน้ำหลากมาจะท่วมถนนด้วย แต่ว่าระดับที่ตกลง ระดับที่ 41 เมตร ทรก. เหมาะสมและเป็นความต้องการของชุมชน  ฝั่งซ้ายของประตูระบายน้ำบางแก้วยกคัน แต่ขาดอีก 300 เมตร ซึ่งทางเทศบาลบาระกำเมืองใหม่จะสร้างสะพานเชื่อมให้ ทางหน่วยกำลังพลทหารช่วยดำเนินการ  เสร็จแล้วจะเป็นเทศกาลน้ำนองน้ำท่วม ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แบบชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่หน่วงน้ำนายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอบางระกำ กล่าวอีกว่า มีการเรียกร้องให้มีการปิดประตูระบายน้ำ ซึ่งจะไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนที่นี้ ก็คือ การปรับปฏิทินทางการเกษตรไปแล้ว ให้ทำนาเร็วขึ้น และชลประทานปล่อยน้ำมาตั้ง 15 มีนาคม เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกตั้งแต่ 1 เมษายน เจอพายุมรสุม พายุโซนร้อนบ้าง มีการป้องกันไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เพราะยังต้องเก็บเกี่ยว เพราะบางระกำโมเดล เป็นการบริหารจัดการน้ำชุมชนมีส่วนร่วมตามแนวประชารัฐ  คำว่าประชารัฐมีประชาชนเกษตรกรผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่มต่ำ และราชการมีผู้ว่าราชการจังหวัด และแม่ทัพภาคที่3  ในการทำงานตามบางระกำโมเดลก็คือ โครงส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน ต้นฤดูการเพาะปลูกใหม่ต้นพฤศจิกายน หลังระบายออก ซึ่งจะเพาะได้อีก 2 ครั้ง  เพราะฉะนั้นคำว่าหน่วงน้ำ หมายถึง ชะลอไม่ให้น้ำไหลออกจากพื้นที่ และเป็นการป้องกันน้ำท่วม จ.พิจิตร และลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้ระดับหนึ่ง โดยพื้นที่บางระกำเป็นแอ่งกระทะสะดือจังหวัดพิษณุโลก โดยพื้นที่เพาะปลูก 256,000 ไร่ ซึ่งน้ำที่จะอยู่จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์เมตร ของพื้นที่ประมาณ 250,000- 300,000 ไร่  ซึ่งทางอำเภอบางระกำจะทำนา 8 เดือน ปล่อยน้ำท่วมหาปลา 4 เดือนนายสมศักดิ์ บ้องเขาย้อย กำนันตำบลท่านางงาม ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ กล่าวว่า มีเกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการให้ชะลอระบายน้ำบางแก้ว  ซึ่งประตูระบายน้ำบางแก้วจะชะลอน้ำและระบายน้ำลดผลกระทบกับเกษตรกรได้  โดยมีตัวแทนและละฝ่ายลงบานประตูปิดการระบายน้ำ จำรวน 5 บาน ปรากฏว่าระดับน้ำยกตัวใน 1 ชั่วเพิ่มสูง 32 เซนติเมตร เพื่อต้องการจะเอาน้ำเข้าทุ่งตาที่เกษตรกรต้องการ  เพราะมีการเก็บเกี่ยวไปหมดแล้ว  ซึ่งความต้องการของเกษตรกรในระต่อไปคือการทำประมงจับสัตว์น้ำตามวิถีชีวิตดั่งเดิมประมาณ 4 เดือน

 

แสดงความคิดเห็น