รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ ตรวจกักเก็บน้ำใต้ดินภูมิปัญญาชาวบ้านบางระกำ

เมื่อเวลา 10.30 น.ของวันที่ 3 ส.ค. พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปบ้าน นายทองปาน เผ่าโสภา และนายสุวรรณ ขจรไชยกุล ชาวบ้าน หมู่ 14 ต.หนองกุลา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ทื่ใช้ภูมิปัญญาในการขุดบ่อเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ไว้ใช้ในฤดูแล้ง และบ่อเติมน้ำบาดาลระดับตื้น ผ่านบ่อทรายเก่า บ้านคลองวัดไร่เหนือ ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อหาแนวทางการเก็บน้ำไว้ใต้ดินในฤดูน้ำหลาก และสามารถนำมาใช้ในฤดูแล้งได้  ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้กระทำมาหลายปีมีแหล่งน้ำใช้เป็นของตนเอง ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการกักเก็บน้ำไว้ใต้ดินดังกล่าว

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ตนดูแลเรื่องน้ำเป็นพิเศษ ซึ่งน้ำอุปโภคบริโภคนั้นไม่ค่อยห่วงมากนัก แต่น้ำทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เวลาฝนตกทางเหนือมาก ก็จะทำให้น้ำท่วมและมีปริมาณน้ำมาก จึงได้มีความคิดในเรื่องของการนำน้ำไปกักเก็บไว้ใต้ดิน ซึ่งเป็นมีภูมิปัญญาท้องถิ่นของของนายสุวรรณ ขจรไชยกุล และนายทองปาน เผ่าโสภา ชาวบ้าน หมู่ 14 ต.หนองกุลา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ได้ขุดบ่อตามภูมิปัญญาชาวบ้านกักเก็บน้ำไว้ในใต้ดิน เพื่อไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทางการเกษตร  ซึ่งจากข้อมูล ทำให้นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ลงไปดูด้วยตนเอง ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อมาดูด้วยตนเอง ก็น่าสนใจมาก ซึ่งอย่างไรก็ตามก็ต้องมีงานวิชาการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะน้ำผิวดินกับน้ำใต้ดิน ต้องมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเมื่อได้ศึกษาในวันนี้ก็พบว่า หากมีน้ำที่เหมาะสมก็จะต้องทำอย่างให้น้ำไปกักเก็บไว้ในใต้ดิน ซึ่งเมื่อถึงหน้าแล้งก็สามารถสูบนำมาใช้ได้

โดยในวันนี้หลายหน่วยงานเข้ามาดูและตรวจสอบความเป็นไปได้ว่า จะสามารถกักเก็บน้ำได้จริงหรือไม่ ซึ่งต้องร่วมกันบูรณาการร่วมกัน เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ทั้งอุปโภคบริโภคและทางการเกษตรกรให้กับประชาชน ทั้งนี้ลักษณะภูมิประเทศไม่เหมือนกัน หากกักเก็บน้ำไว้ใต้ดินไม้ได้ก็หาแนวทางกักเก็บน้ำไว้ตามหลุมหรือลักษณะเบ้าขนมครก ได้

////////////

แสดงความคิดเห็น