รับฟังความเห็นประชาชนระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก 5 เส้นทางหลัก

ที่เทศบาลนครพิษณุโลกนายบุญทรง แทนธานี นายกเทศมนตรีเทศบาลพิษณุโลกกล่าวเปิดการสัมมนาและร่วมแสดงความเห็นกับภาคประชาชนในพื้นที่ โดยในการสัมมนามีการหารือแนวทางให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ(กลุ่มย่อย) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ซึ่งจัดสัมมนาโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เทศบาลนครพิษณุโลก และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งแนวทางระบบขนส่งสาธารณะหลักของเมือง ในการออกแบบเบื้องต้นมี 5 สายทาง ประกอบด้วย
1.สายสีแดง ขนส่ง2 – เรือนแพ – ขนส่ง1 – วัดใหญ่ – บ้านคลอง – เซ็นทรัล ระยะทาง 12 กม.
2.สายสีน้ำเงิน เต็งหนาม – สถานีรถไฟ – โรงพยาบาลพุทธ – รามา – แม็คโคร – สามแยกต้นหว้า ระยะทาง 11.5 กม.

3.สายสีส้ม มหาวิทยาลัยนเรศวร – สามแยกต้นหว้า – บ้านคลอง – รร.ท็อปแลนด์ – สถานีรถไฟ – มหาวิทยาลัยราชพัฒฯ(วังจันทน์) ระยะทาง 15.5 กม.

4.สายสีเขียว สนามบิน – โรงพยาบาลพุทธ – สถานีรถไฟ – แยกเรือนแพ – ขนส่ง1 – ขนส่ง2 ระยะทาง 15 กม.
5.สายสีชมพู วัดใหญ่ – ท็อปแลนด์ – โคกมะตูม – ค่ายนเรศวร – ตลาดทรัพย์อนันต์ – โรงพยาบาลพุทธ – สถานีรถไฟ – วัดคูหาสวรรค์ ระยะทาง 7.5 กม.
ทั้งนี้ได้มีการแบ่งการประชุมรายสายทาง 4 วัน ดังนี้
•กลุ่มย่อยพื้นที่ด้านทิศเหนือ ประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
•กลุ่มย่อยพื้นที่ด้านทิศตะวันตก ประชุมในวันที่ 29 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องจุฬามณี เทศบาลนครพิษณุโลก
•กลุ่มย่อยพื้นที่ด้านทิศใต้
ประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ
•กลุ่มย่อยพื้นที่ด้านทิศเหนือ
ประชุมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลอรัญญิก
พร้อมตอบข้อซักถามและข้อเสนอแนะของภาคประชาชน
1.ในเส้นทางสายสีแดงบนถนนสาย 12 เขตทางกว้าง รถขนส่งสาธารณะหลัก ถ้าใช้ระบบ Tram จะวางไว้ที่กลางถนน มีช่องทางเฉพาะทำให้การเดินรถรวดเร็วควบคุมเวลาได้
2.ในเส้นทางสายสีชมภู และสายสีน้ำเงิน เขตทางแคบถ้าใช้ระบบ Tram ระบบเดินรถวันเวร์และวางรางในฝั่งเดียว และแชร์เลนเป็นแนวทางที่อาจเลือกใช้
3.มีข้อเสนอจากหลายท่านให้ต่อขยายเส้นทางออกไปเชื่อมชุมชนให้มากขึ้นในหลายทิศทางของเมืองและรองรับการขยายตัวในอนาคต เช่น มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา , มหาวิทยาลัยราชภัฎทะเลแก้ว
4.ศูนย์การขนส่งหลายรูปแบบที่สถานีรถไฟความเร็วสูง รวมทุกหมวดการเดินทาง เข้ามาที่นี้ แล้วทำเป็นชั้นๆ รถไฟความเร็วสูง รถไฟ รถเมล์ และทางอากาศ
5.มีข้อเสนอให้รถราง Tram เพื่อความเจริญของเมืองพิษณุโลก
เพื่อให้ได้ระบบขนส่งสาธารณะของประชาชน เพื่อประชาชนชาวเมืองพิษณุโลก รองรับความเจริญเติบโตของเมืองพิษณุโลกในอนาคต และความเป็นเมืองบริการของภูมิภาคนี้ รองรับการเดินทางของหลายจังหวัดที่เข้ามาใช้ความเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน ศูนย์กลางการค้าปลีก-ส่ง ศูนย์ราชการและศูนย์กลางการศึกษา ศูนย์กลางด้านสาธารณะสุขและสุขภาพ ศูนย์กลางการขนส่งในทุกหมวดการเดินทาง เช่น ทางการบิน ทางรถไฟ ทางถนน ไปยังทุกภูมิภาค ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์“พิษณุโลก2020” เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน ทุกท่านสามารถเสนอข้อมูลความต้องการในที่ประชุมประกอบการวิเคราะห์สายทางได้ตามวัน เวลาและสถานที่ข้างต้นที่กล่าวมา ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลความก้าวหน้าโครงการได้ที่http://plktransit.com/?p=202

แสดงความคิดเห็น