วันที่ 30 พ.ค.2560 นางรุ่งรัตน์ ครองเมือง ปลัดอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ นายสมศักดิ์ บ่องเขาย้อย กำนันตำบลท่านางงาม ซึ่งได้รับการมอบหมายจาก นายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอบางระกำ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ลงพื้นที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเครื่องจักรกลรถขุดที่ 2 ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 กรมชลประทาน ที่นำเครื่องจักรกลรถขุด (Dragline) ขุดรื้อคันดินบ้านแท่นนางงามในแม่น้ำยมฝั่งขวา บริเวณ หมู่ 10 บ้านแท่นนางงาม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อเร่งการระบายน้ำแม่น้ำยมให้ดียิ่งขึ้น หลังจากดำเนินการขุดรื้อคันดินฝั่งซ้ายไปแล้ว เพื่อให้น้ำในแม่น้ำยมบริเวณดังกล่าวระบายได้อย่างสะดวก
ภายหลังการตรวจสอบ นายสมศักดิ์ กำนันตำบลท่านางงาม เปิดเผยว่า หลังได้รับมอบหมายจากที่ประชุมของนายอำเภอบางระกำ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก และนายอำเภอกงไกรลาศ ให้ใช้เรือตรวจสอบแนวคันดินที่สร้างไว้กักเก็บน้ำในฤดูแล้งที่ผ่านมา พบว่าคันดินไม่มีเหลืออยู่แล้ว เนื่องจากคันดินที่ทำไว้เป็นดินปนทราย เมื่อน้ำไหลมาแรงและมีการรื้อทางฝั่งซ้ายไปแล้วก่อนหน้านี้ ทำให้น้ำกัดเซาะแนวคันดินที่เหลือจนหมดไป ตั้งแต่เย็นวานนี้จนถึงเช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเครื่องจักกลของกรมชลประทานได้ใช้รถขุด (Dragline) แบบเหวี่ยงตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง ก็พบว่าแนวคันดินไม่มีหลงเหลืออยู่ ทำให้น้ำในแม่น้ำยมบริเวณนี้ที่ทางนายอำเภอกงไกรลาศและชาวบ้าน ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ กังวลใจว่าจะขวางทางน้ำนั้น สามารถไหลได้ตามปกติแล้ว เพราะไม่มีแนวคันดินขวางกั้นแต่อย่างใด
ด้าน นายชำนาญ ชูเที่ยง ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายม – น่าน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ลดการระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม โดยปิดบานประตูทั้งหมด เพื่อคุมระดับน้ำไว้ที่ 41.00 เมตร เป็นการชะลอน้ำไว้ด้านเหนือประตูให้เกษตรกรที่ต้องการน้ำไว้ใช้น้ำ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับในคลองเกตุ คลองวังแร่ และคลองบางแก้วลดลง จึงจะทำการลดบานประตูที่ประตูระบายน้ำบางแก้ว ต.บางระกำ อ.บางระกำ เพื่อลดการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก และเป็นการเร่งระบายน้ำจาก จ.สุโขทัย ที่ไหลมาตามแม่น้ำยมผ่านทางประตูระบายน้ำวังสะตือ ต.ดงเดือย อ.กงไกรลาศ ก่อนที่จะผันน้ำออกทางคลอง DR-15.8 ลงสู่แม่น้ำน่านอีกทางหนึ่ง
อนึ่ง ฝนตกหนักช่วง 16-18 พ.ค. 60 ที่ผ่านมา ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำยมและคลองต่าง ๆ สูงขึ้นมาก มีน้ำท่วมขังในนาข้าวในเขตชลประทานยมน่าน-บ้าง แต่ก็ได้ช่วยกันระดมเครื่องสูบน้ำออก และ ทำกันดินเสริมคันดินป้องกันน้ำตามพื้นที่ต่ำ ทำให้นาข้าวอายุ 1 เดือน ในพื้นที่ต่ำของลุ่มน้ำยมของจ.พิษณุโลก แทบไม่ได้รับความเสียหาย โดยพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำของลุ่มน้ำยมของจ.สุโขทัยและจ.พิษณุโลกนั้น ในปี 2560 นี้ ได้ดำเนินการปรับแผนปลูกข้าวให้เร็วขึ้น ตามแผนบางระกำโมเดล 60 เริ่มทำการเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา เพื่อจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ทันก่อนฤดูน้ำหลากในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ขณะนี้เกษตรในพื้นที่ปลูกข้าวไปแล้ว 215,000 ไร่ หรือ คิดเป็น 95 % ของพื้น