ผวจ.พิษณุโลกเรียกถกการใช้ประโยชน์ใน”บึงราชนก หลังสตง.ลงพื้นที่ตรวจสอบ

1เมื่อวันที่ 7พ.ย. 2559 นายศุภชัย เอี่ยมสวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผย หลังจากเรียก 5 หน่วยงานหลักๆซึ่งเกี่ยวข้องกับ”บึงราชนก”มาประชุม หลังจาก สตง.ลงพื้นที่ตรวจสอบและนำเสนอให้ 1.บึงราชนกเป็นแหล่งรับน้ำ 2.ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการทั้งระบบ 3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งงบประมาณไปฟื้นฟูบึงราชนก โดยให้ทุกหน่วยงานมาประชุมวานนี้((7พ.ย.59)ก็เพื่อรายงานผลความคืบหน้าและรับทราบสถานะปัจจุบันของบึงราชนก เตรียมพิจารณาว่า จะต้องดำเนินต่อไป ส่วนจะไปในทิศทางใดนั้นวันนี้ยังตอบไม่ได้ เนื่องจากกำลังพิจารณาว่า หน่วยงานใดใช้ประโยชน์ หน่วยงานใดรับผิดชอบ และจะต้องดำเนินการสิ่งใดให้ถูกต้องต่อไป573360

“นับเป็นสัญญาญเตือนแล้วว่า จังหวัดจะต้องปรับตัวอย่างไร ถ้าก่อสร้างเพิ่มภายในบึงราชนกก็ถือว่า งานเข้า ! เป็นสิ่งพิจารณาอย่างละเอียดถ้ากระทำการลงไปนับจากนี้ บางสิ่งที่ไม่ควรเดินหน้าต่อ ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ส่วนจะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือไม่ ต้องพิจารณา จึงเรียกประชุมหลายหน่วยงาน แต่คงไม่สามารถหาข้อยุติได้” ผวจ.พิษณุโลก กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามข้อมูลที่กรมเจ้าท่า นำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อวานนี้ (7พ.ย.59) ที่ห้องสุพรรณกัลยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ต.สมอแข อ.เมือง จ.พิษณุโลก ที่มีนายศุภชัย เอี่ยมสวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานที่ประชุม พร้อมนายฐานุพงศ์ เจริญสุรภิรมย์ รองผวจ.พิษณุโลก นายนายธัชชัย สีสุวรรณ รองผวจ.พิษณุโลก, ปลัดจังหวัดพิษณุโลก, หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก, ผอ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิษณุโลก, อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก, กรมเจ้าท่าพิษณุโลก ,ธนารักษ์พิษณุโลก, ที่ดินจังหวัดพิษณุโลกฯลฯ ระบุว่า บึงราชนก มีพื้นที่ทั้งหมดตามเอกสารหนังสือสำคัญที่หลวง(นสล.)จำนวน 4,865 ไร่ โดยอบจ.พล.ขอใช้ประโยชน์ จำนวน 2,466 ไร่ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก 1,059 ไร่ มหาวิทยาลัยนเรศวร 1,000 ไร่ ประมงจังหวัดพิษณุโลก 241 ไร่ กรมเจ้าท่า 100 ไร่2

ปัจจุบันสภาพพื้นที่ในส่วน อบจ. ได้ใช้พื้นที่ไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์, การท่องเที่ยวและกีฬา ไม่มีการพัฒนา ไม่ดูแลรักษาที่ดินถูกชาวบ้านบุกรุกเลี้ยงโค-เป็ดฯลฯ, ม.นเรศวร ใช้พื้นที่ไปแล้ว 35 เปอร์เซ็นต์เหลืออยู่ 650 ไร่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มีราษฎรบุกรุก, ประมงจังหวัดพิษณุโลกก่อสร้างอาคารปล่อยร้างและขุดบ่อไว้ 1 ไร่

ฤดูน้ำหลากพบว่า มีน้ำป่าไหลบ่า เอ่อล้นแม่น้ำวังทอง แต่มวลน้ำจากแม่น้ำวังทองไม่สามารถไหลเข้าบึงราชนกได้เนื่องจากมีคันดินขวางกั้น ทั้งๆอยู่ห่างแม่น้ำเพียงเพียง 600 เมตร อีกทั้งอยู่ห่างลำน้ำสาขาสาธารณะเพียง 80 เมตร และอยู่ใกล้คลองชลประทานของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน สภาพที่ดินโดยรอบถูกประชาชนบุกรุกทำกินจนถูกตื้นเขินเหลือผิวดินและผิวน้ำ จากเดิมบึงราชนกเคยลึกสุด 30 เมตร893749

ทั้งนี้ผู้ว่าการสำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดินนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีให้ใช้ มาตรา 44 ขอพื้นที่คืนแก่จังหวัดและดำเนินการแก้ไขทั้งระบบฟื้นฟูให้เป็นแหล่งรับน้ำ รับมืออุทกภัย โดยนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล

ทั้งนี้ปี 2552 ครม.กำหนดให้“บึงราชนก”เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ถือว่าติดอันดับ 1 ในหลายพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้จัดลำดับตามความสำคัญของประเทศ จึงให้จังหวัดพิษณุโลกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการทางกฎหมายประกาศเป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำ เพียงแต่วันนี้ยังไม่ได้ดำเนินการตามประกาศดังกล่าว893765

อนึ่ง เมื่อวันที่ 3-4 พ.ย.59 ที่ผ่านมา นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจโครงการรัฐที่ส่อไปในทางทุจริต 2 จุดหลัก คือ บึงราชนก ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลกและเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก พบว่า บึงราชนกกำลังกลายเป็นแหล่งนำงบประมาณของหน่วยงานรัฐมาลง  มีการขอใช้พื้นที่ภายในบึงสาธารณะ รวมทั้งนำงบประมาณไปก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างแล้วปล่อยทิ้งร้างจนแทบไม่เหลือสภาพแหล่งเก็บกักน้ำ

แสดงความคิดเห็น