ชมพิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน บันทึกประวัติ สายน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ

00065พิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน สถานที่ศึกษาและรับรู้ถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  รัชกาลที่ 9 ในการจัดการน้ำและแก้ไขภัยแล้ง อุทกภัย ให้กับประชาชน19

วันที่ 15 ตุลาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้เริ่มมีประชานที่สนใจเข้าไปศึกษาและชมอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่ได้มีพระราชดำริในการก่อสร้างเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนขึ้น20

ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจาก “น้ำ” โดยเปรียบพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เป็นดั่ง “ตาน้ำ” อันนำมาซึ่งความมีอยู่มีกิน เป็นเส้นทางสัญจรไปมาและเป็นจุดกำเนิดของชุมชนต่างๆ16

ภายในจะบอกเล่าเรื่องราว สายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จนเกิดเป็นใต้ร่มโพธิ์ทองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เป็นประดุจโพธิ์ทองต้นใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านใบปกป้องเราจากความร้อนแรงให้ความชุ่มให้ความชุ่มเย็นมีกินมีใช้จากสายน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณโดยทรงมองเห็นว่าเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนจะช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยให้น้ำทำการเกษตรรวมทั้งสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านโดยรอบและที่อยู่ไกลออกไปได้อย่างไร จึงมีพระราชดำริให้จัดสร้างเขื่อน แห่งนี้ขึ้น 4

และได้รู้จักกับเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนในทุกมิติทั้งขนาดความจุกำลังการผลิตไฟฟ้าพื้นที่ชลประทานที่จะได้รับน้ำ ป่าไม้โดยรอบและปลูกทดแทนสัตว์ป่าที่อยู่อาศัย ปลาในแหล่งน้ำการท่องเที่ยวและการสาธารณสุขภายหลังมีส่วนร่วมที่มาของชื่อเมืองสองแควที่ใช้เรียกขานเมืองพิษณุโลกแต่ครั้งอดีต ร่วมทั้งประวัติศาสตร์น่าสนใจของพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งอาหาร น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคทำการเกษตรใช้เป็นเส้นทางคมนาคม3

สำหรับพิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยช่วงนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 08.30 น.-16.30 น.8

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้งานเมื่อปี 2554 เป็นเขื่อนหินทิ้งขนาดกลาง ปิดกั้นลำน้ำแควน้อย วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยของจังหวัดพิษณุโลก และเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้กับ 4 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก สร้างประโยชน์ต่อชาวจังหวัดพิษณุโลกเป็นอย่างมาก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้วางแผนสร้างเขื่อนแควน้อยเมื่อ 30 ปีก่อน   9

เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2525  เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนนเรศวร ณ ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ได้พระราชทานพระราชดำริโดยสรุป คือ  “ให้วางโครงการและก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อยโดยเร่งด่วน”  และเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จพระราชดำเนิน ณ พื้นที่ป่าชายเลนแปลงปลูกป่า ณ. อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระราชดำริให้นายสุวิทย์   คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นว่า “ให้พิจารณาดำเนินการโครงการเขื่อนแควน้อย”5

คณะรัฐมนตรีได้สนองพระราชดำริ  มีมติอนุมัติเปิดโครงการเขื่อนแควน้อยฯ เมื่อวันที่  21 ม.ค.2546  แผนงานก่อสร้าง 9 ปี (2546-2554)   งบประมาณโครงการทั้งสิ้น 6,780.80 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 19      มิ.ย.2550 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายวงเงินค่าก่อสร้างเป็น 8,881.62  ล้านบาทเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานในปี 2554 ประกอบด้วยตัวเขื่อนหลัก 3 เขื่อนที่ต.คันโช้ง อ.วัดโบสถ์ ได้แก่ เขื่อนปิดช่องเขาขาด ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 16 เมตร ยาว 640 เมตร เขื่อนแควน้อย เป็นเขื่อนหินทิ้งดาด หน้าคอนกรีตสูงจากพื้น 75 เมตร ยาว 681 เมตร และเขื่อนสันตะเคียน ลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนดินเหนียวสูง 80 เมตรยาว 1,270 เมตร  สามารถกักเก็บสูงสุด 939  ล้านลูกบาศก์เมตร7

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17.35 น. นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่โครงการเขื่อนแควน้อยและกรมชลประทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการกักเก็บน้ำเขื่อนแควน้อย2

จากนั้นมา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ได้เริ่มกักเก็บน้ำอย่างเต็มที่ ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ที่ในอดีต มักประสบปัญหาน้ำจากลำน้ำแควน้อยล้นตลิ่งเป็นประจำ ช่วยกักเก็บน้ำไว้สำหรับบริหารจัดการร่วมกับเขื่อนสิริกิติ์ และ จ่ายน้ำให้กับพื้นที่เกษตร ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน17

และมีพิธีเปิดเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9  ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนพร้อมกัน 5 เขื่อนทั่วประเทศ  ผ่านระบบวิดิโอลิ้งค์  ในวันนั้น ช่วง เวลา 16.30 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ  เสด็จออกจากอาคารโรงพยาบาลศิริราช มาที่ท่าเทียบเรือ ประทับเรือพระที่นั่งอังสนา เรือพระที่นั่ง ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเรือพระที่นั่งมาจอดเทียบท่าและขึ้นประทับที่เกาะเกร็ด และใน เวลา 19.05 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทอดพระเนตรสื่อผสม น้ำสร้างชีวิต00045 เวลา 19.40 น.ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละเขื่อน ทำพิธีเปิดกรวยดอกไม้ ธูปเทียนแพร  นายกรัฐมนตรีนำข้าราชการ ประชาชนถวายพระพร เวลา 19.50 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทำพิธีเปิดเขื่อน 5 เขื่อนพร้อมกัน วางพระหัตถ์ บนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการ ทรงทอดพระเนตรพิธีเปิดทั้ง 5 เขื่อน ผ่านระบบวิดีโอลิ้งค์ ขณะที่จังหวัดพิษณุโลก นายชัยโรจน์  มีแดง ผวจ.พิษณุโลก สมัยนั้น พร้อมประชาชนชาวพิษณุโลกร่วม 3,000 คน ร่วมทำพิธีเปิดเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนอย่างเป็นทางการ ณ ลานพิพิธภัณฑ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นสถานที่ประกอบพิธี00055

0003-2ขณะที่ปัจจุบัน 15 ตุลาคม 2559 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำกักเก็บแล้ว มีปริมาณน้ำ 873.755ล้าน ลบ.ม(93.05%) คิดเป็นน้ำใช้การได้ 830.76  ล้าน ลบ.ม.(88.47%) น้ำไหลเข้า 11.96 ล้านลบ.ม ระบายน้ำ 0.835 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าในอีกไม่กี่วัน ก็จะเก็บน้ำได้เต็มความจุอ่างเก็บน้ำ 100 % และเพียงพอในการจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และ พื้นที่การเกษตรในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ตลอดปี 2560 แน่นอน13

12

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แสดงความคิดเห็น