รมว.เกษตรฯลงพื้นที่อ.บางระกำ ติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

dsc_0094เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 ก.ย. 2559 ที่ อบต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก พล.อ.ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันช่วยเหลือน้ำหลากจากแม่น้ำยมทั้งในพื้นที่ จ.สุโขทัย และ จ.พิษณุโลก โดยมีนายชูชาติ  กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และ นายปิติ  แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยสถานการน้ำหลาก จึงได้มอบหมายให้มีการลงพื้นที่ติดตามและบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในปีที่ผ่านมาเกิดน้ำหลากที่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ถึง 2 ครั้ง แต่แม่น้ำยม อ.เมือง จ.สุโขทัย สามารถรับน้ำได้ประมาณ 550  ลบ.ม./วินาที ซึ่งทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมาสามารถผันน้ำส่วนเกินสู่แม่น้ำน่านผ่านที่ลุ่มต่ำ คือ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลกdsc_0072

โดยกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า จะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยในส่วนของแม่น้ำยมคาดว่าฝนที่ตกใน จ.พะเยา จ.แพร่ และ จ.สุโขทัย จะมีน้ำหลากประมาณ 1,000 ลบ.ม./วินาที ถึงแม่น้ำยมช่วง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ประมาณวันที่ 22 – 23 ก.ย. ที่จะถึงนี้ จึงได้มีการประชุมเตรียมการป้องกันน้ำหลากให้พร้อมก่อนวันที่ 21 ก.ย. 59 โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการ ได้แก่ การซ่อมแนวคันกั้นน้ำ อ.เมือง จ.สุโขทัย ให้สามารถรับน้ำได้ การป้องกันพื้นที่เกษตรกรรมที่ยังไม่เก็บเกี่ยว โดยระดมรถแบ็คโฮโกยตักเสริมคันกั้นน้ำ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วยdsc_0088

สำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหลากจาก อ.ศรีสัชนาลัย ได้แก่ 1.การปรับเปลี่ยนการเพาะปลูก โดยให้เริ่มเพาะปลูกตั้งแต่เดือน เม.ย. และเก็บเกี่ยวให้แล้วเสร็จก่อนเดือน ส.ค. เพื่อรับน้ำหลาก ซึ่งจะทำเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงผู้แทนกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ รวมพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งหมด 244,820 ไร่ ใช้น้ำรวม 155 ล้าน ลบ.ม. 2.กรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย จะดำเนินการปรับปรุงสะพานเพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำในคลองยม-น่าน สะพาน จำนวน 4 แห่ง เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้จาก 88 ลบ.ม./วินาที เป็น 200 ลบ.ม./วินาที 3.กรมชลประทานจะใช้งบประมาณและการปรับแผนงานในปี 2560 ดำเนินการก่อสร้างคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา (คลองสุชน-คลองตะโม่) เข้าสู่แก้มลิงซึ่งอยู่ที่ดอน จำนวน 3 แห่ง คือ บึงตะแครง บึงระมาณ และบึงขี้แร้ง ซึ่งมีระยะทางจากแม่น้ำยม จำนวน 30 กิโลเมตร โดยเป็นที่ดินของชาวบ้าน จำนวน 3 กิโลเมตร จึงต้องเข้าไปสร้างความเข้าใจเพื่อสร้างร่องน้ำให้สามารถเชื่อมต่อการระบายน้ำไปถึงบึงดังกล่าวได้ นอกจากนั้นจะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองต่างๆ ด้วย 4.หน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะมีการบูรณาการร่วมกัน เช่น กรมประมง และกรมปศุสัตว์ เป็นต้นdsc_0092

นอกจากนี้ได้เน้นย้ำเรื่องเครื่องมือแจ้งเตือนต่าง ๆ ต้องมีความพร้อมในการใช้งาน และให้ส่วนที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ การคาดการณ์การไหลของน้ำในภาพรวม เพื่อที่จะสามารถเตรียมกันป้องกันได้ การบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงหมาดไทย และ คสช. รวมถึงการสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนdsc_0101

ขณะที่ นายสมส่วน  แร่เพชร ผญบ.หมู่ 6 บ้านหนองขานาง ต.คุยม่วง กล่าวว่า หลังจาก พล.ฉัตรชัย  สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้วเสร็จ จึงเดินทางมาดูจุดนาข้าวที่ถูกน้ำท่วมสูง บริเวณแปลงนาบ้านหนองขานาง ที่มีมวลน้ำจาก จ.สุโขทัย ไหลบ่าเข้าท่วมนาข้าวของชาวบ้านที่กำลังจะเก็บเกี่ยวจนได้รับความเสียหายกว่า 800 ไร่ มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนถึง 80 ราย คาดว่าหากมีพายุฝนตกลงมาอีกจะทำให้น้ำจาก จ.สุโขทัย ไหลบ่าเข้าท่วมนาข้าวอีกกว่า 7,000 ไร่ จึงประสานไปยังกรมชลประทานให้นำรถแบ็คโฮมาทำคันดินกั้นน้ำไม่ให้ท่วมนาข้าวเป็นระยะทางถึง 4 กม. เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นdsc_0081

จึงขอฝากให้ทางรัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวนาในระยะยาวด้วย เพราะขณะนี้ได้รับความเดือนร้อนกันถ้วนหน้า ต้องตัดสินใจเกี่ยวข้าวหนีน้ำไปขายโรงสีจากปกติได้ราคาเกวียนละ 7,000 บาท เหลือราคาเพียง 3,000 – 4,000 บาทเท่านั้น ต้องขาดทุนเป็นหนี้สินที่กู้ยืมมา จึงได้ไปลงรายชื่อผู้เดือดร้อนกับผู้นำท้องถิ่นให้ประสานไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยี่ยวยาช่วยเหลือต่อไป.

………………………………………………………………………………………………….

แสดงความคิดเห็น