น้ำยมจากสุโขทัยเข้าถึงพิษณุโลกแล้ว ห่วงนาข้าว 3 อำเภอ 1.2 แสนไร่กระทบ

DCIM100MEDIADJI_0203.JPGวันที่ 16 กันยายน 2559 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกขณะนี้ทุกภาคส่วนต่างเฝ้าระวังผลกระทบจากแม่น้ำยมยมไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่นาข้าวในเขตอ.พรหมพิราม อ.เมือง และอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ด้วยการผันน้ำแม่น้ำยมจากประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัยผ่านมาทางแม่น้ำยมสายเก่าจะส่งกระทบกับพื้นที่ลุ่มน้ำยมของจ.พิษณุโลก ขณะนี้แม่น้ำยมที่อ.เมืองสุโขทัยกำลังวิกฤติ การผันน้ำออกสู่แม่น้ำยมสายเก่าจึงเร่งระบายออกมาให้มากที่สุดDCIM100MEDIADJI_0197.JPG

ที่แม่น้ำยมสายเก่า หรือ คลองเมม ม.12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจพบว่า ระดับน้ำในคลองเมมเพิ่มขึ้นถึงระดับเกือบสูงสุด ในจุดที่เป็นพื้นที่ต่ำน้ำได้เริ่มไหลล้นจากคลองเมมเข้าสู่พื้นที่ทางการเกษตรที่ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว บางส่วนที่เหนือขึ้นไปต.หนองแขม และต.พรหมพิราม ที่รับน้ำจากแม่น้ำยมสายเก่า บางจุดน้ำได้ไหลข้ามถนน และเข้าพื้นที่ทางการเกษตร และระดับน้ำยังคงมีทีท่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะยังคงมีการระบายน้ำจำนวนมากจากแม่น้ำยมจ.สุโขทัยเข้ามายังจังหวัดพิษณุโลก โดยมวลน้ำก้อนนี้ที่ไหลลงสู่แม่น้ำยมสายเก่า จะไหลผ่านอ.พรหมพิราม ต.บ้านกร่าง อ.เมืองพิษณุโลก และไปบรรจบกับแม่น้ำยมสายหลักที่อ.บางระกำจ.พิษณุโลกDCIM100MEDIADJI_0209.JPG

นายบรรดิษฐ์  อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก เปิดเผยว่า สถานการณ์ ณ วันนี้ 16 กันยายน 2559 จังหวัดพิษณุโลกต้องเฝ้าระวังพื้นที่อ.พรหมพิราม อ.เมืองพิษณุโลกและอ.บางระกำ เป็นอย่างมาก นโยบายของกรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องผันน้ำจากประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์มาลงแม่น้ำยมสายเก่าให้มากที่สุด เนื่องจากจ.สุโขทัยน้ำเริ่มท่วมไปแล้ว ในเขตอ.เมือง อ.ศรีสำโรง ที่อยู่ท้ายน้ำประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ที่ขณะนี้แม่น้ำยมที่ประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์มีน้ำเต็ม 100 % มีน้ำอยู่ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ลบ.ม. ) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 900 กว่าลบ.ม.ต่อวินาที การระบายลงสู่แม่น้ำยมสายหลัก จะปล่อยไม่เกิน 550 ลบ.ม.วินาที น้ำที่เหลือจะระบายสู่คลองหกบาท 180-200 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยผันน้ำลงสู่แม่น้ำน่านที่อ.พิชัยจ.อุตรดิตถ์ในคลองยม-น่าน 80 ลบ.ม.ต่อวินาที และผันลงสู่แม่น้ำยมสายเก่าในอัตรา 140-150 ลบ.ม. วินาทีDCIM100MEDIADJI_0190.JPG

สถานการณ์ขณะนี้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำในเขตแม่น้ำยมสายเก่า มีน้ำเต็มตลิ่งไปหมดแล้ว ที่ชลประทานเป็นห่วงและเฝ้าระวังคือ พื้นที่นาข้าว อายุ 2-3 เดือน ที่รอการเก็บเกี่ยวใน 3 อำเภอของพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ อาจจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ จุดที่ 1 ม.10-ม.12 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม และ ต.บ้านกร่าง อ.เมืองพิษณุโลก มีพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว พืชไร่ประมาณ 30,000 ไร่ จุดที่สองที่บ้านวังขะขาม ทุ่งหนองหลวง ต.หนองแขม อ.พรหมพิราม มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 20,000 ไร่ และจุดที่สามบริเวณ ม.9 บ้านตะแบกงาม ต.ชุมแสงสงคราม และ พื้นที่ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 70,000 ไร่

DCIM100MEDIADJI_0199.JPG

พื้นที่ปลูกข้าวเหล่านี้ ตามพฤติกรรมการปลูกข้าวในปีที่ผ่านมา ๆ ในเดือนกันยายนก็เก็บเกี่ยวหมดแล้ว ส่วนมากจะเก็บเกี่ยวเสร็จในเดือนกรกฏาคม –สิงหาคม ก่อนที่จะถูกน้ำยมหลากท่วม แต่เนื่องจากปีนี้ประสบปัญหาภัยแล้ง การปลูกข้าวจึงล่าช้า มาเริ่มปลูกเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม จากปกติที่จะเริ่มปลูกเดือนเมษายน ขณะนี้อายุข้าว 2-3 เดือน รอการเก็บเกี่ยว ที่ผ่านมาชลประทานก็ได้ประชุมร่วมกับผู้นำ เกษตรกรในพื้นที่ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ มีการพร่องระบายน้ำจากมาน้ำยมสายเก่าออกไปก่อน แต่น้ำที่มารอบใหม่นี้ค่อนข้างมาก อาจจะส่งผลกระทบได้ ขณะนี้ได้ระดมเครื่องจักร และเครื่องสูบน้ำของชลประทาน ไปช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่

DCIM100MEDIADJI_0219.JPG………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

แสดงความคิดเห็น