เปิดรับฟังความคิดเห็นสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านเพื่อการท่องเที่ยว

3เวลา 09.30 น. วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่น 2 ชั้น 5 โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก  เทศบาลนครพิษณุโลกได้จัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นการศึกาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการก่อสร้างสะพานเพื่อการท่องเที่ยว สะพานข้ามแม่น้ำน่านแห่งใหม่ของจ.พิษณุโลกที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานราชการในจ.พิษณุโลก ภาคเอกชน สถานศึกษา ผู้นำชุมชนและประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นประมาณ 100 คน มีนายฐานุพงษ์  เจริญสุรภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในการเปิดประชุม6

นายบุญทรง แทนธานี นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก  กล่าวว่า ตามที่ เทศบาลนครพิษณุโลกได้ว่าจ้าง บริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการประชุมปฐมนิเทศโครงการ เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของการศึกษา พื้นที่ศึกษาโครงการ และรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ซักถามให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ4

ทั้งนี้ การดำเนินการก่อสร้างสะพานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดโครงการหรือกิจการซึ่งจ้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ออกประกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 กำหนดให้ทางหลวงที่ตัดผ่านพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โบราณสถาน  แหล่งโบราณคดี  แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ในระยะทาง 2 กิโลเมตรทุกขนาดต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  เพื่อเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้ความเห็นชอบก่อนที่จะพัฒนาโครงการ ซึ่งโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านเพื่อการท่องเที่ยวเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานดังกล่าว8

นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก กล่าวเพิ่มเติมว่า  “จากการทบทวนรายละเอียดโครงการ จะเห็นได้ว่าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านเพื่อการท่องเที่ยว  ช่วยส่งเสริมการจัดการด้านจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การจราจรบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารกับพระราชวังจันทน์เกิดสภาพคล่องตัวไม่ติดขัดโดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน  อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดนางพญา พระราชวังจันทน์ ศาลหลักเมือง ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและแหล่งโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง”5

สำหรับบริเวณที่ตั้งโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่านเพื่อการท่องเที่ยว  ตรงอยู่ที่บริเวณโรงงานทำน้ำแข็ง  ถนนพุทธบูชา  ข้ามไปอีกฝั่งตรงทางเข้าอาคารศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ รูปแบบสะพานที่ออกแบบเป็นสะพานเหล็ก (Steel Arch Bridge) เป็นโครงการเหล็กรูปพรรณมีโครงเหล็กที่โค้งแบบพาราโบล่า ช่วยรับน้ำหนักพื้นสะพาน โดยถ่ายแรงผ่านสายเคเบิล  ส่งผลให้โครงสร้างรับพื้นสะพานมีความหนาลดลงมาก ทำให้ช่องลอดในแนวดิ่งมากกว่าสะพานเหนือน้ำและท้ายน้ำ ความยาวสะพานประมาณ 120 เมตร โดยโครงสร้างพื้นผิวจราจรเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดผิวจราจรกว้าง 7 เมตร มีทางเท้ากว้างข้างละ 3 เมตร แบ่งเป็นเส้นทางจักรยานกว้าง 1.50 เมตร  และทางเดินเท้ากว้างข้างละ 1.50 เมตร  งบประมาณในการก่อสร้างสะพาน 59,770,000 บาท10

9

7

 

//////////////////////////////////

แสดงความคิดเห็น