อ.ม.นเรศวรคิดค้นเครื่องตรวจลิ้นหัวใจรั่ว คัดกรองผู้ป่วยได้สะดวกและแม่นยำ

IMG_8542ผศ.ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์  พร้อมด้วย  รศ.ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกัน พัฒนาโปรแกรมสำหรับคัดกรองโรคลิ้นหัวใจ The program for screening the valvular heart diseases ช่วยคัดกรองผู้ที่มีความผิดปกติทางหัวใจ ด้วยการฟังเสียง สามารถส่งรักษายังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางได้ทันท่วงที โดยเครื่องดังกล่าวมีลักษณะเป็นเครื่องสแกนด์ตรวจการเต้นของคลื่นหัวใจ ฟังเสียงหัวใจเต้น ที่มีถึง 12 จังหวะ ของโรคต่างๆได้ โดยมีเครื่องตรวจขนาด 3X3 ซม. พ่วงกับอุปกรณ์มือถือ ประเภทแอนดอยซ์ เพื่อมีแอปพิเคชั่น จับคลื่นหัวใจอีกครั้งIMG_8564

IMG_8537ผศ.ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ในประเทศไทย สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด มีสถิติผู้เสียชีวิตมากถึงชั่วโมงละ 4 ราย นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โดยกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าในรอบ 10 ปี ในขณะที่องค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่า 17 ล้านคนทั่วโลก นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าปี จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 ล้านคนทั่วโลกIMG_8530

ผศ.ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ กล่าวว่า โรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease หรือ Heart valve disease) คือ โรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจ (Heart valve) ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการไหลเวียนโลหิต เกิดปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งในรายที่รุนแรง จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) และเสียชีวิตได้ ปัจจุบัน การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีต และในปัจจุบัน การตรวจร่างกาย การฟังเสียงเต้นของหัวใจ การตรวจวัดความดันโลหิต การจับชีพจร เอกซเรย์ภาพปอดและหัวใจ ตรวจหัวใจด้วย   อัลตราซาวด์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาจมีการตรวจเฉพาะอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การสวนหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอตรวจหัวใจ

รศ.ดร.ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า การพัฒนาโปรแกรมสำหรับคัดกรองโรคลิ้นหัวใจนี้ จะช่วยในการวินิจฉัยด้วยการฟังเสียงหัวใจที่มีความถูกต้องมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ที่มีความผิดปกติได้รับการคัดกรองแล้วส่งต่อไปรักษายังโรงพยาบาลที่มีแพทย์ด้านโรคหัวใจโดยผู้วิจัยมีการพัฒนาอุปกรณ์รับสัญญาณเสียง ที่สามารถกรองเสียงรบกวนและขยายสัญญาณจนได้ยินเสียงผิดปกติได้ชัดเจน แล้วส่งสัญญาณไปยังโปรแกรมที่เขียนขึ้น ในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะแสดงผลว่าสัญญาณเสียงหัวใจนั้นเป็นเสียงปกติหรือผิดปกติได้ โดยแพทย์ชนบท หรือ โรงพยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลต่างๆ สามารถนำไปใช้คัดกรองกับผู้ป่วย หรือ ประชาชนทั่วไปได้ โดยล่าสุดเครื่องนี้สามารถนำไปให้แพทย์ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช นำไปใช้ในวินิจฉัยโรคแล้ว จำนวน 1 เครื่องและอนาคตจะผลิตให้เครื่องมีความกะทัดรัด แบบไร้สายต่อเชื่อมกับมือถือ เพื่อความสะดวกในการใช้งานอีกด้วยIMG_8573

ล่าสุด ผลงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับรางวัลเหรียญทองและรางวัลพิเศษจากงาน 2015 Taipei international invention show and technomart ครั้งที่ 11 ประเทศไต้หวัน เมื่อปลายปี 58 ที่ผ่านมา และรับรางวัลเหรียญเงินและรางวัลพิเศษระดับเหรียญทองจาก Seoul international invention fair (SIIF) 2015 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558  ที่ผ่านมาIMG_8560

////////

 

แสดงความคิดเห็น