จัดประชุมเตรียมความพร้อมเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุในจ.พิษณุโลก

194521วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 13.30 น. ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก นายธานินทร์ สมบูรณ์สารพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลและผู้ที่เกี่ยวข้องงานด้านผู้สูงอายุ โดยโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต จากที่แนวคิดที่จะหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายการเกิดขึ้นของโรงเรียนผู้สูงอายุยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2546 และแผนระดับชาติหลายฉบับ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ต่อชีวิตการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ 194523กรมกิจการผู้สูงอายุได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุโดยสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ จากพื้นที่ตัวอย่าง จำนวน 6 แห่งเพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้สูงอายุตลอดจนหน่วยงานที่สนใจจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้ศึกษาและนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการขยายผลในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ คือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ต่อชีวิตของผู้สูงอายุ การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม เสริมสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับพร้อมทั้งส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบต่อไป โดยมุ่งเน้นประโยชน์ที่ผู้สูงอายุจะได้รับคือด้านสุขภาพร่างกายทำให้มีสุขภาพแข็งแรงกระฉับกระเฉงลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้งด้านจิตใจช่วยให้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระชวย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่าความสามารถของตนเองมีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัยได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกกลุ่ม ด้านจิตปัญญา รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย รวมทั้งประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมที่เห็นอย่างได้ชัด คือโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมรวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชนอีกด้วย194525
ภาพ/ข่าว นายวัฒนพร อัครชินพรรณ ประชาสัมพันธ์สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก รายงาน 055-259565

แสดงความคิดเห็น