ถ่ายทอดวิธีการตัดกระดาษรังผึ้งให้นักเรียนบางระกำวิทยศึกษา

13234592_1193871503978638_114998978_o นายธีรพัฒน์ ดีเทอดเกียรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ได้มอบหมายให้อาจารย์ ปอลิณ หยุ่นตระกูล ครู คศ.2 หัวหน้ากลุ่มสาระฯศิลปะ อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถด้านการตัดกระดาษรังผึ้ง จากพ่อของอาจารย์ปอลิณเอง และเป็นช่างศิลปหัตถกรรม ประเภท “การตัดกระดาษรังผึ้ง” ของจังหวัดพิษณุโลก มาถ่ายทอดความรู้วิธีการตัดกระดาษรังผึ้ง ให้กับนักเรียน เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ในงานประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน และประเพณีมงคลต่าง ๆ และสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนด้วย 13234649_1193871543978634_219854838_oครูปอลิณ หยุ่นตระกูล กล่าวว่า “ผลงานที่เห็นเด็ก ๆ ทำนี้ เป็นผลงานที่พ่อเปี่ยม ส่งชื่น ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นพ่อของครูเอง ที่ได้ทำอาชีพนี้มากว่า 40 ปีเป็นผู้ถ่ายทอดมายังครู การตัดกระดาษรังผึ้งเป็นความคิดของคุณพ่อ ที่เห็นกระดาษเป็นเส้น ๆ จึงคิดจะเอากระดาษที่เป็นเส้น ๆ นี้มาติดกัน ก็คิดลองผิดลองถูกมากับคุณพ่อ ที่เป็นลูกสาวคนโต เราก็ติดลายตอนแรก เป็นสี ๆ ตอนหลังก็คิดเป็นลวดลายต่าง ๆ สำหรับงานประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน และประเพณีมงคลต่าง ๆ ราคาก็ประมาณ 2500 บาทต่อครั้ง หากเก็บดี ๆ ก็จะใช้ได้นานถึง 7 -8 ปี13234766_1193871537311968_378337806_o งานตัดกระดาษรังผึ้ง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ครู นำมาสอนนักเรียน เพราะเราสอนศิลปะอยู่แล้ว อีกทั้งรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายในเรื่อง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เลยนำกระดาษรังผึ้ง การทำพวงเต่ารั้ง การทำดอกไม้ มาเสริมและให้ผลงาน หลากหลายมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้นักเรียนได้เลือกเรียน พอเราเปิดสอน นักเรียนที่สนใจก็มาสมัครเรียน นักเรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรม และก็สามารถนำรายได้มาสู่ตัวนักเรียนเอง” 13223666_1193871540645301_444672798_oเด็กชายนัทพงศ์ น้อมน้อย บอกว่า “วันนี้มาทำพวงเต่ารั้ง การตัดกระดาษไม่ยากครับถ้าเราฝึกทำ ทำให้เราสนุก เราสามารถทำเป็นอาชีพได้ เวลามีงานก็รับจ้าง ทุกวันนี้หากมีงานก็รับทำครับ ได้เงินคราวละ 500 – 600 บาท เก็บไว้สำหรับการเรียน ในการฝึกผมใช้เวลาเรียน ในช่วงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อยากเชิญชวนให้เพื่อน ๆ ที่สนใจมาเรียน ทำให้มีรายได้ สนุกและทำให้มีสมาธิด้วยครับ” การจัดกิจกรรมดังกล่าว จึงเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบสานมรดกทางภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่สืบไป เป็นการบำรุงรักษาศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความรักและหวงแหนวัฒนธรรมไทยด้วย 13235006_1193871550645300_159129726_o……………………………………………………………… วรางคณา อนันตะ / ภาพ-ข่าว นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ สพม.39

แสดงความคิดเห็น