อาจารย์ม.นเรศวรออกแบบเลโก้ชุดประจำชาติไทย

817207ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเทศไทย นับว่ามีชุดประจำชาตินางงามไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับประชาชนหลายครั้ง สำหรับการประกวดระดับนานาชาติ โดยมีการออกแบบและพัฒนาให้วิจิตรบรรจง รวมทั้งมีความรวมสมัย หากแต่ในปัจจุบันยังขาดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาให้ความสนใจพร้อมต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุดประจำชาตินางงามไทย ให้คงเหลือไว้ให้ทุกคนได้จดจำ817206

ดร.ดนัย เรียบสกุล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) เล็งเห็นความสำคัญของลักษณะเด่นของชุดประจำชาตินางงามไทย จึงได้ศึกษาและคิดวิธีประยุกต์การต่อยอดเพิ่มมูลค่าชุดประจำชาตินางงามไทย เป็นที่มาของการศึกษาออกแบบ และผลิตของที่ระลึก เรื่องชุดประจำชาตินางงามไทย โดยศึกษาเอกลักษณ์ชุดประจำชาตินางงามไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2497-พ.ศ.2557 จำนวน 49 ชุด สู่การออกแบบ   และจากการศึกษาตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ลักษณะเด่นของชุดประจำชาตินางงามไทย ที่นิยมใช้ในการออกแบบมี 4 ลักษณะ โดยเน้นสัดส่วน รูปร่างของผู้สวมใส่ มีลายไทยเป็นองค์ปะกอบ ใช้เครื่องประดับสีทอง และประยุกต์กระโปรงจากผ้านุ่ง817205

สำหรับของที่ระลึก เรื่องชุดประจำชาตินางงามไทย ผู้วิจัยออกแบบจำนวน 6 ชุด คือ เลโก้ชุดไทยประยุกต์ ออกแบบจากชุดของอรอนงค์ ปัญญาวงค์ / เลโก้ชุดไทยพระราชนิยม ออกแบบจากชุดของธารทิพย์ พงศ์สุข / เลโก้ชุดไทยสร้างสรรค์ ออกแบบจากชุดของกวินตรา โพธิจักร / เลโก้ชุดไทยสมัย/รัชสมัย ออกแบบจากชุดของอรวรินทร์ โอสถานนท์ / เลโก้ชุดไทยละคร ออกแบบจากชุดของแสงเดือน แม้นวงศ์ และเลโก้ชุดไทยท้องถิ่นนิยม ออกแบบจากชุดของนิภาภัทร สุดศิริ ซึ่งเลโก้แต่ละชุด มีขนาดความสูง12-15 ซม.ให้เลโก้ชุดละ 350-450 ชิ้น ใช้อาสาสมัครช่วยกันต่อ กว่า 100 คน817209

ดร.ดนัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด งานวิจัยชิ้นนี้อยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรวิธีการต่อประกอบกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเล็งเห็นถึงคุณค่าของผลงานออกแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ทั้งยังส่งเสริมให้มีการต่อยอดในเชิงพาณิชย์มาตลอดระยะเวลา 10 ปี ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องทางธุรกิจคือการนำเสนอความงดงามของเครื่องต่างกายผ่านของที่ระลึก ซึ่งผู้ที่ได้รับสามารถต่อประกอบได้ด้วยตนเองสร้างความภาคภูมิใจ ได้เรียนรู้องค์ประกอบความงดงามของชุดประจำชาตินางงามไทย และเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ817208

///////////

 

แสดงความคิดเห็น