ชาวบ้านชมภู อ.เนินมะปราง สืบสานการละเล่นผีนางด้ง

 

02137.MTS_20160418_230115.378

ช่วงค่ำของวันที่ 18 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บ้านชมพู ม.3 ต.ชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ชาวบ้านกว่า 100 คน ได้ออกมาร่วมการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า “นางด้ง” การละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ ซึ่งผู้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยปู่-ย่า ตา-ยาย จนกลายเป็นประเพณีที่ต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบทอดไม่ให้เลือนหายไป

dssss

ffffs

792234

จากการสอบถาม คุณลุงแวะ สนใจ อายุ 68 ปี ผู้สูงอายุคนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า การละเล่นนางด้ง เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เล่นกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ นางด้งจะเล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งวันสงกรานต์ของชาวบ้านชมพูจะเล่นกันทั้งหมด 7 วัน นางด้งจะเล่นใน 3 วันสุดท้ายของวันสงกรานต์คือวันที่ 16-18 เมษายน ซึ่งในวันส่งท้ายวันสงกรานต์ก็จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระ จะทำสืบต่อกันมาทุกปี

792238

792235

การละเล่นนางด้งจะเล่นในเวลากลางคืนที่ลานกลางบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมากๆ การละเล่นนางด้ง จะเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและจะเล่นกันทุกปี เป็นการเล่นที่ทุกเพศทุกวัยชอบได้รับความสนุกสนานถึงจะเจ็บตัวกันเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรกัน นางด้งจะมีคนเข้าทรงครั้งละ 2 คน เป็นผู้หญิง เมื่อเข้าทรงได้แล้วจะถือกระด้งเป็นอาวุธคอยเฝ้าสาก

02141.MTS_20160418_230244.466

ss

จากการสอบถามคนเข้าทรงหลังจากออกจากทรงแล้วคนเข้าทรงเล่าว่าจะชาที่ช่วงแขนเหมือนมีอะไรบังคับซึ้งตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกัน และจะรู้สึกหวงสากมากที่สุด เพราะสากที่วางอยู่คู่กันจะเห็นเป็นทองคำ เมื่อมีใครเข้ามาจะเอาสากก็จะไล่ตี  ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าทรงก็คือคนดูไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะเข้าไปแย่งสาก เมื่อมีคนเข้ามาแย่งสากก็จะถูกนางด้งไล่ตี บางคนหลบไม่ดีถูกตีหัวแตกก็มี บางคนก็แขน ขา หน้าถลอกเป็นแผลก็มี แต่ก็ไม่มีใครถือโทษโกรธอะไรเพราะเป็นการละเล่นมีแต่เสียงหัวเราะ เสียงฮา อยากมีความสุขสนุกสนาน   เวลานางด้งจะออกจากการทรง นั้นก็จะโยนหรือวางกระด้งที่ถือหงายขึ้นถ้ากระด้งคว่ำจะต้องหงายใหม่เพราะไม่อย่างนั้น ผีสาง เทวดา ไม่ยอมออก

ddd

พอนางด้งออกจากร่างทรงก็จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเข้าทรงอีก ก็จะมีกลุ่มคนคอยเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะและก็จะร้องเพลงของนางด้งไปด้วย อีกกลุ่มก็จะไปยืนมุงดูการทรงล้อมวงและก็ร้องเพลงนางด้งไปด้วย จะมีคนคนเฒ่าผู้สูงอายุเป็นคนคอยเซ่นบวงสรวงเจ้าลงมาประทับเข้าทรงนางด้ง   คืนหนึ่งก็จะเล่นกันประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคนเข้าทรงว่ามีเยอะหรือน้อย และขึ้นอยู่กับคนเล่นและคนดูว่าเล่นกันสุภาพหรือไม่ ถ้าเล่นกันไม่ดีไม่สุภาพก็จะเลิกเล่นกันทันที

 

คุณลุงแวะฯ เล่าให้ฟังต่ออีกว่า ชาวบ้านชมพูส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิถีชีวิตต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ หากปีใดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อนลำบาก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอ้อนวอนร้องขอต่อเทพยดาสิ่งที่ตนเคารพ เชื่อถือ เรียกว่าทำพิธีขอฝน หากปีใดฝนแล้ง ชาวบ้านจะมาปรึกษากันว่าควรประกอบพิธีขอฝนด้วยวิธีใด เช่น การแห่นางแมว การเล่นนางด้งการเล่นนางข้องการเล่นนางควายหรือการเล่นนางสุ่ม เป็นต้น

ghwww

ขั้นตอนและวิธีการแห่นางด้งนั้นมีรูปแบบลักษณะเป็นการเสี่ยงทายด้วย “ผีนางด้ง” ที่จะมาเข้าทรงกับผู้หญิงซึ่งเป็นร่างทรง โดยมีอุปกรณ์การเล่น คือ กระด้งฝัดข้าว 2 ใบ สากไม้ตำข้าว 2 อัน และอุปกรณ์ในการเชิญผีนางด้ง ได้แก่ หมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำ แป้งหอม ข้าวสุก พริก เกลือ ส่วนวิธีการเล่นเริ่มด้วยการนำสาก 2 อัน วางกลับกันไว้ตรงกลางวงสมมุติให้เป็นเจ้าบ่าวของนางด้ง มีคนทรง 2 คน ซึ่งเป็นคนพิเศษที่เคยทำพิธีมาแล้ว หรือมีการถ่ายทอดการเป็นคนทรงเจ้า แล้วจากนั้นก็ยืนจับกระด้งไว้คนละใบ มีชาวบ้านหญิงชาย ยืนล้อมวงคนทรง แล้วมีคนทรงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ซึ่งเคยทำพิธีนี้มาก่อนแล้ว เป็นผู้มาทำพิธีเชิญและนำการร้องเพลงเชิญ (นำเชิด) ส่วนชาวบ้านที่ยืนล้อมวงจะช่วยกันร้อง เพื่อเชิญให้ผีนางด้งมาเข้าสิงที่กระด้ง ซึ่งคนทรงจะจับเอาไว้ เมื่อผีนางด้งมาเข้าสิงที่ร่างคนทรงก็จะจับกระด้งสั่นและพากระด้งร่อนไปเรื่อยๆ  ดังกล่าว

//////////

ชมคลิปวีดีโอ

แสดงความคิดเห็น