เทศบาลนครพิษณุโลกเปิดตัวโครงการลดการปล่อยสารมลภาวะทางอากาศ

a44877c8-d98a-4b9f-a342-ebebbd45944aเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาลอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก นายบุญทรง  แทนธานี  นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก พร้อมด้วย ดร.จรรยา  แสงอรุณ  รองหัวหน้าฝ่ายการบริโภคและผลิตอย่างยั่งยืน สถาบันยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก  (IGES – Institute for Global Environmental Strategies) และ ดร.เปรมฤดี  ชามพูนท  ประธานมูลนิธิ ดร.วอลเตอร์ เชิลล์ ร่วมกันเปิดโครงการลดการปล่อยสารมลภาวะทางอากาศที่มีอายุสั้น (ก๊าซเรือนกระจก และเขม่าควันดำ) จากการจัดการขยะของเทศบาลนครพิษณุโลก เพื่อเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนที่กำลังคุกคามโลกและมนุษยชาติโดยดำเนินโครงการ “พิษณุโลกเมืองคาร์บอนต่ำ” ร่วมกับหลายหน่วยงานมาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่นลดการใช้พลังงานทุกรูปแบบ โครงการพิษณุโลกเมืองแห่งจักรยาน โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) โครงการพัฒนาศักยภาพในการนำระบบการวัดและการรายงานผลและการยืนยันผลการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับปรุงการจัดการขยะ สำหรับสารมลภาวะทางอากาศที่มีอายุสั้น คือ ก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะ  และเขม่าควันดำจากการเผาขยะและจากการเก็บรวบรวมและขนส่งขยะa5595121-bc63-4702-bd10-353eea149316

นายบุญทรง  แทนธานี  นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก กล่าวว่า  การจัดการขยะเทศบาลนครพิษณุโลกดำเนินการจัดการขยะที่ตำบลบึงกอกโดยวิธีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT : Mechanical Biological Waste Treatment) คือการหมักขยะบนไม้ Pallet ใส่ท่อเติมอากาศคลุมกองขยะด้วยกิ่งไม้แห้ง เพื่อให้จุลินทรีย์ธรรมชาติเข้าไปย่อยสลายขยะ ใช้เวลา 9 เดือนทำให้ขยะลดลงครึ่งหนึ่ง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไป 10 เท่า เมื่อเทียบกับการกำจัดขยะแบบฝังกลบ  นอกจากนี้เทศบาลนครพิษณุโลกยังร่วมมือกับบริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด ทำการร่อนขยะที่ผ่านการบำบัดด้วยวิธีเชิงกลชีวภาพ จะได้ขยะพลาสติก (RDF : Refuse Derived Fuel) ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์ทำให้ขยะหมดไป ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของบ่อขยะไปอีกหลายปี   และในส่วนของภาคประชาชนเทศบาลนครพิษณุโลกได้ขอความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนต่างๆร่วมกันช่วยลดการก่อขยะและคัดแยกขยะในระดับครัวเรือนก่อนทิ้ง  เพื่อนำไปจำหน่ายและทำปุ๋ย ซึ่งเป็นหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (CMB : Community Based Solid Waste Management) ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในและต่างประเทศนำไปขยายผลมากมายee8dd468-4510-41d0-8f80-33f470e67485

จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้เทศบาลนครพิษณุโลกได้รับงบประมาณ 1.10 ล้านบาท ให้ทำโครงการลดการปล่อยสารมลภาวะทางอากาศที่มีอายุสั้น (ก๊าซเรือนกระจก และเขม่าควันดำ) ซึ่งเป็นโครงการเมืองต้นแบบ 20 เมืองทั่วโลกที่จะนำไปขยายผลต่อไปในอนาคต เป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเขม่าควันดำจากการจัดการขยะ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ดังนี้
1.      ทำการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด จากการเก็บรวบรวม การขนส่งและการกำจัด
2.      ปรับปรุงประสิทธิภาพการเก็บรวบรวม การขนส่งโดยการใช้ก๊าซ NGV แทนน้ำมันเชื้อเพลิง
3.      เพิ่มปริมาณการคัดแยกขยะชีวภาพที่แหล่งกำเนิดเพื่อมาใช้ประโยชน์
4.      เพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ผ่านกระบวนการบำบัดเชิงกลชีวภาพเพื่อเป้าหมายขยะฝังกลบเป็นศูนย์ Zero Landfill
5.      รณรงค์ให้มีการลดการเผาขยะรวมทั้งกิ่งไม้ใบหญ้าเพื่อลดฝุ่นผงคาร์บอนดำ
6.      ผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำชะขยะเพื่อใช้เป็นพลังงาน
7.      พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติงาน
8.      เตรียมการเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการลดปล่อยสารมลภาวะทางอากาศที่มีอายุสั้นจากการจัดการขยะในประเทศไทยและเอเชีย

////////////////////////////

แสดงความคิดเห็น