วันที่ 9 มีนาคม 2559 เวลา 9.00 น. นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวเปิดการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่2 ตามโครงการวางและจัดผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก โดยมีบริษัท เอเชีย แพลนนิ่ง คอนซัลแทนท์ จำกัด ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และมีทั้งหน่วยงานต่างๆมาร่วมงานทั้งสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาพลเมืองและประชาชนทั่วไป ณ.ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมท็อปแลนด์ อ.เมืองพิษณุโลก
แผนการจัดการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 2 นี้เพื่อจะรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผู้แทนท้องถิ่นผู้นำอาชีพและประชาชนโดยนายฐาปนา บุณยประวิตร ผู้จัดการโครงการชี้แจงโครงการพอสังเขป จังหวัดพิษณุโลกถูกกำหนดตำแหน่งและบทบาทให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการลงทุนและศูนย์การขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคเหนือตอนล่างตามนโยบายความร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ASEAN Security Community (ASC); ASEAN Economic Community (AEC),GMS Economic Corridors(East-West Economic Corridors-EWEC)และACMECS:Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy และตามนโยบาย ระดับประเทศและระดับจังหวัดได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ผังประเทศไทย พ.ศ. 2600 ผังภาคเหนือ พ.ศ. 2600 ผังอนุภาคกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 แผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฉบับที่ 2
ผศ.ดร.สญชัย ลบแย้ม ผู้ช่วยโครงการ ให้ความสำคัญในแผนการพัฒนาเมืองพิษณุโลกว่า อยากให้ลูกหลานนั้นทำงานในบ้านเกิด ไม่ย้ายไปทำงานในเมืองหลวง หรือตัวเมืองจังหวัด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจและร่วมมือกันทั้งทุกส่วนในจังหวัดให้เป็นไปทำแผนงาน โดยจะสร้างให้ทุกอำเภอมีความเจริญเติบโตเทียบเท่ากันในทุกอำเภอเทียบเท่าอำเภอเมืองทั้งในด้านอุตสาหกรรม มีแหล่งงาน แหล่งที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ เพราะต่างอำเภอส่วนใหญ่ในพิษณุโลกนั้นเป็นพื้นที่การเกษตร ดังนั้นถือว่ามีวัตถุดิบในการผลิตแต่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม แต่เน้นยำการใช้ประโยชน์ที่ดินเน้นเมืองกระชับหรือการขยายเมืองนั้นเอง แต่การขยายเมืองนี่ไม่ใช้การขยายของพื้นที่แต่จะใช้พื้นที่ตามหลังอาคารพาณิชย์ที่ว่างเปล่าให้เต็มที่และกระชับเพื่อรองรับกับระบบขนส่งที่ตั้งไว้ และมีศูนย์การพัฒนาทุกอำเภอ อำเภอละ2-3ที่ โดยโครงการได้วางแผนไว้หมดเรียบร้อยแล้ว แต่ละที่จะตั้งในเขตตัวเมืองและเขตชานเมือง อ.ชาติตระการ ศูนย์การพัฒนาอยู่ที่บ้านป่าแดงและชานเมืองชาติตระการ อ.วัดโบสถ์ ศูนย์คลองข้าง ศูนย์บ้านท่างาม ศูนย์อ.วัดโบสถ์
จากนั้นในการระดมความคิดเห็นนั้นได้ดำเนินการโดย ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน ผู้เชี่ยวชาญสาขาการมีส่วนร่วมโดยกล่าวว่า โครงการผังเมืองรวมพิษณุโลกนี้มีความพิเศษตรงการวางแผนลงลึกไปยังระดับอำเภอ วางนโยบายผังเมืองที่พิเศษ ทั้งผังเมือง 10ผัง. และผังระดับอำเภอที่เชื่อมโยงกับจังหวัดซึ่งลักษณะการวางแผนนี้ในประเทศไทยมีแค่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ยังไม่ประกาศใช้ ตามด้วยจังหวัดพิษณุโลก มีทฤษฎีแนวคิด Smart growth การเติบโตอย่างชาญฉลาด
ทางโครงการมีการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่จะมองดูจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสจะยกตัวอย่าง ด้านเศรษฐกิจ จุดแข็งของจังหวัดคือมีข้าวเป็นฐานเศรษฐกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันสูง จุดอ่อน ขาดแรงงานที่มีความรู้เฉพาะทาง โอกาสคือมีนโยบายAEC ด้านการพัฒนาฝึกอมรม การศึกษาขั้นพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุปสรรคคือการแข่งขันทางการตลาดเมื่อเปิดตลาดเสรีAEC
แผนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020 1.)จะสร้าง Down town Center ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมือง ได้แก่พื้นที่ commercial center ของเทศบาลนครพิษณุโลก มีจุดรวมการขนส่งทางรถไฟและถนนของภาคเหนือตอนล่างเป็นstation (สถานี)หลักของhigh speed rail lineสายกรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ในอนาคตจะเป็นศูนย์รวมของแหล่งงาน บริษัทขนสดใหญ่. โรงแรม. การศึกและที่พักอาศัยของคนในรุ่นmillennium (กลางคน)
2.)Suburban Center ศูนย์เศรษฐกิจชานเมือง กำหนดให้ในระดับอำเภอที่มีคุณภาพโดยเฉพาะด้าน residential ประกอบไปด้วย อพาร์ตเมนต์. บริการ การศึกษา แหล่งงานใกล้กับที่พักอาศัยสามารถเดินไปทำงานได้
3.) Urban Center ศูนย์พาณิชยกรรมเมือง ที่ตั้งอยู่รอบดาวน์ทาวน์ พื้นที่นี้กำหนดให้เป็นศูนย์พาณิชย์ผสมผสานกับกิจกรรม เป็นแหล่งจ้างงานแหล่งการขนส่งมวลชนที่มีคุณภาพ. ยังเป็นพื้นที่ของสถานีรถไฟ สถานีการขนส่งมวลชน
4.) General Urban Center ศูนย์ที่อยู่อาศัยผสมผสานพาณิชยกรรมกำหนดให้เป็นmix use of residential and commercial ที่มีคุณภาพของจังหวัด ระบบสัญจรทันสมัย
5.) Commercial and logistics Center ศูนย์พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ ได้แก่ ศูนย์โลจิสติสก์เต็งหนาม ศูนย์โลจิสติสก์สี่แยกอินโดจีน ศูนย์จิสติสก์บึงพระ
6.)University and innovation Center ศูนย์พาณิชยกรรมและนวัตกรรม ได้แก่ศูนย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
เมื่อทุกคนในการประชุมรับฟังรายละเอียดโครงการเปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้สอบถามและความคิดเห็นต่างๆเพื่อเป็นได้ทำการปรับปรุงแก้ไขหรืออาจเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับโครงการได้
……………………………………………………………………………………………………………………..
รายงานโดย…..น.ส.นิโลบล คำชนแดน นิสิตชั้นปี 4 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร / นศ.ฝุกงานพิษณุโลกฮอตนิวส์